การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของตัวทำละลายในการสกัด ใบเทียนกิ่งสดต่อการติดสีปอยผมหงอก
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผลิตภัณฑ์ย้อมสีผมส่วนใหญ่ประกอบด้วยสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ด้วยเหตุนี้ สีย้อมผมจากธรรมชาติจึงได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะสีย้อมจากเฮนน่าหรือใบเทียนกิ่ง (Lawsonia inermis L.) อย่างไรก็ตาม การย้อมผมด้วยใบเทียนกิ่งมีกระบวนการเตรียมหลายขั้นตอน ใช้เวลานาน และสีจางลงง่ายหลังสระ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาตัวทำละลายในการสกัดใบเทียนกิ่งสดที่ให้ประสิทธิผลในการติดสีและมีความคงทนหลังถูกชำระล้างสีมากที่สุด โดยเลือกใช้ตัวทำละลายที่หาง่าย ได้แก่ น้ำร้อน สุราขาว 40 ดีกรี น้ำมะนาวผสมน้ำต้มสุก และน้ำปูนใส วิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความเข้มสีด้วยสถิติแบบ One-way ANOVA, Repeated Measures ANOVA และอภิปรายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า ตัวทำละลายที่ให้ประสิทธิผลในการติดสีดีที่สุด คือ น้ำร้อน ซึ่งแตกต่างจากตัวทำละลายชนิดอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) รองลงมาคือ น้ำมะนาวผสมน้ำต้มสุก สุราขาว 40 ดีกรี และน้ำปูนใส ตามลำดับ โดยความเข้มของสีแปรผันตรงกับเวลาในการแช่ปอยผม สำหรับความคงทนต่อการติดสี พบว่า ตัวทำละลายน้ำร้อน น้ำมะนาวผสมน้ำต้มสุก และสุราขาว 40 ดีกรี มีประสิทธิผลใกล้เคียงกัน คือ มีความเข้มสีที่คงอยู่ร้อยละ 79.21 78.87 และ 75.76 ตามลำดับ ส่วนน้ำปูนใส เหลือเพียงร้อยละ 67.51
การย้อมสีผมด้วยใบเทียนกิ่งสดโดยใช้น้ำร้อนเป็นตัวทำละลาย ให้ประสิทธิผลในการติดสีและมีความคงทนมากที่สุด สามารถนำไปย้อมสีผมได้จริง เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก และมีประสิทธิผล
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
2.Zhang Y, Kim C, Zheng T. Hair dye use and risk of human cancer. Front Biosci (Elite Ed). 2012;4:516-28.
3.Badoni Semwal R, Semwal DK, Combrinck S, Cartwright-Jones C, Viljoen A. Lawsonia inermis L. (henna): Ethnobotanical, phytochemical and pharmacological aspects. J Ethnopharmacol. 2014;155(1):80-103.
4. Singh DK, Luqman S, Mathur AK. Lawsonia inermis L. - A commercially important primaeval dying and medicinal plant with diverse pharmacological activity: A review. Ind Crop Prod. 2015;65:269-86.
5. Pradhan R, Dandawate P, Vyas A, Padhye S, Biersack B, Schobert R, et al. From body art to anticancer activities: Perspectives on medicinal properties of henna. Curr Drug Targets. 2012;13(14):1777-98.
6. Saengchantara ST. Hair dyes. Journal of Department of Science Service, Ministry of Science and Technology. 1989;37(120):7-12. (in Thai).
7. Amro BIH, James KC, Turner TD. A quantitative study of dyeing with lawsone. J Soc Cosmet Chem. 1994;45(3):159-65.
8. Patel MM, Solanki BR, Gurav NC, Patel PH, Verma SS. Method development for lawsone estimation in Trichup herbal hair powder by high-performance thin layer chromatography. J Adv Pharm Technol Res. 2013;4(3):160-5.
9. Dilokkunanant U, Kongkathip N, Buabarn S, Narkkong NA, Keaunquab N. A study on staining ability of Henna (Lawsonia inermis Linn.) leaf extracts on hair. The 39th Kasetsart University Annual Conference. 5th-7th February 2001; Thailand. Bangkok; p. 141-6. (in Thai).
10. Chaipradit K, Preeprame S, Naulkaew S. A comparative study of blue pea extract gel and CRC extract gel in the hair pieces of gray-hair. The 4th Annual Northeast Pharmacy Research Conference of 2012 “Pharmacy Profession in Harmony”. 11th-12th February 2012; Faculty of Pharmaceutical Sciences, Khon Kaen University, Thailand. Khon Kaen; p. 226-31. (in Thai).
11. Kasikun P. Dye substantivity factors on nail of Henna leave (Lawsonia inermis L.) extract [Thesis]. Chiang Rai: Mae Fah Luang University; 2012. (in Thai).
12. Sopautok K, Prommajan R, Chaiburee S. Investigation on hair dying efficiency of herbal extracts [Thesis]. Ubonratchathani: Ubonratchathani Rajabhat University; 2015. (in Thai).
13. Teansuwan N, Sripanidkulchai B, Jaipakdee N. Effect of four herb extracts on melanin synthesis. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences. 2016;11 Suppl:33-42. (in Thai).
14.Joshi KC, Singh P, Singh G. Juglone and lawsone as acid-base indicators. Z Naturforsch B. 1977;32(8): 890-2.
15.Gallo FR, Multari G, Palazzino G, Pagliuca G, Zadeh SMM, Biapa PCN, et al. Henna through the centuries: a quick HPTLC analysis proposal to check henna identity. Rev Bras Farmacogn. 2014;24(2):133-40.