การพัฒนาฐานข้อมูลผู้สูงอายุเพื่อการดูแลในภาวะฉุกเฉิน ตำบลพระธาตุ อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ : การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ส่งผลกระทบต่อระบบการดูแลฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุเนื่องด้วยภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่เสื่อมถอยลง การพัฒนาฐานข้อมูลผู้สูงอายุเพื่อการดูแลในภาวะฉุกเฉิน จึงเป็นการเตรียมพร้อมในการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยฉุกเฉินในชุมชน และให้การดูแลต่อเนื่องให้หายจากการเจ็บป่วยและป้องกันการเกิดภาวะฉุกเฉินซ้ำ
วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อศึกษาสถานการณ์การดูแลผู้สูงอายุในภาวะฉุกเฉินในชุมชนและชุดข้อมูลที่จำเป็นในการดูแลผู้สูงอายุ และพัฒนาฐานข้อมูลผู้สูงอายุเพื่อการดูแลเมื่อมีภาวะฉุกเฉิน
วิธีการวิจัย : เป็นการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) ศึกษาสถานการณ์โดยการสัมภาษณ์ผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน จำนวน 72 คน และสนทนากลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุจำนวน 55 คน 2) ระยะพัฒนาฐานข้อมูล และ 3) ประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจต่อฐานข้อมูลจากผู้ใช้ฐานข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย : เมื่อเกิดการเจ็บป่วยฉุกเฉินญาติจะเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุเบื้องต้น กรณีฉุกเฉินจะนำส่งโรงพยาบาลโดยโทรเรียกรถพยาบาลออกรับ ชุดข้อมูลที่จำเป็นในฐานข้อมูล ประกอบด้วย ชุดข้อมูลในการดูแลผู้สูงอายุ ข้อมูลการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุ และข้อมูลการดูแลต่อเนื่องหลังแก้ไขภาวะฉุกเฉิน ประสิทธิภาพของฐานข้อมูลอยู่ในเกณฑ์ดีมาก (M=4.68, SD=0.36) ผู้ใช้ฐานข้อมูลมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (M =4.76, SD=0.27)
สรุปผล : ฐานข้อมูลผู้สูงอายุเพื่อการดูแลในภาวะฉุกเฉินที่พัฒนาขึ้น เป็นฐานข้อมูลที่เอื้อต่อการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ผู้ใช้งานสามารถใช้ข้อมูลเพื่อให้บริการผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยฉุกเฉินในชุมชนได้อย่างรวดเร็วและการดูแลต่อเนื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute(TGRI). Situation of the Thai elderly 2016. Nakhon Pathom: Printery; 2016. (in Thai).
Department of Older Persons (DOP). Statistics of the elderly. [Internet]. 2020
[cited 2021 Jun 26]; Available from: https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/335. (in Thai).
Bureau of Elderly Health Department of Health, Ministry of Public Health. Elderly caregiver training guideline420-hour course. Nonthaburi: Printing Press of the War Veterans Organization of Thailand Under Royal Patronage of His Majesty the King; 2014. (in Thai).
Ouansri S. et al. A study to prepare a proposal on the provision of emergency medical services at Suitable for the elderly in Thailand. [Internet]. 2018 [cited 2019 Jun 22]; Available from: http://www. hitap.net/research/ 168386. (in Thai).
Nursing Division. Guidelines for organizing nursing services intermediate care. Nonthaburi: Nursing Division, Ministry of Public Health; 2019. (in Thai).
Wonganantnont P. Nursing informatics. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 2014;15(3):81-5. (in Thai).
BunthamN, Silawan T, Khunsakhon N, Sangswang P. Needs toward emergency medical services among the elderly in Yasothon Province. The 1st National Community Health System Conference; 2017:187-93. (in Thai).
Khansakorn N, Silawan T, Rawiworrakul T, Kittipichai W, Laothong U. The study on emergency medical service for the elderly. Bangkok: Faculty of Public Health, Mahidol University; 2017.(in Thai).
Phucongchai M. Development of continuing care Model for Elderly People with Chronic Illness of Nongkungsri Hospital Kalasin Province. Health and Environmental Education Journal. 2020;5(1):63-72. (in Thai).
Kaewmeesri R, HarnpajonesukT, SujimaN, Fankamai W, Jaita S, Kamtui P, et al. Development model of the emergency medical services Integrated spatial for the elderly vulnerable groups in the of community context under the semi-urban, Semi-rural society. Full research report. Bangkok: National Institute for Emergency Medicine; 2017.(in Thai).
Iamsiriwong O. Systems analysis and design. Bangkok: SE-EDUCATION; 2014. (in Thai).
khantikhachenchat C, Somkhow P. Development of user information systems for Thai Traditional and Alternative Medicine Service Center in the Northeast, Ubon Ratchathani Rajabhat University. Journal of Roi-Et Rajabhat University. 2020;14(2):153-64. (in Thai).
AungwattanaS, TuanratW, Boonchieng W.A development of family health database system of Public Health Nursing Group Faculty of Nursing Chiang Mai University. Nursing Journal. 2018;45(2):123 -34. (in Thai).