การส่งเสริมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ระยะก่อนบำบัดทดแทนไต : การทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบ และการวิเคราะห์อภิมาน

Main Article Content

ทัศนีย์วรรณ กันทากาศ
พรทิพย์ สารีโส

บทคัดย่อ

บทนำ : การศึกษาเรื่องการส่งเสริมความสามารถในการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีเพิ่มมากขึ้น รวมถึงในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในยุโรปและอเมริกา มีเพียงการศึกษาส่วนน้อยที่ศึกษาในบริบทของประเทศในเอเชียรวมถึงประเทศไทย


วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการส่งเสริมการจัดการตนเองเพื่อการชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนบำบัดทดแทนไตจากงานวิจัยที่ศึกษาในประเทศไทย


วิธีการวิจัย : การทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมาน โดยสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลทั้งในและต่างประเทศ พ.ศ. 2556-2560


ผลการวิจัย : จากการวิเคราะห์งานวิจัย 3 เรื่อง ที่มีคุณภาพระดับ  2 ตามเกณฑ์ของ The Joanna Briggs Institute พบว่า วิธีการส่งเสริมการจัดการตนเองเพื่อการชะลอการเสื่อมของไตที่ปรากฎในการศึกษาของประเทศไทยไม่สามารถส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในระยะก่อนบำบัดทดแทนไตประสบความสำเร็จในการชะลอความเสื่อมของไตได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่า Mean Difference  = –0.599 mL/min/1.73m2; 95% CI [-5.66, 4.47]; p = 0.82


สรุปผล : ผู้กำหนดนโยบายของหน่วยบริการสุขภาพ ควรกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมการจัดการตนเองสำหรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในเรื่องการชะลอความเสื่อมของไต รวมถึงกำหนดกระบวนการที่แสดงให้เห็นว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะเข้ามามีบทบาทในการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในการชะลอความเสื่อมของไตอย่างไร เพื่อตอบสนองความต้องการทางสุขภาพ ที่เปลี่ยนไปตามบริบทของสิ่งแวดล้อมต่างๆ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Nathan RH, Samuel TF, Jason LO, Jennifer AH, Christopher AO, Daniel SL, et al. Global prevalence of chronic kidney disease – a systematic review and meta-analysis. PLoS One. 2016;11(7):e0158765.

Lee S, Chung, C. Health behaviors and risk factors associated with chronic kidney disease in Korean patients with diabetes: the Fourth Korean National Health and Nutritional Examination Survey. Asian Nurs Res (Korean Soc Nurs Sci). 2014;8(1):8-14.

Yeary KH, Aitaoto N, Sparks K, Ritok-Lakien M, Hudson JS, Goulden P, et al. Cultural adaptation of diabetes self-management education for Marshallese Residing in the United States: lessons learned in curriculum development. Prog Community Health Partnersh. 2017;11(3): 253-61.

Kummatic A, Markrat M. Using the systematic review to provide a complete summary on a research question in evidence-based practice: a 3-step method. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health. 2016;3(3): 246-59. (in Thai).

Chanprakhon C. Effects of empowerment based self-management support program on self-management behaviors and clinical indicators among patients with diabetic nephropathy. [Independent study]. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2013. (in Thai).

Srisuwannaphop P. Effectiveness of chronic kidney disease patient care in diabetes mellitus clinic at Chattrakan hospital. [Thesis]. Bangkok: Silpakorn Universitiy; 2012. (in Thai).

Thungtong S. Effects of self-management support program for delayed progression of diabetic nephropathy on self-management behaviors and clinical outcomes in patients with uncontrolled type 2 diabetes mellitus. [Thesis]. Songkla: Prince of Songkla University; 2013. (in Thai).

Nicole E, Jonathan C, Adrian B, Karine M, Valeria S, Allison T. Lifestyle behavior change for preventing the progression of chronic kidney disease: a systematic review. BMJ Open. 2019;9(10):e031625.