ปัจจัยทำนายความเชื่อด้านสุขภาพของพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 ของบุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

Main Article Content

ปิยอร วจนะทินภัทร
Jinjuta Waisanthia
Punyanuch Kongkaew
Patcharawadee Paso
Piyathida In-kaew

บทคัดย่อ

บทนำ : บุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยสามารถติดโควิด 19 โดยไม่แสดงอาการและเป็นพาหะแพร่ไปสู่ผู้อื่น  การศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกัน   โควิด 19 จะนำไปสู่การพัฒนาแนวทางส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 ของบุคลากรและนักศึกษา


วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อศึกษาระดับความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19        ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 และ ปัจจัยทำนายด้านความเชื่อด้านสุขภาพของพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 ของบุคลากรและนักศึกษา


วิธีการวิจัย : การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ ศึกษาจากตัวอย่างบุคลากร 320 คน และนักศึกษา 400 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน   


ผลการวิจัย : พบว่า บุคลากรและนักศึกษามีความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 โดยรวมระดับมาก  ความเชื่อด้านสุขภาพทั้ง 5 ด้านของบุคลากรมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 แต่ความเชื่อด้านการรับรู้อุปสรรคของนักศึกษาไม่มีความสัมพันธ์ และ บุคลากรมีปัจจัยความเชื่อด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง และแรงจูงใจสามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 ได้ร้อยละ 29.10 และนักศึกษามีปัจจัยความเชื่อด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยง และแรงจูงใจสามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 ได้ร้อยละ 20.70


สรุปผล : ควรกำหนดมาตรการพัฒนาความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อเพิ่มระดับพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 ของบุคลากรและนักศึกษาให้สูงขึ้น โดยเน้นความเชื่อด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยง และแรงจูงใจด้านสุขภาพ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Manmana S, Iamsirithaworn S, Uttayamakul S. Coronavirus disease-19 (COVID-19). Journal of Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute. 2020;14(2):124-33. (in Thai).

Boonloy W, Warabamrungkul T, Wichaiwong M, Nilkote R. The covid-19 with changing of education and society. CMU Journal of Education. 2021;5(1):44-57 (in Thai).

World Health Organization. Update on Omicron [Internet]. 2022 [cited 2022 May 31]; Available from: https://www.who. int/news/item/28-11-2021-update-on-omicron.

Ministry of public health. Guideline on public health practice for control the outbreak of Coronavirus disease 2019 (COVID-19) [Internet]. 2020 [cited 2020 Apr 30]; Available from: https://ddc.moph. go.th/viralpneumonia/file/g_other/g_other 02.pdf. (in Thai).

Thai Health Reform Foundation. Reveling Thai people’s cards fall after easing covid measures [Internet]. 2020 [cited 2021 Oct 15]; Available from: https://www.hfocus. org/content/2020/05/19344. (in Thai).

Thai Health Reform Foundation. Open epidemiological data on the most common cases of COVID-19, aged 20-39 [Internet]. 2020 [cited 2021 Oct 15]; Available from: https://www.hfocus.org/content/2020/04/19040. (in Thai).

Waehayi H. Severity perception and preventive behavior on the Coronavirus disease-2019 among youth at Sateng-Nok Subdistrict, Muang District, Yala Province. Academic Journal of Community Public Health. 2020;6(4):158-68. (in Thai).

Carico RR, Sheppard J, Thomas CB. Community pharmacists and communication in the time of COVID-19: applying the health belief model. Res Social Adm Pharm. 2020; 17(1):1984–7. doi: 10.1016/j.sapharm.2020.03.017.

Suranaree University of Technology. Annual report 2021. [Internet]. 2022 [cited 2022 April 30]; Available from: http://web.sut.ac.th/ dpn/document/plan/SUT%20Annual%20Report%202021-V6.pdf. (in Thai).

Nawsuwan K, Singweratham N, Damsangsawas N. Correlation of perception disease severity to implementation role for control of COVID-19 in communities among village health volunteers in Thailand. Journal of Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute. 2020;14(2):92-103. (in Thai).

Meehanpong P, Chatdokmaiprai K. Assessing quality of research instrument in nursing research. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 2018;19(1):9-15. (in Thai).

Simmonds P. Linear regression analysis primary agreement’s test. Journal of Research and Curriculum Development 2017;7(2):20-37. (in Thai).

Kaewsuksai R, Kongkun P, Tongkoop B, Samaair L, Boonnarakorn S. Relationships between knowledge, perception, and the "new normal behaviors" for preventing coronavirus disease (COVID-19) infection among people in Narathiwat Province. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health. 2021;8(2):67-79. (in Thai).

Singweratham N, Thaopan WW, Nawsuwan K, Pohboon C, Surirak S. Perception and preventive behaviors on the coronavirus disease-2019 (COVID-19) among dental nurses under the Ministry of Public Health. Journal of Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute. 2020;14(2):104-15. (in Thai).

Mant M, Holland A, Prine A. Canadian university students’ perceptions of COVID-19 severity, susceptibility, and health behaviors during the early pandemic period. Public Health in Practice. 2021;2:1-6. doi: 10.10 16/j.puhip.2021.100114.