การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านเว็บไซต์ ร่วมกับการประยุกต์ใช้กลวิธีทางสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมการป้องกัน การติดเชื้อโควิด 19 ของนิสิตมหาวิทยาลัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ : พฤติกรรมการป้องกันเชื้อโควิด 19 และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค
วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของนวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านเว็บไซต์ร่วมกับการใช้กลวิธีทางสุขศึกษาในการส่งเสริมการป้องกันการติดเชื้อโควิด 19 ของนิสิตมหาวิทยาลัย
วิธีดำเนินการวิจัย : การวิจัยและพัฒนา แบ่งการศึกษาเป็น 2 ระยะ คือ 1) การพัฒนานวัตกรรม โดยยกร่าง และประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน และ 2) การทดลองใช้นวัตกรรม ศึกษาแบบ
กึ่งทดลอง วัดก่อน-หลังการทดลอง และติดตามผล 1 เดือน จำนวน 76 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 38 คน เครื่องมือ ประกอบด้วย นวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านเว็บไซต์ และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Repeated measure ANOVA และ Independent t-test
ผลการวิจัย : นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นมี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
เป้าหมายของนวัตกรรม หน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ นวัตกรรมฯ การประยุกต์ใช้ และเครื่องมือวัดและประเมินผล และรวมถึง 3 กิจกรรมการเรียนรู้ โดยนวัตกรรมมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก และผลของการใช้นวัตกรรม พบว่า กลุ่มทดลองในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล 1 เดือน มีการรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยง ความคาดหวังในประสิทธิผลของการป้องกัน การรับรู้ความสามารถในการป้องกัน และพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโควิด 19 ดีขึ้นกว่าก่อนการทดลองและดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สรุปผล : นวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านเว็บไซต์ร่วมกับการประยุกต์ใช้กลวิธีทางสุขศึกษาที่พัฒนามีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโควิด 19 ที่ดีขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Sayed SH, Al-Mohaithef M, Elgzar WT. Effect of digital-based self-learned educational intervention about COVID-19 using protection motivation theory on non-health students’ knowledge and self-protective behaviors at Saudi Electronic University. Int J Environ Res Public Health. 2022;19(22):14626. doi: 10.3390/ijerph192214626.
Ministry of Public Health. Report on the situation of coronavirus disease 2019. [internet]. 2022 [cited 2024 Jan 10]; Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no730-020165.pdf. (in Thai).
Kingsawad K, Duangchinda I. Quality of life of undergraduate students during the epidemic of coronavirus disease 2019 (COVID-19). Journal of Health Science. 2023;32(3):393-9. (in Thai).
Sirinawin S. COVID-19 knowledge to wisdom, practice development. Nonthaburi: National Health Commission Office (NHCO); 2020. (in Thai).
Ezati Rad R, Mohseni S, Kamalzadeh Takhti H, Hassani Azad M, Shahabi N, Aghamolaei T, et al. Application of the protection motivation theory for predicting COVID-19 preventive behaviors in Hormozgan, Iran: a cross-sectional study. BMC Public Health. 2021;21(1):466. doi: 10.1186/s12889-021-10500-w.
Bashirian S, Jenabi E, Khazaei S, Barati M, Karimi-Shahanjarini A, Zareian S, et al. Factors associated with preventive behaviours of COVID-19 among hospital staff in Iran in 2020: an application of the protection motivation theory. J Hosp Infect. 2020;105(3):430-3. doi: 10.1016/j.jhin.2020.04.035.
Pratumwan P, Vatanasomboon P, Pekalee A. Applying the protection motivation theory in predicting motivation for COVID-19 preventive behaviors among Thai people in health region 3. Thai Journal of Public Health. 2022;52(3):294-308. (in Thai).
Kowalski RM, Black KJ. Protection motivation and the COVID-19 virus. Health Commun. 2021;36(1):15-22. doi: 10.1080/10410236.2020.1847448.
Ponrachom C, Sukolpuk M, Guiedthatree S. Designing program for health behavior modification: intervention mapping. Journal of Health and Nursing Research. 2022; 38(2):1-10. (in Thai).
Alshurideh MT, Abuanzeh A, Kurdi BA, Akour I, Alhamad A. The effect of teaching methods on university students’ intention to use online learning: Technology Acceptance Model (TAM) validation and testing. International Journal of Data and Network Science. 2023;7(1):235-50.
Lopez-Ventoso M, Pisano Gonzalez M, Fernández Garcia C, Diez Valcarce I, Rey Hidalgo I, Rodriguez Nachon MJ, et al. Understanding COVID: collaborative government campaign for citizen digital health literacy in the COVID-19 pandemic. Life (Basel). 2023;13(2):589. doi: 10.3390/life13020589.
Siriyanon S, Klaharn R. Meta-evaluation and the application of meta-evaluation. Journal of Educational Measurement. 2021;38(104):197-208. (in Thai).
Kongsuk T. Sample size calculation. [internet]. 2018 [cited 2023 May 30]; Available from: https://www.thaidepression.com/www/doc58/5.Sample%20size%202.pdf. (in Thai).
Fernandez ME, Ruiter RAC, Markham CM, Kok G. Intervention mapping: theory- and evidence-based health promotion program planning: perspective and examples. Front Public Health. 2019;7:209. doi: 10.3389/fpubh.2019.00209.
Guiedthatree S, Ponrachom C. The application of intervention mapping in developing an alcohol consumption behavior modification program among village health volunteer for a sub-district health promoting hospital. Journal of Safety and Health. 2021;14(2):74-88. (in Thai).
Elgzar WT, Al-Qahtani AM, Elfeki NK, Ibrahim HA. COVID-19 outbreak: effect of an educational intervention based on health belief model on nursing students' awareness and health beliefs at Najran University, Kingdom of Saudi Arabia. Afr J Reprod Health. 2020;24(s1):78-86. doi: 10.29063/ajrh2020/v24i2s.12