ผลของโปรแกรมควบคุมน้ำหนักต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกาย และน้ำหนักตัวของเด็กวัยเรียนตอนปลายที่มีภาวะน้ำหนักเกิน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ภาวะน้ำหนักเกินในกลุ่มเด็กวัยเรียนเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญทั่วโลก การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การบริโภคอาหาร การมีกิจกรรมทางกาย รวมทั้งควบคุมน้ำหนักในเด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกินเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องแก้ไข การวิจัยครั้งนี้ เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมควบคุมน้ำหนักต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกาย และน้ำหนักตัวในเด็กวัยเรียนตอนปลายที่มีภาวะน้ำหนักเกิน โดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กวัยเรียนตอนปลายที่มีภาวะน้ำหนักเกิน อายุ 10-12 ปี และผู้ปกครอง จำนวน 54 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามกณฑ์คุณสมบัติเและสุ่มอย่างง่าย เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 27 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมควบคุมน้ำหนัก เป็นระยะเวลา 13 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือโปรแกรมควบคุมน้ำหนักในเด็กวัยเรียนตอนปลายที่มีภาวะโภชนาการเกิน และแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหารและพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) และมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมควบคุมน้ำหนักสามารถปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มตัวอย่างได้ จึงควรนำโปรแกรมควบคุมน้ำหนักไปใช้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เกิดผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ดี
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
2. Yaemmen P, Duangsong R. The effects of health promotion program by application of health belief model and social support on behavioral modification for weight control among overweight students at level 5 of primary school, Muang District, Phitsanulok Province. KKU Research Journal (Graduate Studies). 2012;12(1):57-67. (in Thai).
3. Kulrin N. Factors affecting over nutritional Status in 6th grade school children in Anuban Uttaradit School, Uttaradit Province [Thesis]. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2012. (in Thai).
4. Kitchanapaibul S, Klunklin S, Klunklin A. The effectiveness of a health education program by applying the self-efficacy theory on eating behavior of late primary school students with overweight condition at the basic education expansion in Chiang Kham, Phayao Province. Nursing Journal. 2013;40(2):77-87. (in Thai).
5. Kaewtes V, Lapvongwatana P, Vatanasomboon P. Effects of dietary and physical activity behaviors promotion program for overweight students in Bangkok Metropolitan school. Journal of Public Health. 2013;43(1):94-107. (in Thai).
6. Tuntiakarat S, Thongbai W, Takviriyanum N. The effectiveness of obesity prevention program on eating and physical activity behaviors among overweight school-age children. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok. 2015;31(3):47-61. (in Thai).
7. Chaisri J, Klungtumneim K, Buajarean H. Clinical nursing practice guideline for management of obesity in children: The synthesis of thesis. Journal of The Royal Thai Army Nurse. 2014;15(2):360-7. (in Thai).
8. Yaemsange J, Phumprawaithya A, Sarakshetrin A. Effects of the empowerment program on behavior modification regarding exercise and food consumption among obese students in Suratthani Province. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health. 2015;2(2):41-52. (in Thai).
9. Rosenstock IM, Strecher VJ, Becker MH. Social learning theory and the health belief model. Health Educ Q. 1988;15(2):175-83.
10. Lally P, van Jaarsveld CHM, Potts HWW, Wardle J. How are habits formed: Modeling habit formation in the real world. Eur J Soc Psychol. 2010; 40 (6) : 998-1009.