ประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนผ่านสื่อเสมือนจริงต่อสมรรถนะ การพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เจตคติและความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาล

Main Article Content

ศุภวดี แถวเพีย
เอมอร บุตรอุดม
สุธิดา อินทรเพชร
สุธิดา สิงห์ศิริเจริญกุล สิงห์ศิริเจริญกุล
ทิพย์รัตน์ อุดเมืองเพีย อุดเมืองเพีย
ปวินตรา มานาดี

บทคัดย่อ

บทนำ : การจัดการเรียนการสอนผ่านสื่อเสมือนจริงมีความสำคัญในการฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาลภายใต้สถานการณ์โควิด 19


วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เจตคติ และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาล


วิธีการวิจัย : เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริง 30 คน และกลุ่มที่ได้รับการเรียนการสอนผ่านสื่อเสมือนจริง 45 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินสมรรถนะ เจตคติ ความพึงพอใจ และแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างสองกลุ่มโดยใช้การทดสอบค่าที  และข้อมูลจัดกลุ่มใช้การทดสอบไคสแควร์


ผลการวิจัย : พบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยสมรรถนะการพยาบาลโดยรวมของกลุ่มฝึกปฏิบัติงานผ่านสื่อเสมือนจริงและกลุ่มฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาลอยู่ในระดับมาก (M=4.03, SD=0.53 และ M=4.34, SD=0.42 ตามลำดับ) 2) คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของทั้งสองกลุ่มมากกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด (ร้อยละ 70.00)  และ 3) ค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติ และความพึงพอใจ  หลังการสอนผ่านสื่อเสมือนจริงอยู่ในระดับมาก (M=4.40, SD=0.06 และ M=3.94, SD=1.22 ตามลำดับ)


สรุปผล : การจัดการเรียนการสอนผ่านสื่อเสมือนจริงเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถนำมาปรับใช้ในสถานการณ์วิกฤตที่ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนในคลินิกได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม การขึ้นฝึกปฏิบัติงานตามสภาพจริงสามารถส่งเสริมทักษะและสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ได้มากกว่าการฝึกปฏิบัติผ่านสื่อเสมือนจริง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization. WHO Coronavirus (COVID-19) Dashboard. [Internet]. 2022 [cited 2022 Feb 26]; Available from: https://covid19.who.int/.

Ministry Of Public Health. Corona Virus Disease (COVID-19) Dashboard. [Internet]. 2022 [cited 2022 Feb 26]; Available from: https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/. (in Thai).

Education institutions 4 networks, Council of University Presidents of Thailand. Preparation measures to cope with the 2019 coronavirus situation in the academic year 2020: education institutions 4 networks of the president's meeting of Thailand. [Internet]. 2020 [cited 2021 Mar 23]; Available from: https://regis.sru.ac.th/wpcontent/uploads/ sites/28/2020/06/measure_sru.pdf. (in Thai).

Wadyim N, Wangchom S, Mano A. Teaching and learning management in nursing using electronic learning. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok. 2017;33(3):146-57. (in Thai).

Sutthirat C. New Learning Management. Nonthaburi: Sahamit printing and publishing; 2010. (in Thai).

Paje S. The flipped classroom: New classroom dimension in the 21st century. In Phrae Primary Educational Service Area Office 2 Administrator Conference Thailand. 21st May 2013; Phrae: Available from: http://phd.mbuisc.ac.th/academic/ flippedclassroom2.pdf (in Thai).

Walser TM. Quasi-experiments in schools: The case by historical cohort control groups. Pract Assess Res Eval. 2014;19(6):1-8. doi: 10.7275/17hj-1k58.

Thaewpia S, Panmaung S, Khamsawarde N, Baothong K, Thuntum K, Phusee S, et al. Authentic learning instructional model to enhance the midwifery competency and learning achievement of nursing students. Journal of Nursing Science. 2015;33(suppl 1): 27-36. (in Thai).

Roopnarm O. Professional nurses’ competencies in delivery room, general hospitals [Dissertation]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2005. (in Thai).

Panklad S. Students’ opinions towards the instruction in computer, faculty of science and technology, Rajabhat Suansunandha [Dissertation]. Nakhon Nayok: Srinakharinwirot University; 2012. (in Thai).

O'Flaherty JA, Laws TA. Nursing student's evaluation of a virtual classroom experience in support of their learning Bioscience. Nurse Educ Pract. 2014;14(6):654-9. doi: 10.1016/j. nepr.2014.07.004.

Mallillin LL, Mendoza LC, Mallillin JB, Felix RC, Lipayon IC. Implementation and readiness of online learning pedagogy: a transition to Covid 19 pandemic. Eur. J. Open Educ. E-Learn. Stud. 2020;5(2).71-90. doi: 10.46827/ejoe.v5i2.3321.

Wayo W, Charoennukul A, Kankaynat C, Konyai J. Online learning under the COVID-19 epidemic: Concepts and applications of teaching and learning management. Regional Health Promotion Center 9 Journal. 2020;14(34):285-98. (in Thai).

Ghaderizefreh S, Hoover ML. Student satisfaction with online learning in a blended course. Int J Digit Soc. 2018; 9(3):1393-8. doi: 10.20533/ijds.2040.257 0.2018.0172.