การพัฒนารูปแบบการดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะวิกฤตโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลเครือข่ายในจังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ : การพัฒนารูปแบบการดูแลที่มีคุณภาพ ทีมสหสาขาวิชาชีพมีความสำคัญ ลดภาวะแทรกซ้อนและอัตราการเสียชีวิตในทารกแรกเกิดที่มีภาวะวิกฤต
วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อพัฒนารูปแบบและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะวิกฤตโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลเครือข่ายในจังหวัดปทุมธานี
วิธีดำเนินการวิจัย : การวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย 2 ระยะ ได้แก่ 1) พัฒนารูปแบบการดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะวิกฤตฯ ศึกษาปัญหาจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม นำข้อมูลมาพัฒนารูปแบบการดูแลทารกแรกฯ 2) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบฯ เก็บข้อมูลจากบุคลากรสหสาขาวิชาชีพ 30 คน ศึกษานำร่องกับทารกแรกเกิดกลุ่มที่ 1 จำนวน 69 ราย และศึกษาหลังจากพัฒนารอบที่ 2 จำนวน 50 ราย โดยใช้ แบบสอบถามความพึงพอใจของทีมสหสาขาฯ แบบบันทึกผลลัพธ์ของทารก วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย : รูปแบบการดูแลทารกแรกเกิดวิกฤตฯ ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย การสร้างเครือข่าย ขยายจำนวนเตียง การให้ความรู้ การสอนงาน การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง การกำกับติดตาม การประเมินผล การให้ข้อมูลย้อนกลับ และการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบฯ พบว่า ทีมสหสาขาฯ มีความพึงพอใจต่อรูปแบบในระดับมาก (=4.20, SD=0.70) และผลลัพธ์ตามมาตรฐานการดูแลทารกแรกเกิดขณะส่งต่อดีขึ้นทุกด้าน
สรุปผล : รูปแบบการดูแลทารกแรกเกิดฯ ตามแนวคิดการทำงานเป็นเครือข่ายที่พัฒนาขึ้นช่วยการดูแลที่ครอบคลุม และการทำงานมีการเชื่อมต่อที่มีศักยภาพ สามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของทารกและเพิ่มความพึงพอใจของบุคลากร
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Rahman SU. Neonatal and perinatal mortality: Global challenges, risk factors and interventions. New York: Nova Biomedical; 2017.
Unsiam P. Maternal participation in caring for critically ill newborns at Phatthalung Hospital. Journal of Southern College of Nursing and Public Health. 2017;4(Spec):61-74. (in Thai).
Dare S, Oduro AR, Owusu-Agyei S, Mackay DF, Gruer L, Nelson SM, et al. Neonatal mortality rates, characteristics, and risk factors for neonatal deaths in Ghana: Analyses of data from two health and demographic surveillance systems. Glob Health Action. 2021;14(1):1938871.
Sathiraangkura T, Wongsuwarnsiri S, Kladjompong P. Development of guidelines for nursing service system development according to Service Plan: Project implementation report. Journal of Health Science. 2019;28(5):874-884. (in Thai).
Thomas RK. Introduction to health services planning: Health Services Planning. New York: Springer; 2021.
Medical Records Department, Pathum Thani Hospital. General statistical data of Pathum Thani Hospital (Annual Report). Fiscal Year 2021.
Orathai S, Atcharawadee S. The effects of developing a newborn care system for infants born to mothers with COVID-19 at the Neonatal Intensive Care Unit, Pathum Thani Hospital. Journal of Research for Health Improvement and Quality of Life. 2024;4(2):73-83.
Sirkit P, Imnamkhao S. Development of a transmission Model for newborn with respiratory problems in Mahasarakham’s network. Mahasarakham Hospital Journal. 2021;18(1):122-131. (in Thai).
Khanthasupa S, Soonphayanont S. Development of care systems for preterm infants in Phra Nakhon Si Ayutthaya Hospital and networks. Journal of the Preventive Medicine Association of Thailand. 2015;5(1):1-14. (in Thai).
Ramathibodi Hospital Team, Thai Society of Neonatology, translators. The S.T.A.B.L.E. Program: Guidelines for neonatal transport preparation [Training material]. Bangkok: Thai Society of Neonatology; [date unknown].
Nursing Division, Ministry of Public Health. Guidelines for developing nursing service system (Service Plan). Pathumthani: Seutawan Publishing; 2018.
Wijitkunkasem K, editor. S.T.A.B.L.E program learner manual: Post-resuscitation pre-transport stabilization care of sick infants for healthcare providers. Bangkok: Queen Sirikit National Institute of Child Health; 2017.