ผลของโปรแกรมเทคนิคการเดินเร็วแบบยกแขนสูงที่ระดับความหนักปานกลางต่อการลดความเครียดของประชาชนวัยผู้ใหญ่ในชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ : ฮอร์โมนคอร์ติซอล เป็นฮอร์โมนที่เป็นดัชนีชี้วัดทางชีวภาพของภาวะเครียดในวัยผู้ใหญ่ การเดินเร็วแบบยกแขนสูงที่ระดับความหนักปานกลางในวัยผู้ใหญ่เป็นวิธีที่นำมาลดระดับความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อเปรียบเทียบผลโปรแกรมฯ ต่อระดับความเครียดและฮอร์โมนคอร์ติซอลในน้ำลายของผู้ใหญ่
วิธีดำเนินการวิจัย : วิจัยกึ่งทดลอง แบบวัดก่อน-หลังการทดลอง และระยะติดตามผล 1 เดือน ตัวอย่าง คือ ผู้ใหญ่ จำนวน 64 คน ทำการคัดเลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 32 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมเทคนิคการเดินเร็วแบบยกแขนสูงที่ระดับความหนักปานกลาง โดยการเดินเร็วบนพื้นราบวันละ 30 นาที ทำ 3 วันต่อสัปดาห์ ต่อเนื่อง 6 สัปดาห์ แบบประเมินความเครียด และชุดทดสอบปริมาณฮอร์โมนคอร์ติซอลในน้ำลาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ทดสอบค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนซ้ำ
ผลการวิจัย : หลังการทดลองเสร็จสิ้นทันทีและติดตามผล 1 เดือน กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยภาวะเครียดและค่าเฉลี่ยฮอร์โมนคอร์ติซอล แตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และมีคะแนนค่าเฉลี่ยภาวะเครียด และค่าเฉลี่ยฮอร์โมนคอร์ติซอล ก่อนและหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และติดตามผล 1 เดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) พบว่า หลังการทดลองเสร็จสิ้นทันทีและติดตามผล 1 เดือน ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ส่วนคะแนนเฉลี่ยภาวะเครียดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุปผล : บุคลากรทางสุขภาพ นำโปรแกรมฯ ประยุกต์ใช้ได้เพื่อลดระดับความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Bottaccioli AG, Bottaccioli F, Minelli A. Stress and the psyche-brain-immune network in psychiatric diseases based on psychoneuroendocrineimmunology: a concise review. Ann N Y Acad Sci. 2019;1437(1):31-42. doi: 10.1111/nyas.13728.
McEwen BS, Akil H. Revisiting the stress concept: implications for affective disorders. J Neurosci. 2020;40(1):12-21. doi: 10.1523/JNEUROSCI.0733-19.2019.
Nijakowski K, Lehmann A, Rutkowski R, Korybalska K, Witowski J, Surdacka A. Increased myeloperoxidase concentrations in Saliva could reflect increased body mass and oral microinflammation. Front Biosci (Landmark Ed). 2023;28(8):168. doi: 10.31083/j.fbl2808168.
Sethitham-Ishida W, Premsri N, Khrisanapant W. Effect of aerobic exercise on salivary alpha-amylase and white blood cell count among sedentary Thais. Srinagarind Medical Journal. 2016;31(1):1-7. (in Thai).
Lazarus, RS, Folkman S. Stress, appraisal, and coping. New York: Springer. 1984.
Faul F, Erdfelder E, Lang A-G, Buchner A. G*Power 3: a flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behav Res Methods. 2007;39(2):175-91. doi: 10.3758/bf03193146.
Department of Mental Health, Ministry of Public Health. Stress assessment form (ST5). [internet]. 2024 [cited 2024 Jun 5]. Available from: https://dmh.go.th/test/Download/view.asp?id=18. (in Thai).
Nabkasorn C, Daewisaret W, Denan A. Effects of exercise program on depression and Cortisol hormone in female adolescents with depression symptoms. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 2018;19 Suppl: 248-58. (in Thai).
Santos SVMD, Silva LAD, Terra FS, Souza AV, Espindola FS, Marziale MHP, et al. Association of salivary alpha-amylase with anxiety and stress in nursing professionals. Rev Lat Am Enfermagem. 2021;29:e3468. doi: 10.1590/1518-8345.4859.3468.
Vaswani V, Shah S, Lakshmipriyanka M, Waknis P, Gupta D, Jain K. Comparative evaluation of salivary alpha amylase level for assessment of stress during third molar surgery with and without piano music and co-relation with pain catastrophizing scale: an in vivo study. J Korean Assoc Oral Maxillofac Surgs. 2020;46(4):235-9. doi: 10.5125/jkaoms. 2020.46.4.235.
Roca D, Escribano D, Franco-Martínez L, Contreras-Aguilar MD, Bernal LJ, Ceron JJ, Rojo-Villada PA, et al. Evaluation of the effect of a live interview in journalism students on salivary stress biomarkers and conventional stress scales. Int J Environ Res Public Health. 2022;19(4):1920. doi: 10.3390/ijerph19041920.