ปัจจัยทำนายการถูกกระทำด้วยพฤติกรรมรุนแรงในที่ทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง

Main Article Content

อริยฉัฎร กาฬหว้า
จักรกฤษณ์ พลราชม

บทคัดย่อ

   


บทนำ: พฤติกรรมรุนแรงเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจและการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ


วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาการถูกกระทำด้วยพฤติกรรมรุนแรงและปัจจัยทำนายการถูกกระทำด้วยพฤติกรรมรุนแรงในที่ทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง


วิธีการวิจัย: การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย ตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม จำนวน 356 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล การถูกกระทำด้วยพฤติกรรมรุนแรง การรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันและจัดการพฤติกรรมรุนแรง และแรงสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


ผลการวิจัย: พยาบาลวิชาชีพถูกกระทำด้วยพฤติกรรมรุนแรงในระดับต่ำ โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 15.40 (SD = 3.59) โดยพบว่า การรับรู้ความความสามารถของตนเองในการป้องกันและจัดการพฤติกรรมรุนแรง และแรงสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางลบกับการถูกกระทำด้วยพฤติกรรมรุนแรงมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.713, -.433, p < .01 ตามลำดับ) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่า การรับรู้ความความสามารถของตนเองในการป้องกันและจัดการพฤติกรรมรุนแรง และแรงสนับสนุนทางสังคม เป็นปัจจัยทำนายการถูกกระทำด้วยพฤติกรรมรุนแรงในที่ทำงานของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (b = -.655, -.120, p < .01 ตามลำดับ) สามารถเขียนเป็นสมการทำนายได้ดังนี้
z (การถูกกระทำด้วยพฤติกรรมรุนแรง) = -.655 (การรับรู้ความสามารถของตนเอง) -.120 (แรงสนับสนุนทางสังคม) ทั้งนี้ปัจจัยทั้งสองร่วมกันทำนายการถูกกระทำด้วยพฤติกรรมรุนแรงได้ร้อยละ 51.60


สรุปผล: ผู้บริหารการพยาบาลควรพัฒนาโปรแกรมในการป้องกันและจัดการกับพฤติกรรมรุนแรงในที่ทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โดยการเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันและจัดการพฤติกรรมรุนแรง และแรงสนับสนุนทางสังคมให้แก่พยาบาลวิชาชีพ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Fute M, Mengesha ZB, Wakgari N, Tessema GA. High prevalence of workplace violence among nurses working at public health facilities in Southern Ethiopia. J BMC nursing. 2015;14(1):1-5.

Nakbut K. Development of prevention and management of aggressive and violence behavior in psychiatric wards [Thesis]. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2007. (in Thai).

Kamontham W. Violence Appears in Case Studies: TV Drama Hunts 2017 [Thesis]. Bangkok: Bangkok University; 2017. (in Thai).

Cheung T, Lee PH, Yip PSF. Workplace violence toward physicians and nurses: prevalence and correlates in Macau. Int J Environ Res Public Health. 2017;14(8):879.

Sisawo EJ, Ouédraogo S Y Y A, Huang SL. Workplace violence against nurses in the Gambia: mixed methods design. BMC Health Serv Res. 2017;17(1):2-11.

Saimai W, Thanchira S, Prasertsukchinda N. Workplace violence and management of nursing personnel in accident and emergency departments. Ramathibodi Nursing Journal. 2010;16(1):121-35. (in Thai).

Klinpiboon A, Morachat C, Sarakan K. Strategies for professional nurse development in managing aggressive behavior of psychiatric patients in the hospitals of the Health Region 10. Journal of Psychiatric and Mental Health Nursing. 2017;31(1):29-40. (in Thai).

Chayphong A, Lormphongs S, Phatarabuddha N. Factors related to effects of workplace violence among nurses in primary care hospital, Samut Prakan Province. Disease Control Journal. 2017;43(4):413-22. (in Thai).

Li L, Ruan H, Yuan WJ. The relationship between social support and burnout among ICU nurses in Shanghai: A cross-sectional study. Chin Nurs Res. 2015;2 (2-3):45-50.

Bandura A. Perceived self-efficacy in cognitive deveopment and functioning. Educ Psychol. 1993;28:117-48.

Chiangkhong A, Auamaneekul N, Kaewbunchu O. Factor related to workplace violence among nurses working in industry. Journal of Public Health Nursing 2012;26(3):45-62. (in Thai).

Tanormseang N. Sample size calculation in the case of multiple regression analysis [Internet]. 2017 [17 Oct 2019]; Available from:https://home.kku.ac.th/nikom/sample _size_multiple_ regression_2560.pdf. (in Thai).

Sapbamrur R. Public Health Research Methodology. Bangkok: OS. Printing House; 2016.

Best JW, Kahn JV. Research in education (10). Boston, MA: Pearson Education Inc; 2006.

Niyamas T. Workplace violence and violence management of nursing personnel [Thesis]. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2002. (in Thai).

Yao Y, Wang W, Wang F, Yao W. General self-efficacy and the effect of hospital workplace violence on doctors’ stress and job satisfaction in China. Int J Occup Med Environ Health. 2014;27(3):389-99.

Kritthathip B, Boonchuaythanasit K. Relationship between self-efficacy and social support on coping with stress and coping with stress behaviors of nurses working in Pramongkutklao Hospital. Journal of Health Science Research. 2016;10(2):1-7. (in Thai).