ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพจิตโดยใช้การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตและความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ

Main Article Content

พัทธ์ธีรา วุฒิพงษ์พัทธ์
กัญญาวีณ์ โมกขาว
อภิสรา วงศ์สละ

บทคัดย่อ

บทนำ : การส่งเสริมสุขภาพจิตช่วยให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตที่ดีขึ้น นำไปสู่การดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข และมีความผาสุกทางใจ


วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพจิตโดยใช้การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตและความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ


วิธีการวิจัย : วิจัยกึ่งทดลอง ตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุ จำนวน 60  คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน ที่เข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพจิตโดยใช้การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ และกลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต และความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ หาค่าความเชื่อมั่น (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ .97 และ .96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยที่เป็นอิสระต่อกัน


ผลการวิจัย : พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต และความผาสุกทางใจสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต และความผาสุกทางใจสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


สรุปผล : โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพจิตโดยใช้การเรียนรู้เชิงประสบการณ์สามารถพัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต และความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุได้ ดังนั้นโปรแกรมนี้สามารถนำไปปรับใช้ให้เข้ากับสถานการณ์และสอดคล้องกับกลุ่มผู้สูงอายุในแต่ละบริบท

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Office of The National and Social Development Council. The national economic and social development plan (2023-2027). [internet]. 2022 [cited 2022 Jun 8]; Available from: https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/258/T_0001.PDF. (in Thai).

Hogstel MO. Nursing care of the older adult. 3rd ed. Clifton Park, NY: Delmar; 1994.

Khamwong W, Hnoosawutt J, Yamboonruang T, Teunjarern Y. Correlation between personal factors, self-care behaviors regarding mental health status among the elders in Mueang Nonthaburi District, Nonthaburi Province, Thailand. Journal of Health Science Research. 2020;14(3):131-44. (in Thai).

Tongsuk Y, Vatanasin D, Hengudomsub P. Factors influencing psychological well-being among older adults. The Journal of Nursing and Mental Health. 2019;33(1):95-110. (in Thai).

Ryff CD, Keyes CL. The structure of psychological well-being revisited. J Pers Soc Psychol. 1995;69(4):719-27. doi: 10.1037// 0022-3514.69.4.719.

Hill L, Smith N. Self-care nursing: promotion of health. 2nd ed. Norwalk, CA: Appleton & Lange; 1990.

Wuthiphong J. Effects of psychological health promotion program on psychological self-care behavios [Thesis]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2000. (in Thai).

Klinwichit S, Klinwichit W, Incha P, Klinwichit P. Mental health evaluation of elderly with chronic illness in community: Saensuk Municipality, Chon Buri, Thailand. Burapha Journal of Medicine. 2015;2(1):21-33. (in Thai).

Kolb DA. Experiential learning: experience as the source of learning and development. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall; 1984.

Kolb AY, Kolb DA. Learning styles and learning spaces: enhancing experiential learning in higher education. Acad Manag Learn Edu. 2005;4(2):193-212. doi: 10.5465/ AMLE.2005.17268566.

Honey P, Mumford A. The manual of learning styles. 3rd ed. Berkshire: Peter Honey; 1992.

Pongpumma L, Kaewprom C, Yodprasert T, Khunkaew S. The effect of Participatory learning program on health promotion behavior among older person in a Bansuan district, Chon Buri. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal. 2021;13(2):45-58. (in Thai).

Meethip N, Tumdee D, Bhuddhirakkul P. Effects of experiential learning on knowledge and screening practice and advice for hypertension among village health volunteers. Nursing Journal. 2016;43Suppl:104-15. (in Thai).