ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดและการเผชิญความเครียดของนักศึกษา ในการฝึกปฏิบัติ วิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี

Main Article Content

จิตรา สุขเจริญ
พัทธ์ธีรา วุฒิพงษ์พัทธ์
จิดาภา เรือนใจมั่น
วีนะ อนุตรกุล

บทคัดย่อ

บทนำ : การช่วยเหลือนักศึกษาลดหรือขจัดความเครียดในการขึ้นฝึกปฏิบัติครั้งแรกจะช่วยให้นักศึกษาเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ มีเจตคติที่ดี และอยู่ในวิชาชีพได้อย่างมีความสุข


วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดและการเผชิญความเครียดของนักศึกษาในการฝึกวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล


วิธีการวิจัย : การวิจัยเชิงพรรณนา ตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2560  จำนวน 144  คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความเครียด การเผชิญความเครียด และแบบสอบถามปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน   


ผลการวิจัย : นักศึกษาพยาบาลส่วนใหญ่ ร้อยละ 49.30 มีความเครียดอยู่ในระดับปกติ และร้อยละ 5.60
มีความเครียดในระดับสูงกว่าปกติมาก ใช้การเผชิญความเครียดด้านมุ่งเน้นอารมณ์ (M = 0.61, SD = 0.04)  เป็นสัดส่วนมากกว่าด้านมุ่งแก้ปัญหา (M = 0.39, SD = 0.04)  ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียด คือ เจตคติต่อการเรียนภาคปฏิบัติ  และสัมพันธภาพของกลุ่มเพื่อน ทำนายได้ร้อยละ 10.30 (R2= .103)  ปัจจัยที่มีผลต่อการเผชิญความเครียดด้านมุ่งแก้ปัญหา คือ พฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา ทำนายได้ร้อยละ 18.30 (R2= .183) ปัจจัยที่มีผลต่อการเผชิญความเครียดด้านมุ่งเน้นอารมณ์ คือ เจตคติต่อการเรียนภาคปฏิบัติ  และพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา ทำนายได้ร้อยละ 10.70 (R2= .107)


สรุปผล : สถาบันการศึกษาพยาบาลควรจัดให้มีกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อเสริมสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนภาคปฏิบัติ และจัดโปรแกรมส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาพฤติกรรมที่เหมาะสมในการเผชิญความเครียด

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Lazarus RS, Launier R. Stress-related transaction between person and environment. In Pitdion LA, Lewis M. Perspective in interaction psychology, New York: Plenum Press; 1978.

Lazarus RS, Folkman S. Psychological Stress and The Coping Process. New York: Springer Publishing Company; 1984.

Sprengel AD, Job L. Reducing student anxiety by using clinical peer mentoring with beginning nursing students. Nurse Educ. 2004;29(6):246-50.

Limthongkul M, Aree-Ue S. Sources of Stress, Coping Strategies, and Outcome among Nursing Students during their Initial Practice. Ramathibodi Nursing Journal. 2009;15(2):192-205. (in Thai).

Maleewan L. The Relationships between Personal Factors, Environment Factors and Stress, Stress Management during Practice in Labor Room of Nursing Students at Saint Louis College. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 2014;15(2):270-79. (in Thai).

Dunn SV, Hansford B. Undergraduate nursing students’ perceptions of their clinical environment. J Adv Nurs. 1997;25 (6):1299-306.

Papp I, Markkanen M, Bonsdorff M. Clinical environment as a learning environment: Student nurses’ perception concerning clinical learning experiences. Nurse Educ Today. 2003;23(4):262-68.

Wuthipong J, Somsri D, Sutthineum U. Factors Influencing Clinical Learning Behavior of Nursing Students in Boromarajonani College of Nursing, Chon Buri [Research report]. Chon Buri: Boromarajonani College of Nursing, Chon Buri; 2008. (in Thai).

Bandura, A. Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman; 1997.

Department of Mental Health. Guidebook to relieve stress. Nonthaburi: Department of Mental Health, Ministry of Public Health; 2000. (in Thai).

Sukjaroen J, Vudhironarit S. Factors Influencing on Stress and Coping Behavior of Nursing Students of Boromarajonani College of Nursing, Chon Buri [Research report]. Chon Buri: Boromarajonani College of Nursing, Chon Buri; 2008. (in Thai).

Tangkittipaporn J. Personality psychology and health behavior. Bangkok: Chulabook; 2016. (in Thai).

Khamwong W, Plangpongpan S, Yamboonruang T. The relationships between levels of stress, causes of stress and stress management in nursing students of nursing colleges under the jurisdiction of Praboromarajchanok Institute for Health Workforce Development. Journal of Health Science Research. 2016;10(1):78-87. (in Thai).

Kurebayashi LFS, Prado JMD, Silva MJP. Correlations between stress and anxiety levels in nursing students. Journal of Nursing Education and Practice. 2012;2(3):128-34.

Limthongkul M, Poosrithong P. Nursing Students’ Needs during Clinical Practice at Outpatient Department. Ramathibodi Nursing Journal. 2006;12(1):1-9. (in Thai).

Edward E. Use of listening skills when advising nursing students in clinical experiences. J Nurs Educ. 1991;30:328-29.

Bampenphat H. Stress and Coping of Patients with Skeletal Traction [Thesis]. Chon Buri: Burapha University; 2001. (in Thai).

Nakwatcharangkurn L. A Comparison of The Effects of Rogerian Group Counseling and Problem Solving Training on Coping Behavior of The Second Year Students of Boromarajonani College of Nursing, Chon Buri [Thesis]. Chon Buri: Burapha University; 1999. (in Thai).

Sirijit J, Tanyaluk B. Readiness to practice in the Fundamentals of Nursing Practicum among nursing students at The Thai Red Cross College of Nursing. Thai Red Cross Nursing Journal. 2015;5(1):32-45. (in Thai).