ปัจจัยทำนายการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

Anekpong Hoikum
ลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล
วิริณธิ์ กิตติพิชัย

บทคัดย่อ

บทนำ:  ปัจจัยทำนายการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง สามารถเป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง ป้องกันหรือชะลอการเป็นโรค


วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดขอนแก่น


ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบศึกษาย้อนหลัง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่รับบริการที่หน่วยบริการสุขภาพในจังหวัดขอนแก่น กลุ่มศึกษาเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองไม่เกิน 1 ปีจำนวน 348 คน กลุ่มควบคุมเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 696 คน โดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ไคสแควร์ และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกส์


ผลการวิจัย: พบว่า ปัจจัยทำนายการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) คือ ระยะเวลาที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงอย่างน้อย 5 ปี (ORadj 10.66, 95%CI 6.38-17.81) ค่าความดันซิสโตลิก BP >140 mmHg (ORadj 6.55, 95%CI 3.94-10.88) ค่าความดันไดแอสโตลิก >90 mmHg (ORadj 4.40, 95%CI 3.11-6.22) เพศชาย (ORadj 2.66, 95%CI 1.91-3.71) และประวัติทางพันธุกรรมเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง (ORadj 2.36, 95%CI 1.51-3.70)


สรุปผล: ปัจจัยทำนายเป็นปัจจัยในการเฝ้าระวังโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ผู้ให้บริการใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อชะลอความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

World Stroke Organization. World Stroke Organization: Annual report. [Internet]. 2016 [cited 2017 Oct 1]; Available from: https://www.world-stroke.org/about-wso/wso-annual-report.

Strategy and Planning Division. Public Health Statistics A.D. 2016. Nonthaburi: Strategy and Planning Division, Ministry of Public Health; 2017. (in Thai).

Division of Non Communicable Diseases. Annual Report 2016. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2016. (in Thai).

Health Data Center, Ministry of Public Health. [internet]. 2017 [cited 2017 Aug 15]; Available from https://kkhdc.moph.go.Th/ hdc/reports/page.php?cat_id=6a1fdf282fd 28180eed7d1cfe0155e11.

Thai Hypertension Society. 2019 Thai guidelines on the treatment of hypertension. Chiang mai: Trick Think; 2019. (in Thai).

Meinert CL, Tonascia S. Clinical Trails Design Conduct and Analysis. New York: Oxford University Press; 1996.

Sagare S, Rajaderkar S, Girigosavi, S. Certain modifiable risk factors in essential hypertension: a case-control study. National J Community Med. 2011;2(1):9-13.

Keiko M, Kei A, Michihiro S, Ryusuke I, Megumi T, Miki H, et. al. Risk Factors for Stroke among Young-Old and Old-Old Community-Dwelling Adult in Japan: The Ohasama Study. J Atheroscler Thromb. 2017;24(3):290-300.

Wang J, Wen X, Li w, Li X, Wang Y, Lu w. Risk Factors for Stroke in the Chinese Population: A Systematic Review and Meta-Analysis. J stroke Cerebrovasc Dis. 2016;3:509-17.

Puthawong W, Kittipichai W, Silawan T, Monsawaengsup C. Cerebrovascular Disease Risk Factors Among Hypertensive Patients in Phayao Province. Journal of Public Health. 2014;44(1):30-45. (in Thai).

Parjaree K. Rehabilitation for stroke patients: basic knowledge in stroke. Bangkok: Medical education technology center Mahidol University; 2004. (in Thai).

Majavong M. Stroke in the elderly. Journal of Thai Stroke Society. 2019;18(1):59-74. (in Thai).

Martin J, Xavier D, Chin L, Hongye Z, Siu LC, Purnima R, et al. Risk factors for ischaemic and intracerebral haemorrhagic stroke in 22 countries (the INTERSTROKE study): a case-control study. [internet]. 2010 [cited 2017 Aug 10]; Available from https://www.thelancet.com.

Suchat H, Niphon P, Nijasri C, Somchai T, Jithanorm S. Prevalence of Stroke and Stroke Risk Factors in Thailand: Thai Epidemiologic Stroke (TES) Study. Journal of Medical Association of Thailand. 2011;94(4):427-36. (in Thai).