การสร้างเครื่องมือวัดพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางอย่างปลอดภัยสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

ศิวรา เธียระวิบูลย์
กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างเครื่องมือวัดพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางอย่างปลอดภัยสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างสำหรับทดลองใช้เพื่อหาความเชื่อมั่นของเครื่องมือเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  จำนวน 100 คน สุ่มอย่างง่าย และกลุ่มตัวอย่างสำหรับวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 500 คน สุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ความตรงเชิงโครงสร้าง ความเชื่อมั่น และค่าอำนาจจำแนกรายข้อ             


ผลการวิจัยพบว่า เครื่องมือวัดพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางอย่างปลอดภัยสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นแบบสอบถาม จำนวน 29 ข้อ รวม 4 ด้านคือ 1) การอ่านฉลาก 8 ข้อ       2) การใช้ข้อมูลบนฉลาก 9 ข้อ 3) การตรวจสอบสื่อโฆษณา 3 ข้อ  และ 4) การสังเกตอาการผิดปกติจากการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง 9 ข้อ ผลการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ พบว่ามีความตรงเชิงเนื้อหา  IOC อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 ความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.94  อำนาจจำแนกรายข้อมีค่า t-test อยู่ระหว่าง  3.93- 9.56 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (gif.latex?\fn_cm&space;\chi2= 2.419, df = 1, p = 0.119, CFI = 0.996, TLI = 0.973, RMSEA = 0.053, SRMR = 0.012) เครื่องมือที่ได้จากการวิจัยนี้ผู้เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ได้ตามบริบทที่สอดคล้อง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1.Nantasuthiwaree W. Communications strategy of cosmetic products through net idols on social media and Thai female teenagers’ buying decision. [Thesis]. Bangkok: Bangkok University; 2016. (in Thai).

2. Elghblawi E. It must be true: accept your color, stop hunting for skin whitening, black is beautiful. Middle East Journal of Internal Medicine. 2016;9(1):17-26.

3. Jumnagpol P. A case study of “Do it yourself cosmetics” usage behavior among students in Phetchaburi Province. FDA Journal. 2014;21(3): 31-7. (in Thai).

4. Cosmetics Act 2015. Royal Thai Government Gazette. 2015;132,Part 86A:5-11. (Sep 8, 2015). (in Thai).

5. World Health Organization. Mercury in skin lightening products [Internet]. 2015 [cited 2015 Apr 22]; Available from: http:// www. who. int/ipcs/assessment/public_health/mercury_flyer.pdf

6. Mansor N, Ali DEM, Yaacob MR. Cosmetic usage in Malaysia: understanding of the major determinants affecting the users. International Journal of Business and Social Science. 2010;1(3):273-81.

7. Street JC, Gaska K, Lewis KM, Wilson ML. Skin bleaching: A neglected form of injury and threat to global skin. African Safety Promotion Journal. 2014;12(1):52-71.

8. Paiboonsrinakra N, Klinsoonthorn N, Putkam B. Prohibited substances in cream cosmetic: Clobetasol propionate. FDA Journal. 2014;21(3):18-23. (in Thai).

9. Kaemkate W. Research methodology in behavioral sciences. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House; 2012. (in Thai).

10. Tirakanant S. Research methods in social science: A practical approach. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House; 2014. (in Thai).

11. Fongsri P. Construction and development for research tool. Bangkok: Dansutra Printing; 2014. (in Thai).

12. Angsuchoti S, Wijitwanna S, Pinyopanuwat R. Statistical analysis for social and behavioral science: tecnique for LISREL. Bangkok: Mission Media; 2008. (in Thai).

13. Comrey AL, Lee HB. A first course in factor analysis. 2nd ed. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates; 1992.

14. Kongwong R, Wattananamkul V. A study of “harmful cosmetics” usage behavior among female teenagers in Ubon Ratchathani Province. Isarn Journal of Pharmaceutical Sciences. 2011;7(1):76-87. (in Thai).