การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยสมองบาดเจ็บปานกลางถึงรุนแรง โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า

Main Article Content

สมพร พฤกษ์ทวีศักด์
ยุพาวรรณ ทองตะนุนาม
สุมนา ยวดยง

บทคัดย่อ

บทนำ : สมองบาดเจ็บปานกลางถึงรุนแรงเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดความพิการและเสียชีวิต


วัตถุประสงค์การวิจัย : 1) พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยสมองบาดเจ็บปานกลางถึงรุนแรงโดยใช้การจัดการรายกรณี และ 2) ประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการดูแลที่พัฒนาขึ้น


วิธีการวิจัย : การวิจัยและพัฒนา มี 4 ระยะ คือ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ ทบทวนเวชระเบียน และสนทนากลุ่ม  2)  พัฒนารูปแบบโดยสังเคราะห์ผลจากระยะที่ 1 ร่วมกับการใช้การจัดการรายกรณีและแนวปฏิบัติการพยาบาล  3) ทดลองใช้รูปแบบการดูแล 4) นำรูปแบบไปใช้จริงและประเมินผล ตัวอย่างได้แก่ สหสาขาวิชาชีพ 12 คน พยาบาลวิชาชีพ 40 คน ผู้ป่วยสมองบาดเจ็บปานกลางถึงรุนแรงและผู้ดูแลกลุ่มละ  30 คน  เครื่องมือเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ และความคิดเห็นพยาบาลต่อการนำแนวปฏิบัติไปใช้ แบบประเมินความพึงพอใจ สหสาขาวิชาชีพและผู้ดูแล และบันทึกผลลัพธ์ทางคลินิก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่าที และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัย :  ภายหลังใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยสมองบาดเจ็บปานกลางถึงรุนแรง พยาบาลวิชาชีพ
มีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) ได้ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ และเห็นด้วยต่อการนำแนวปฏิบัติไปใช้มากที่สุด (M = 120.27, SD = 3.87), (M = 4.51, SD = 0.44) ตามลำดับ สหสาขาวิชาชีพ
พึงพอใจมากที่สุด (M = 4.68, SD = 0.30) ผู้ดูแลพึงพอใจมาก (M = 4.48, SD = 0.30) และผลลัพธ์ทางคลินิก พบว่า ภาวะแทรกซ้อนลดลง 


สรุปผล : การดูแลผู้ป่วยสมองบาดเจ็บปานกลางถึงรุนแรง โดยใช้การจัดการรายกรณี และแนวปฏิบัติการพยาบาลทำให้อัตราตายและภาวะแทรกซ้อนลดลง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Reference
1. Phuenpathom N, Srikijvilaikul T, editors. Clinical Practice Guidelines for Traumatic Brain Injury. 3rd rev. ed.. Bangkok: Royal College of Surgeons of Thailand. 2019. (in Thai).
2. Roozenbree B, Mass AIR, Menon DK. Changing patterns in the epidemiology of Traumatic Brain Injury. Nat Rev Neurol. 2013;9(4):231–6.
3. Maas AIR, Menon DK, Lingsma HF, Pineda JA, Sandel ME, Manley GT. Re-orientation of clinical research in traumatic brain injury: report of an international workshop on comparative effectiveness research. J Neurotrauma. 2012;29(1): 32-46.
4. Road Safety Collaboration Thai RSC. Road Safety Collaboration for Road Accident Victims Protection 2019 [Internet]. [cited 2019 Nov 9]; http://www.thairsc.com/p77/index/12
5. Helmy A, Vizcaychipi M, Gupta AK. Traumatic brain injury: intensive care management. Br J Anesth. 2007;99(1):32-42.
6. Division of Non Communicable disease Department of Disease Control Ministry of Public Health. Road safety situation 2019 [Internet]. [cited 2020 Feb 20]; http://www.thaincd.com/document/file/info/injured.pdf
7. Khiewchaum R. The Development of a Clinical Nursing Practice Guideline to Prevent and Reduce Incresed Intracranial Pressure in patients With Traumatic Brain Injury for Nursing Students. J Prapokklao Nurs Coll. 2015;26(2):120-34. (in Thai).
8. Anchalee S, Chumnanborirak P, Promtee P, Yutthakasemsunt S, Pochaisan O. The development model of severe traumatic brain injury: Case management study. J Nurs Sci Chulalongkorn Univ. 2017;29(3):126-38. (in Thai).