การศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณนาทางการพยาบาล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงชาติพันธ์วรรณนา หรือการศึกษาความหลากหลายทางวัฒนธรรม (Ethnographic study) เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพชนิดหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ นักวิจัยศึกษาข้อมูลวิจัยด้วยตนเอง โดยต้องพาตนเองให้เข้าใกล้ชุมชนที่ต้องการศึกษา เพื่อให้ได้มาซึ่งความจริงที่เกิดขึ้นและข้อมูลคุณภาพ ในทางการพยาบาลได้นำการศึกษาความหลากหลายทางวัฒนธรรมนี้มาประยุกต์ใช้ในการศึกษาวิจัยในที่ทำงาน งานประจำ และประสบการณ์ทางการพยาบาล ด้วยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่หลากหลายเพื่อได้มาซึ่งความสมบูรณ์ของข้อมูลที่ต้องการศึกษา และนำเสนอผลวิจัยด้วยปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้น ในประเทศไทยการศึกษาความหลากหลายทางวัฒนธรรมสามารถแบ่งเป็น 2 ประเด็นหลัก ได้แก่การศึกษา พฤติกรรมทางวัฒนธรรมและการศึกษาความแตกต่างทางวัฒนธรรม ซึ่งในประเทศไทยมีวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพที่หลากหลาย ตามความแตกต่างทางวัฒนธรรม การศึกษาวิจัยด้วยวิธีนี้จะช่วยให้ผู้วิจัยสามารถทำความเข้าใจกับผู้ป่วย ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ หรือการปฏิบัติทางการพยาบาล เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงการพยาบาลและการดูแลสุขภาพให้สอดคล้องกับบริบทที่แตกต่างทางวัฒนธรรมในประเทศไทย บทความนี้ได้รวบรวมความรู้ที่เกี่ยวกับการศึกษาความหลากหลายทางวัฒนธรรม และการนำไปใช้ทางการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ ซึ่งผู้เขียนหวังว่าจะมีประโยชน์กับผู้ที่สนใจศึกษาความหลากหลายทางวัฒนธรรมทางการพยาบาลต่อไป
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
2. Hammersley M, Atkinson P. Ethnography: principles in practice (3rd ed.). London: Routledge; 2007.
3. Brewer JD. Ethnography. Buckingham: Open University Press; 2000.
4. Boellstorff T, Nardi B, Pearce C, Taylor TL. Ethnography and Virtual worlds: A handbook of method. Oxfordshire: Princeton University Press; 2012.
5. Cruz EV, Higginbottom G. The use of focused ethnography in nursing research. Nurse Res. 2013;20(4):36-43.
6. Bloor M, Wood F. Keywords in qualitative methods. London: Sage Publications Ltd; 2006.
7. Fetterman DM. Ethnography: step-by-step (3rd ed.). Los Angeles: Sage Publications; 2010.
8. Creswell J. Qualitative inquiry and research design: choosing among five approaches (3rd ed.). London: Sage Publications Ltd; 2013.
9. Higginbottom GMA, Pillay JJ, Boadu NY. Guidance on performing focused ethnographies with an emphasis on healthcare research. Qual Rep. 2013;18(17):1-16.
10. Draper J. Ethnography: principles, practice and potential. Nurs Stand. 2015;29 (36):36-41.
11. Pope C. Conducting ethnography in medical settings. Med Educ. 2005;39:1180-7
12. Allen D. Ethnomethodological insights into insider-outsider relationships in nursing ethnographies of healthcare settings. Nurs Inq. 2004;11(1):14-24.
13. Gelling L. Complexities of ethnography.
Nurse Res. 2014;22(1):6-7.
14. de Melo LP, Stofel NS, Gualda DM, de Campos EA. Nurses’ experiences of ethnographic fieldwork. Nurse Res. 2014; 22(1):14-9.
15. Mantzoukas S. Exploring ethnographic genres and developing validity appraisal tools. J Res Nurs. 2010;17(5):420-5.
16. Smith C, Gallo A. Applications of performance ethnography in nursing. Qualitative Health Research. 2007;17(4):521-8.
17. Richards L, Morse JM. Readme first for a user’s guide to qualitative methods (2nd ed.). Thousand Oaks California: Sage Publications; 2007.
18. Srichantaranit A, Chontawan R, Yenbut J, Ray L, Laohaprasittiporn D, Wanitkun S. Thai’s families caring practice for infant with congenital heart disease prior to cardiac surgery. Pacific Rim International Journal of Nurse Research. 2010;14(1): 61-78. (in Thai).
19. Pilayon B, Nuntaboot K. Community care system for the disabilities. Journal of Nursing Science and Health. 2017;40(2): 32-42. (in Thai).
20. Eamkusolkit R. Cultural care for infants of the Phuthai’s family in Nakhon Phanom Province. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok. 2018; 34(2): 74-85. (in Thai).