ผลของการใช้กระบวนการพยาบาลที่มีต่อ พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพและการหายของผู้ป่วยวัณโรค
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่มีการแพร่กระจายเชื้ออย่างรวดเร็ว กระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดเป้าหมายให้เพิ่มอัตราการหายไม่น้อยกว่าร้อยละ 90.00 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม เพื่อศึกษาผลของกระบวนการพยาบาลร่วมกับการรักษาวัณโรคตามปกติ ต่อการประเมินพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ และการหายของโรค กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยวัณโรคที่มารักษาที่คลินิควัณโรค โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี จำนวน 40 คนโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 20 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 20 คน โดยที่กลุ่มทดลองได้รับกระบวนการพยาบาลร่วมกับการรักษาวัณโรคตามปกติ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการบริการรักษาวัณโรคตามปกติ ซึ่งกระบวนการพยาบาล ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ การประเมินภาวะสุขภาพ การวินิจฉัยการพยาบาล การวางแผนการพยาบาล การใช้แผนการพยาบาล และการประเมินผลการพยาบาล เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิลคอกซัน แมนท์วิทนีย์ และไคสแควร์
ผลการวิจัยพบว่า คะแนนพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพรายด้านและโดยรวมของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อนทดลอง ไม่พบความแตกต่างกัน ภายหลังการได้รับกระบวนการพยาบาล คะแนนพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพรายด้านและโดยรวมของกลุ่มทดลอง มากกว่า กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) กลุ่มทดลองมีการรักษาหายของวัณโรคร้อยละ 100.00 กลุ่มควบคุมมีการหายของโรค ร้อยละ 30.00 การหายของโรคของทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p = .001, X2= .734
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
2.Bureau of Epidemiology, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Annual report: Disease surveillance 2011. Bangkok: WVO Office of Printing Mill; 2012. (in Thai).
3.Bureau of Tuberculosis. National Strategic Plan for Tuberculosis 2017-2021. Nonthaburi: Department of Disease Control, Ministry of Public Health, 2017. (in Thai).
4.Strategic and Evaluation Section. Situation of Tuberculosis in Thailand. Nonthaburi: Bureau of Tuberculosis, Department of Disease Control, Ministry of Public Health, 2017. (in Thai).
5.Pukdeebureekul K. Promoting health behaviors of families with pulmonary tuberculosis clients through family nursing process District Muang, Loie Province [Thesis]. Khon Kaen: Faculty of Nursing, Khon Kaen University; 2011.
6.Usangthong W, Vorapongsathorn S. Health promotion behaviors of tuberculosis patients: at the Central Chest Institute of Thailand, Nonthaburi Province. Chest Disease Institute Journal. 2016;13(3):16-27. (in Thai).
7.Achananupab S. General medical treatment book part 2: 350 disease with care and prevention. 4th ed. Bangkok: Holistic Publishing; 2010. (in Thai).
8.Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MA. Health promotion in nursing practice. 6th ed. Boston, MA: Pearson; 2010.
9.Punthasee P. Nursing process & functional health pattern: Application in clinical practice. Bangkok: Pimangsorn; 2011. (in Thai).
10.Harnyoot O. Nursing process and implications. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 2014;15(3):137-43. (in Thai).
11.Rattanavichakul C. The relationship between sense of coherence and health behavior among tuberculosis patient. Nakhon Pathom: Faculty of Nursing, Christian University of Thailand; 2011. (in Thai).
12.Kilicaslan Z, Kiyan E, Kucuk C, Kumbetli S, Sarimurat N, Ozturk F, et al. Risk of active tuberculosis in adult household contacts of smear-positive pulmonary tuberculosis cases. Int J Tuberc Lung Dis. 2009;13(1):93-8.
13. Wilainate T. Variables discriminating the groups of completed and not-completed TB treatment among smear-positive TB patients [Thesis]. Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani Rajabhat University; 2011. (in Thai).
14.Hamid Salim MA, Uplekar M, Daru P, Aung M, Declercq E, Lönnroth K. Turning liabilities into resources: Informal village doctors and tuberculosis control in Bangladesh. Bull World Health Organ. 2006;84(6):479-84.
15.Plubplatong T. Self-care experience in successful treatment of aging tuberculosis patients. Phitsanulok: Faculty of Nursing, Naresuan University; 2012.