การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุ และฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชุมพร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ การพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน มีความเร่งด่วน ดังนั้นพยาบาลจะต้องมีสมรรถนะเฉพาะในการปฏิบัติงาน
วัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชุมพร 9 แห่ง รวม 93 คน 2) สร้างโปรแกรม และ3) ประเมินผลการนำโปรแกรมไปใช้
วิธีการวิจัย การวิจัยและพัฒนานี้แบ่งเป็น 3 ระยะตามวัตถุประสงค์ กลุ่มตัวอย่างระยะที่ 3 เลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ พยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดชุมพร 16 คน โดยประเมินตนเอง ประเมินโดยแพทย์และหัวหน้างาน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบประเมินสมรรถนะหลักและสมรรถนะเฉพาะงาน ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .97 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 เครื่องมือที่ใช้ในระยะที่ 1 กับระยะที่ 3 เป็นชุดเดียวกัน วิเคราะห์ข้อมูลระยะที่ 1 ใช้สถิติเชิงพรรณนา ระยะที่ 3 ใช้สถิติเหมือนระยะที่1 และทดสอบ โดยใช้สถิติทีคู่ และทดสอบความเชื่อมั่นระหว่างผู้ประเมิน
ผลการวิจัยพบว่า จากการประเมินตนเองของพยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมชน ทั้ง 9 แห่ง มีสมรรถนะสูงทั้ง 2 สมรรถนะ (= 4.08, SD =0.79) และ (=4.20, SD =0.84) และผลของการนำโปรแกรมไปใช้ พบว่า หลังเข้าโปรแกรมมีสมรรถนะสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และผลประเมินโดยแพทย์และหัวหน้างาน พบว่า ทั้ง 2 สมรรถนะของพยาบาลหลังเข้าโปรแกรมสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีค่าความสอดคล้องภายในก่อนและหลังเข้าโปรแกรม ทั้ง 2 สมรรถนะ มีค่าความเที่ยงระหว่างผู้ประเมิน เท่ากับ .75 และ .87
สรุปผล โปรแกรมที่สร้างสามารถเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชุมพรให้สูงขึ้นได้อีก
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Office of Permanent Secretary Medical department. Ministry of Public Health. Standard of care in hospital. (2nd edition) Nonthaburi: The war Veterans Organization of the Thailand; 2013. (in Thai).
Department of Medical Services, Ministry of Public Health. Guidline for ER service delivery. 2nd edition. Nonthaburi: Printing house Samchai 2017; 2018. (in Thai).
Unhasuta K. Required competencies of accident nurses in caring for patients with accident problems. Thai Journal of Trauma. 2011;30.(2):73-7. (in Thai).
Nursing office. Ministry of Public Health. Guideline for the development of nursing service quality fo community hospitals that are considered general hospitals. 1st edition. Nonthaburi: Printing Sautawan Publishing; 2017. (in Thai).
National Institute of Emergency Medicine. Public Health Emergency Incident Command System: PHEICS. Nonthaburi: Medical and public health team: National Institute of Emergency Medical; 2016. (in Thai).
National Emergency Nurses Association. Emergency nursing core competencies. [Internet]. 2014 [cited 2018 Aug 14]; Available from: http://nena.ca/w/wpcontent/up loads/2014/11/NENA-CoreCompetencies.pdf.
Nursing Division office of the Permanent secretary. Guidelines for service: Service plan. Pathumthani: Sautawan publisher; 2018. (in Thai).
Benner P. From Novice to Expert. The Am J Nurs. 1982;82(3):402-7.
Lueluang W. Factors Influencing role practices of professional nurses at operating room in Regional hospitals, Northeast Region. [Thesis]. Khon khan: Khon khan University; 2012. (in Thai).
Gerdtz MF, Weiland TJ, Jelinek GA, Mackinlay C, Hill N. Perspectives of emergency department staff on the triage of mental health-related presentations: Implications for education, policy and practice. Emerg Med Australia. 2012; 24(5):492-500.
Somjai T. Relationships between personal factors, team work and effectiveness of paramedic team, community hospitals under jurisdiction of the Ministry of Public Health. [Thesis]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2009. (in Thai).
Kumkong M. The importance of a continued training program in order to maintain and improve the competencies of the emergency room. Nurses. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health. 2014;1(1): 77-84. (in Thai).
Vibulwong P. Competency evaluation of participants from the emergency nurses training program at Boromarajonani Collage of Nursing Bangkok. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok. 2017;33(2):135-45. (in Thai).
Chulyamitaporn R. The development of ethical decision making program for taking care of patients with the end of life by professional nurses at Phramongkutklao hospital. Journal of the Royal Thai Army Nurses. 2013;14(1):41-50. (in Thai).