การศึกษาความปลอดภัยและประสิทธิผลการรักษาผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน ด้วยการแพทย์แผนไทย ในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาความปลอดภัยในการรักษาผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินด้วยยาตำรับสมุนไพรเปรียบเทียบความรุนแรงของโรคและคุณภาพชีวิตก่อนและหลังการรักษาของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินด้วยการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
วิธีการวิจัย: เก็บข้อมูลย้อนหลังจากกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงตามลำดับผู้มารับบริการ ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสะเก็ดเงินหรือเรื้อนกวางและได้รับตำรับยาสมุนไพรของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ paired sample t-test
ผลการวิจัย: ผู้มารับบริการโรคสะเก็ดเงินที่ได้รับตำรับยาสมุนไพรเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง ส่วนใหญ่มีอายุช่วง > 40 - 60 ปี ระยะเวลาที่เป็นโรคสะเก็ดเงินพบมากที่สุดในช่วงเวลา 1 – 5 ปี และผู้มารับบริการการรักษาโรคสะเก็ดเงินที่ได้รับตำรับยาสมุนไพรหลังการรักษามีค่าคะแนนเฉลี่ยความรุนแรงของโรค (PASI) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (ก่อนการรักษาค่าเฉลี่ย = 5.41 หลังการรักษาค่าเฉลี่ย = 3.33) และค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิต (DLQI) ก่อนรักษาเท่ากับ 7.42 และหลังการรักษา 4.54 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยลดลงกว่าก่อนการรักษา และไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ในการใช้ยาสมุนไพร
สรุปผล: ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาแนวทางในการรักษาผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินให้มีความปลอดภัยและมีประสิทธิผลการรักษาที่ดี รวมถึงพัฒนาเป็นแนวเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินได้ในอนาคต
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Dorland WA. Dorland’s illustrated medical dictionary E-book 30th ed., Canada: W.B. Saunders; 2019.
World Health Organization. Global Report on Psoriasis [Internet]. 2016 [cited 2017 Jul 12]; Available from: http://www/who.int/about/ licensing/copyright_form/en/index. html.
Kunlavanit P, Phisarnbut P. Skin Disease in Modern Medicine Practice: Dermatology 2020. Bangkok: Holistic Publishing; 2012. (in Thai).
Nophakun N, Timphathanaphong P, Sinthuphak W, Watthanakrai P, Akaraphan R, Sutthiphaisan N, et al. Clinical Practice Guideline for Psoriasis. [Internet]. 2016 [cited 2017 July 12]; Available from: http://www.dst.or.th/files_news/Psoriasis_ 2010.pdf. (in Thai).
Wat Po Thai Traditional School, Thai medicinal recipes on Wat Phra Chettuphon Wimon Mangkhalaram’s stone inscriptions; 2558. (in Thai).
Swaddichai C, Sookpaisal W, Chaicharoen pong K, Sanguansap P, Limprapaipong T. The Result of Treatment Psoriatic Patients with Herbal Compounds in Prapokklao Hospital. Journal Prapokklao Hospital Clinical Medical Education Center. 2010;27 (4):249-255. (in Thai).
Sinjaru T. Research and statistical data analysis with SPSS. Bangkok: V inter Print; 2006. (in Thai).
Teoli M, Zangrilli A, Chimenti MS, Talamonti M, Bavetta M, Graceffa D, et al. Evaluation of Clinical and Ultrasonographic Parameters in Psoriatic Arthritis Patients Treated with Adalimumab: A Retrospective Study. Clin Dev Immunol. 2012;823-54.
Thai Rheumatism Association. Guideline for Management of Psoriatic Arthritis [Internet]. 2012 [cited 2017 July 15]; Available from: http://www.Thairheumatology.org/wp-content/ uploads/2016/08/Guideline-for-Management-of-Psor iatic-Arthritis.pdf.
Singh KK, Tripathy S. Natural Treatment Alternative for Psoriasis: A Review on Herbal Resources. Journal of Applied Pharmaceutical Science. 2014;4(11):114-21.
Deng J, Yao D, Lu C, Wen Z, Yan Y, He Z, et al. Oral Chinese herbal medicine for psoriasis vulgaris: protocol for a randomized, double-blind, double-dummy, multicenter clinical trial. BMI Open. 2017;7(11):1-6.
Huang X, Zhang L, Bie X. Traditional Chinese medicine for the treatmemt of psoriasis vulgaris: A systematic review. Afr J Microbiol Res. 2012;6(43):7040-47.
Vijayalakshmi A, Ruvichandiran V, Velraj M, Nirmala S, Male A, Jayakumari S, et al. Anti-Psoriatic activity of smilax china linn. Rhizome. Indian Journal of Pharma Educaand Res. 2013;47(1):82-9.
Yang L, Zhang SC, May B, Yu J, Guo X, Zhang LA, et al. Efficacy of combining oral Chinese herbal medicine and NB-UVB in treating psoriasis vulgaris: a systematic review and meta-analysis. Chin Med. 2015;10:27.
Lerdwiriyajitt B, editors. Thai Traditional Medicine: Psoriasis Treatment [Internet]. 2012 [cited 2017 Jul 15]; Available from: http://www.ssruir.ssru.ac.th/bitstream/ssruir/670/1/109-55.pdf. (in Thai).