การพัฒนากล่องใส่ยาอัตโนมัติอักษรเบรลล์สำหรับผู้พิการทางสายตาที่มีโรคเรื้อรัง

Main Article Content

รัชพร ศรีเดช
พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์
เกียรติศักดิ์ แสงประดิษฐ์
อภิวัฒน์ อ่างหิรัญ

บทคัดย่อ

บทนำ : ผู้พิการทางสายตาที่เป็นโรคเรื้อรัง มีปัญหาการใช้ยา กล่องใส่ยาอัตโนมัติอักษรเบรลล์ช่วยให้สามารถเก็บยาและจัดยารับประทานเองได้สะดวกปลอดภัย เพื่อประสิทธิภาพที่ดีในการรักษา


วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อพัฒนากล่องใส่ยาอัตโนมัติอักษรเบรลล์ ประเมินประสิทธิภาพและพฤติกรรมการรับประทานยาของผู้พิการทางสายตา


วิธีการวิจัย : การวิจัยและพัฒนา ดำเนินการ 3 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันของการใช้ยาจากผู้พิการทางสายตาที่มีโรคเรื้อรังและพัฒนานวัตกรรมที่ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ได้แก่ ศึกษาความต้องการกล่องยาและแนวทางการออกแบบตู้ยาอัตโนมัติจากหลักฐานเชิงประจักษ์ ระยะที่ 2 สร้างและพัฒนารูปแบบกล่องใส่ยาอัตโนมัติฯ ในระยะนี้มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ การกำหนดส่วนประกอบ การออกแบบต้นแบบ การทดสอบต้นแบบ การประเมินและปรับปรุงต้นแบบ ระยะที่ 3 ทดสอบประสิทธิภาพของกล่องใส่ยาอัตโนมัติฯ โดยตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง 80 คน ได้แก่ ผู้พิการทางสายตาที่มีโรคเรื้อรัง  และ อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้ดูแล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา


ผลการวิจัย : ภายหลังการทดลองกล่องใส่ยาอัตโนมัติฯมีคะแนนการประเมินประสิทธิภาพและพฤติกรรมการรับประทานยาของผู้พิการทางสายตา อยู่ในระดับมาก (M=4.03, SD=0.77) และประเมินความพึงพอใจที่มีต่อกล่องใส่ยาอัตโนมัติฯ อยู่ในระดับมาก (M=3.70, SD=0.65)


สรุปผล : กล่องใส่ยาอัตโนมัติฯ ช่วยป้องกันอันตรายจากการรับประทานยา ช่วยติดตามการใช้ยาได้อย่างใกล้ชิด พฤติกรรมการรับประทานยาอยู่ในระดับดีมาก ผู้พิการทางสายตาที่มีโรคเรื้อรังมีความปลอดภัยในการใช้ยาและมีความพึงพอใจในการใช้กล่องใส่ยาอัตโนมัติฯ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Department of Empowerment of Persons with Disabilities, Ministry of Social Development and Human Security [Internet]. 2022 [cited 2023 Mar 18]; Available from: https://dep.go.th/images/ uploads/files/Situation_june65.pdf. (in Thai).

Taseedum A. Educational opportunities and access for the visually disabled. [Theses] Master’s Degree of Education in Education (Nonformal Education), Chiang Mai University; 2012. (in Thai).

Orprayoon S, Fuangchan A. Development of drug labels for people with visual loss. Thai Journal of Pharmacy Practice. 2017;9(1):236-50. (in Thai).

Kentab BY, Al-Rowiali KZ, Al-Harbi RA, Al-Shammari NH, Balhareth WM, Al-Yazeed HF. Exploring medication use by blind patients in Saudi Arabia. Saudi Pharm J. 2015;23(1):102-6. doi: 10.1016/j. jsps.2014.05.002.

Angsuwattanakul B, Lerkiatbundit S. Development of pictograms for illiterate patients part 1: instructions on how to take tablets. Thai Journal of Pharmacy Practice. 2014;6(1):41-60. (in Thai).

Cohen MR. Medication errors: causes, prevention, and risk management. Jones & Bartlett Learning; 2000.

Chaiyasang P, Chakchai P. Braille box for the blind. Project meeting A network of cooperation with private nursing institutions (APHEIT). On January 18, 2019; Thailand. Bangkok. Faculty of Nursing. Siam University; 2019. (in Thai).

Simma K, Thurapan N, Sanguantham K, Lorphichian E. The development of electronic tablet box for chronic disease patients. The 7th National conference Nakhonratchasima College. 23rd May 2020; Thailand. Nakhonratchasima Province; p.296-305. (in Thai).

Orprayoon S, Fuangchan A. Development of drug labels for people with visual loss. Thai Journal of Pharmacy Practice. 2017;9: 237-50. (in Thai).

Bormann S, Sayorwan W, Channim S, Rungruangkhanarak S, Suksamran P, Srisuk P, Phosri P. Effects of medication reminder innovation on adherence and the quality of medicine. Journal of Public Health, Burapha University. 2018;13(2): 117-25. (in Thai).

Phodong K, Thaikeow T, Yotsawatt W, Pushatrirat W, Puakya Y. Automated pill dispensing robots using internet of things technology. The Journal of King Mongkut's University of Technology North Bangkok. 2021;31(1):130-43. (in Thai).

Khiaopumpuang T ,Tan Prasert K. The development of drug packaging labels for people with disabilities. Visually produced by screen printing system. [Thesis]. Bangkok: King Mongkut's University of Technology Thonburi; 2010. (in Thai).