การบาดเจ็บทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกของนักศึกษาแพทย์ชั้นพรีคลินิกของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

Main Article Content

ค่อลิฟ ปะหยังหลี
ปัญญาวุฒิ ด้วงตุด
กุลวรรธน์ คงช่วย
สัญลักษณ์ ทองลี่
ณัฐวุฒิ ตัดสายชล

บทคัดย่อ

บทนำ : การนั่งเรียนบรรยายและยืนเรียนปฏิบัติการในท่าทางเดิมซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานานของนักศึกษาแพทย์ชั้นพรีคลินิก อาจนำไปสู่การเกิดการบาดเจ็บทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกได้


วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อศึกษาความชุกของการบาดเจ็บทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูก และความสัมพันธ์ระหว่างการบาดเจ็บทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกกับข้อมูลส่วนบุคคลของนักศึกษาแพทย์ชั้นพรีคลินิก มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์


วิธีการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามมาตรฐานนอร์ดิค จำนวน 72 ตัวอย่าง ใช้สถิติเชิงพรรณนาอธิบายความชุก และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคว์สแควร์ของเพียร์สัน และสถิติทดสอบของฟิชเชอร์


ผลการวิจัย : พบว่าความชุกของการบาดเจ็บทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกของนักศึกษาแพทย์ชั้นพรีคลินิกในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมามีความชุกร้อยละ 95.83 บริเวณของร่างกายที่มีการบาดเจ็บสามอันดับแรก ได้แก่ คอ หลังส่วนบน และหลังส่วนล่าง และในช่วง 7 วันที่ผ่านมามีความชุกร้อยละ 75.00 บริเวณของร่างกายที่มีการบาดเจ็บสามอันดับแรก ได้แก่ หลังส่วนบน คอ และไหล่ ความสัมพันธ์ระหว่างการบาดเจ็บทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกกับข้อมูลส่วนบุคคล พบว่า การบาดเจ็บบริเวณคอและเข่าในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมามีความสัมพันธ์กับเพศ ส่วนในช่วง 7 วันที่ผ่านมา พบความสัมพันธ์ระหว่างการบาดเจ็บบริเวณไหล่กับเพศและส่วนสูง ข้อมือหรือมือกับดัชนีมวลกาย และเข่ากับมือข้างถนัด


สรุปผล : ผลการศึกษาแสดงให้เห็นการบาดเจ็บทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกของนักศึกษาแพทย์ชั้น พรีคลินิกมีความชุกในระดับที่ทางมหาวิทยาลัยจะต้องเร่งดำเนินการแก้ไข โดยเน้นการบาดเจ็บบริเวณคอ หลังส่วนบน หลังส่วนล่าง และไหล่

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

Butmee T. Ergonomics risk assessment tools. Disease Control Journal. 2016;42(1): 11-4. (in Thai).

Weleslassie GG, Meles HG, Haile TG, Hagos GK. Burden of neck pain among medical students in Ethiopia. BMC Musculoskelet Disord. 2020;21(1):14. doi: 10.1186/s12891-019-3018-x.

Aggarwal N, Anand T, Kishore J, Ingle GK. Low back pain and associated risk factors among undergraduate students of a medical college in Delhi. Educ Health (Abingdon). 2013;26(2):103-8. doi: 10.41 03/1357-6283.120702.

Vujcic I, Stojilovic N, Dubljanin E, Ladjevic N, Ladjevic I, Sipetic-Grujicic S. Low back pain among medical students in Belgrade (Serbia): a cross-sectional study. Pain Res Manag. 2018;8317906. doi: 10.1155/ 2018/8317906.

Alturkistani LH, Hendi OM, Bajaber AS, Alhamoud MA, Althobaiti SS, Alharthi TA, Atallah AA. Prevalence of lower back pain and its relation to stress among medical students in Taif University, Saudi Arabia. Int J Prev Med. 2020;11:35. doi: 10.4103/ ijpvm.IJPVM_264_19.

Kuorinka I, Jonsson B, Kilbom A, Vinterberg H, Biering-Sørensen F, Andersson G, Jørgensen K. Standardised Nordic questionnaires for the analysis of musculoskeletal symptoms. Appl Ergon. 1987;18(3):233-7. doi: 10.1016/0003-68 70(87)90010-x.

Haroon H, Mehmood S, Imtiaz F, Ali SA, Sarfraz M. Musculoskeletal pain and its associated risk factors among medical students of a public sector University in Karachi, Pakistan. J Pak Med Assoc. 2018;68(4):682-8. PMID: 29808072.

Felimban R, Alanasri S, Hawsawi N, Albazli K. Musculoskeletal pain among Saudi medical students in Makkah. Int J Adv Res. 2017;5(3):56-60. doi: 10.21474/ IJAR01/3484.

Saetan O, Khiewyoo J, Jones C, Ayuwat D. Musculoskeletal disorders among northeastern construction workers with temporary migration. Srinagarind Medical Journal. 2007;22:165-73. (in Thai).

Thientong M. Statistics and research methodology for information technology. Bangkok: King Mongkut's University of Technology North Bangkok; 2005. (in Thai).

Intolo P, Prasongsansuk N, Srilabutr P, Sittichoksakulchai W, Khutok K, Baxter DG. Pain and muscle activity of neck, shoulder, upper back, and forearm during touch screen tablet use by children. Work. 2019;64(1):85-91. doi:10.3233/WOR-192971.

Intolo P, Plangsiri K. Effect of posture during tablet use on pain and muscle activity in office workers. Journal of Sports Science and Health. 2019;20(1):73-87.

(in Thai).

Sengsoon P, Siriworakunsak K. Comparison of postural change and body discomfort during classroom sitting with two patterns of desk and chair. Christian University Journal. 2019;25(4):56-66. (in Thai).

Gupta N, Christiansen CS, Hallman DM, Korshøj M, Carneiro IG, Holtermann A. Is objectively measured sitting time associated with low back pain? A cross-sectional investigation in the NOMAD study. PLoS One. 2015;10(3):0121159. doi: 10.1371/ journal.pone.0121159.