ความฉลาดทางสุขภาพจิตของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กรณีศึกษาสองำบลในพื้นที่อำเภอขลุง จันทบุรี Mental health literacy among village health workers A case study of two sub-districts in Kloong, Chantaburi

Main Article Content

เชษฐา แก้วพรม
โศภิณสิ ริ ยุทธวิสุทธ์
ลลนา ประทุม
อรัญญา บุญธรรม

บทคัดย่อ

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญในทีมสุขภาพจิตชุมชน แต่ไม่พบว่ามีการศึกษาความฉลาดทางสุขภาพจิตในประชากรกลุ่มดังกล่าว การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความฉลาดทางสุขภาพจิตของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที ่อยู่ในพื ้นที ่ 2 ตำาบล อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี จำนวน 138 คน  เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสำรวจความฉลาดทางสุขภาพจิตที่พัฒนาโดยทีมวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา  พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สามารถจำแนกการเจ็บป่วยทางจิตได้ โดยสามารถจำแนกการเจ็บป่วยด้วยโรคจิตเภทและโรคซึมเศร้าได้ถูกต้องร้อยละ 78.99 และ 59.42 ตามลำดับ นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างเกินกว่าร้อยละ 80.00 มีความเห็นว่าการมีบุคลิกภาพวิตกกังวลและภาวะวิกฤติในชีวิตเป็นสาเหตุหลักของการเจ็บป่วยทางจิต และกลุ่มตัวอย่างเกินกว่าร้อยละ 96.00 เห็นว่าการออกกำลังกาย การพบปะผู้คนและการรับบริการให้การปรึกษาเป็นกิจกรรมที ่ช่วยให้บุคคลที ่ป่วยด้วยโรคทางจิตมีอาการดีขึ ้น

จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่าบุคลากรในหน่วยบริการปฐมภูมิควรได้รับการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพจิตและทักษะการให้คำปรึกษาเนื่องจากประชาชนคาดหวังว่าบุคลากรดังกล่าวจะให้การช่วยเหลือแก่บุคคลที่มีปัญหาทางจิตได้

Abstract

Village health workers are considered important persons within community mental health teams, howeverthere is no study about their mental health literacy. This study aimed to survey mental health literacy amongvillage health workers. Subjects were 138 village health workers in two sub-districts, Kloong, Chantaburi. Research nstrument was a self-reported questionnaire developed by a research team. Data were analyzed using descriptive
statistics. The findings reveal that the subjects were able to recognize psychiatric disorder with accuracy in diagnosing schizophrenia and depression at 78.99% and 59.42%, respectively. Over 80.00% considered an anxious personality and life crisis main causes of psychiatric disorders. In addition, exercise, social participation, and basic counseling were highly recommended by over 96.00% of the subjects, as helpful activities for people with
psychiatric disorders.The findings suggest the need to improve mental health literacy and basic counseling skillsamong health workers at a primary care level as they are highly expected to help people with mental health disorder.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ