ประสิทธิผลของตำรับอาหารพื้นเมืองต่อภาวะโลหิตจางในผู้สูงอายุ ภาคเหนือตอนบน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ: ผักพื้นเมืองภาคเหนือที่มีธาตุเหล็กสูง ช่วยแก้ปัญหาภาวะโลหิตจาง ในผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง
วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อทดสอบประสิทธิผลของตำรับอาหารพื้นเมืองต่อภาวะโลหิตจางในผู้สูงอายุภาคเหนือ
วิธีการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลองชนิดกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก จำนวน 120 คน เข้าร่วมโปรแกรมด้วยการสัมภาษณ์ ทดสอบการทรงตัว เจาะเลือด และให้รับประทานอาหารตามตำรับที่พัฒนาขึ้นเป็นระยะเวลา 4 เดือน หลังจากนั้นนัดสัมภาษณ์ ทดสอบการทรงตัว และเจาะเลือดส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลด้านสุขภาพ แบบสอบถามอาการที่สัมพันธ์กับภาวะโลหิตจาง แบบประเมินภาวะโภชนาการ แบบประเมินการทรงตัว ระดับฮีโมโกลบินและเฟอริติน และคู่มือตำรับอาหารพื้นเมือง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทีคู่
ผลการวิจัย: ระดับฮีโมโกลบินของกลุ่มตัวอย่างทั้งก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมไม่มีความแตกต่างทางสถิติ แต่เมื่อพิจารณาในกลุ่มตัวอย่างที่มีภาวะโลหิตจาง จำนวน 49 คน พบว่าเพศหญิงมีระดับฮีโมโกลบินแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -2.09, p < .05) และเมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยพบว่าระดับฮีโมโกลบินเพิ่มขึ้น แต่เพศชายไม่มีความแตกต่างทางสถิติ กลุ่มตัวอย่างมีระดับ เฟอริตินไม่ต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาแยกตามเพศ พบว่าเพศหญิงมีระดับเฟอริตินเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -2.91, p < .05) แต่เพศชายไม่มีความแตกต่างทางสถิติ
สรุปผล: การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารพื้นเมือง ร่วมกับผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงอย่างสม่ำเสมอ ช่วยแก้ปัญหาภาวะโลหิตจางได้
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Office of the national economic and social development Board. Elderly population 1990-2030 [Internet]. 2011 [cited 2019 Aug 7]; Available from: http://social. nesdb.go.th/SocialStat/StatReport_Final. aspx?reportid=192&template=2R1C&yeartype=M&subcatid=27.
Ministry of social development and human security. Situation the elderly Thailand [Internet]. 2005 [cited 2019 Aug 7]; Available from: https://www.msociety. go.th/article_attach/3680/4111.pdf.
Tiaotrakul N. Anemia in older adults. J Hematol Transfus. 2011;21(4):267-72.
Halawi R, Moukhadder H, Taher A. Anemia in the elderly: a consequence of aging?. Expert Rev Hematol. 2017;10(4) :327-35.
Praison P, Sareeso P, Aree P, Satheannoppakao W, Chaimin Y, Poolviwat P. Anaemia in elderly people in upper-northern Thailand. Thai Journal of Nursing Council. 2017;32(1):133-45. (in Thai).
Praison P, Sareeso P, Aree P, Satheannoppakao W, Chaimin Y, Poolviwat P. Northern native recipes with high iron and vitamin C for the elderly. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 2019;20(3):383-90. (in Thai).
Thongchim N. An implementation of nurse practitioner project management of rural older adults with anemia [Dissertation]. Nakhon Si Thammarat: Walailak University; 2008. (in Thai).
Nilmanat K, Naka K, Kong-in W, Sai-jew A, Chailungka P, Boonphadh P. Nutritional conditions of elderly people in the three southernmost border provinces. Thai Journal of Nursing Council. 2013;28(1): 75-84. (in Thai).
Shumway-Cook A, Brauer S, Woollacott M. Predicting the probability for falls in community-dwelling older adults using the Time Up & Go Test. Phys Ther. 2000;80 (9):896-903.
Pheankul K. Prevalence of anemia and factors leading to iron deficiency anemia among elderly at Meafaekmal sub-district, San Sai district, Chiang Mai Province [Dissertation]. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2002. (in Thai).
Chen Z, Thomson CA, Aickin M, Nicholas JS, Van WD, Lewis CE, et al. The relationship between incidence of fracture and anemia in older multiethnic women. J Am Geriatr Soc. 2010;58(12):2337-44.
Lopez CMJ, Zamora PS, Lopez MA, Marin JF, Zamora S, Perez LF. Dietary intake and iron status of institutionalized elderly people: relationship with different factors. J Nutr Health Aging. 2010;14(10) :816-21.
Alwar V, Reethi K, Rameshkumar K. Geriatric anemia: An Indian perspective. Indian J Hematol Blood Transfus. 2011; 27(1):26-32.
Sareeso P. Anemia in older people: An often overlooked problem. Thai Journal of Nursing. 2012;27(4):5-15. (in Thai).
Patel KV. Epidemiology of anemia in older adults. Semin Hematol. 2008;45(4):210-7.
Stauder R., Valent P., & Theurl I. Anemia at older age: etiology, clinical implication and management. Blood. 2018;131(5):505-14.
Malouf R, Sastre AA. Vitamin B12 for cognition [Internet]. 2009 [cited 2019 Aug 7]; Available from: http://www.The cochran elibrary.com.
Sabol VK, Resnick B, Galik E, Baldini AG, Morton PG, Hicks GE. Anemia and it impact on function in nursing home residents: What do we know. J Am Acad Nurse Pract. 2010;22:3-16.
Kito A, Imai E. The association with dietary patterns and risk of anemia in Japanese elderly. J Nutr Sci Vitaminol (Tokyo). 2020;66(1):32-40.
Bianchi VE. Role of nutrition on anemia in elderly. Clin Nutr ESPEN. 2016;11:e1-11.