การเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียน ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ: การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพและพฤติกรรมการบริโภคอาหารมีผลต่อคุณภาพชีวิตเด็กวัยเรียนในชุมชนและให้เป็นไปแผนบูรณาการการพัฒนาศักยภาพคนตามช่วงวัยในปี พ.ศ. 2561 ของกระทรวงสาธารณสุข
วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพและพฤติกรรมบริโภคอาหารของนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจังหวัดแม่ฮ่องสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 วิธีการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลองแบบ 1 กลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กวัยเรียนได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 275 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคเท่ากับ .98 และ .78 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา หาจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติเชิงอนุมาน paired sample t-test เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อน-หลังการทดลอง
ผลการวิจัย: คะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมสุขภาพ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารหลังการทดลอง ( = 112.88 คะแนน SD = 11.75 และ = 68.36 คะแนน SD = 8.62) สูงกว่าก่อนการทดลอง ( = 108.84 คะแนน SD = 13.47 และ = 64.97 คะแนน SD = 8.54) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 4.152 และ t = 5.060, p <.001)
สรุปผล: โปรแกรมเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียนส่งผลให้พฤติกรรมของเด็กวัยเรียนดีขึ้นได้
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
1. Ekpachara V, PartCharoen H, Thaikao K and Steannopkao W. Behavioral Health. In: Ekpachara V, editor. Health Survey physical examination by the Thailand 5th 2015. 1st. Bangkok: Graphic and Design Font Publisher;2015. p.45-191. (in Thai).
2. Ekpachara V, Moonsuwan L, RueangDarakan N and Pakcharoen H . Food habits and health behaviors of children. In: Ekpachara V, editor. The report explores public health by physical examination Thailand 5th 2015. 1st. Bangkok: Graphic and Design Font Publisher;2015. p.41-97. (in Thai).
3. Department of Health. Integrated plan to develop a range of ages in the year 2018. Nonthaburi: Ministry of Health; 2018. (in Thai).
4. Department of Disease Control Ministry of Health. Guidelines for the prevention and control of tuberculosis and communicable diseases common in schools. 1st. Bangkok: Art Qualys Graphite Limited; 2018. (in Thai).
5. Srisai S. Statistics for Social Science Research Bangkok: Chulalongkorn University; 2015. (in Thai).
6. Jumnongpheng J, Kornbut J and Buaboon N. The effect of a weight control program on food consumption behavior Physical activity and body weight behavior among overweight school-aged children. Journal of Health Science. 2562;13(1):1-10. (in Thai).
7. Jamjumpa A and Bunchornthapakit. The results of the program to promote the consumption habits and physical activity for Miami to prevent overload of students Nongbualumpu. Journal of Health Education. 2560;40(2): 36-50. (in Thai).
8. Pattharaphakinworakun A. The effect of a food consumption behavior promoting program in prathom suksa 4 - 6 students with overweight status. Journal of Science and Technology. 2561;7(2):41-53. (in Thai).