การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ถ่ายโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนํา : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่ถ่ายโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) จำเป็นต้องจัดระบบบริการสุขภาพอย่างมีมาตรฐาน เพื่อให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้อย่างมีคุณภาพ
วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อถอดบทเรียน ศึกษาการมีส่วนร่วม และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังของ รพ.สต. ในสังกัด อบจ.
วิธีดำเนินการวิจัย : การวิจัยผสมผสานแบบคู่ขนาน ตัวอย่างรวมทั้งสิ้นจำนวน 1,888 คน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) บุคลากรของ อบจ. จำนวน 38 คน 2) บุคลากรทีมสุขภาพ จำนวน 1,055 คน 3) อสม. จำนวน 393 คน และ 4) ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 402 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสำรวจข้อมูลพื้นฐานระบบบริการสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 2) แบบสอบถามการถอดบทเรียนและการพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังของ รพ.สต. ในสังกัด อบจ. 3) แบบสนทนากลุ่มและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย : มีความสอดคล้องกันของข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ระบบบริการสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ของ รพ.สต. ในสังกัด อบจ. มีการจัดระบบบริการเหมือนอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงสาธารณสุข แต่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันไปตามบริบทของแต่ละพื้นที่ ทั้งการให้บริการสุขภาพ การสนับสนุนบุคลากรด้านสุขภาพ ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ การเข้าถึงยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็น ระบบการคลัง และภาวะผู้นำและธรรมาภิบาล
สรุปผล : รพ.สต. ที่ถ่ายโอนไปสังกัด อบจ. ในระยะเปลี่ยนผ่านยังจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังอย่างต่อเนื่องตามแนวคิด 6 เสาหลักของระบบบริการสุขภาพ โดยจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุข และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Hfocus.org. Reveal "6 provinces" that transferred the sub-district hospital to PAO (fiscal year 2023). [internet]. 2022 [cited 2022 Dec 15]; Available from: https://www.hfocus.org/content/2022/10/26111. (in Thai).
Division of Non-Communicable Diseases, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. NCDs annual report 2022. [internet]. 2022 [cited 2023 Jan 5]; Available from: https://ddc.moph.go.th/dncd/forecast_detail.php?publish=13924&deptcode=dncd. (in Thai).
Division of Strategy and Plan, Ministry of Public Health. Standard data storage and submission in compliance with the health standard set of the Ministry of Public Health version 2.4 fiscal year 2023 (B.E. 2566) dashboard. [internet]. 2023 [cited 22 Dec 20]; Available from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php. (in Thai).
Sambhawamana O, Klaypugsee L, Arwut P, Phaenoi S. The development of chronic disease management for patients in a health promotion hospital: a case study of Maluan Health Promotion Hospital, Phunphin District, Suratthani Province. Nursing Journal of The Ministry of Public Health. 2017;27(1):157-67. (in Thai).
Sudhipongpracha T, Choksettakij W, Phuripongthanawat P, Kittayasophon U, Satthatham N, Onphothong Y. Policy analysis and policy design for the transfer of subdistrict health promotion hospitals to Provincial Administrative Organizations (PAOs). Nonthaburi: Health Systems Research Institute; 2021. (in Thai).
Utama W. Performance appraisal diabetes care system public health district hospital Chaturapakphiman District Roi-Et Province. Region 11 Medical Journal. 2017;31(4): 577-88. (in Thai).
Thianjuruwatthana W, Nawsuwan K, Vachiraprapun S. Public health manpower development to support primary health care. Journal of Health Science. 2021;30(4):743-59. (in Thai).
World Health Organization. Monitoring the building blocks of health systems: a handbook of indicators and their measurement strategies. [internet]. 2010 [cited 22 Dec 5]; Available from: https://iris.who.int/handle/10665/258734.
Creswell JW, Clark VLP. Designing and conducting mixed methods research. CA: Sage Publications; 2017.
Thato R. Nursing research: concepts to applications. 4th ed. Bangkok: Chulalongkorn University Press; 2022. (in Thai).
Khazanie R. Elementary statistics in a world of applications. 4th ed. New York: HarperCollins College; 1996.
Hsieh H-F, Shannon SE. Three approaches to qualitative content analysis. Qual Health Res. 2005;15(9):1277-88. doi: 10.1177/1049732305276687.
Office of Primary Health System Support, Ministry of Public Health. Primary health care standard quality manual 2023. Bangkok: Office of Printing Affairs, Veterans Welfare Organization under Royal Patronage; 2022. (in Thai).
Chotchoungchatchai S, Markchang K, Uansri S, Tanomsridachchai W, Pattanasiri T, ittiphisit S, et al. A comprehensive report on situational codification mechanisms and support for academic work, health policies and systems: the case for the transfer of subdistrict health promotion hospitals to provincial administrations. Nonthaburi: Health Systems Research Institute; 2023. (in Thai).
Wongpreedee A, Sudhipongpracha T, Kerdrit K. Developing a model of a primary care system for provincial administrative organizations (PAOs): a case of Rayong Provincial Administrative Organization. Nonthaburi: Health Systems Research Institute; 2023. (in Thai).
Sriratanaban J, Singweratham N, Maneechay M, Komwong D, Pattarateerakun N, Sensai S, et al. Assessment of population health impacts subsequent to the transfer of tambon health promoting hospitals (THPH) to the provincial administrative organizations (PAOs) in the fiscal year 2566: Phase 1 warning signs on potential health impacts. Nonthaburi: Health Systems Research Institute; 2023. (in Thai).