การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการปัญหาการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่น Community Involvement in Dealing with Unwanted Teenage Pregnancies

Main Article Content

กัลปังหา โชสิวสกุล โชสิวสกุล
พระครูใบฎีกาทรงพล ชยนนฺโท
ทองใบ เครือคำ
ภรธิดา เวียงสงค
ว่าที่ร้อยตรีวัชรินทร์ เทพานนท์.

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและผลของการมีส่วนร่วมของ
ชุมชนในการจัดการปัญหาการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่น การดำเนินงานมี 3 ระยะ คือระยะที่ 1 เตรียมความพร้อม
การเลือกพื้นที่ สร้างความสัมพันธ์กับชุมชน วางแผนกับทีมงาน ศึกษาบริบทของชุมชน สร้างเครือข่ายและศึกษาข้อมูล
สถานการณ์ปัญหาและความต้องการแก้ไขปัญหา ระยะที่ 2 ระยะดำเนินงานการวางแผนปฏิบัติการ ประกอบด้วย การเสริม
สร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว เสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมแก่วัยรุ่น การเรียนรู้ปรับตัวเข้าสู่วัยรุ่น การรวมกลุ่ม
ของผู้นำชุมชนทำหน้าที่สอดส่องดูแลพฤติกรรมของวัยรุ่น และจัดเวทีสมัชชาสุขภาพประเด็นการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม ระยะที่ 3 การประเมินผลการดำเนินงาน ผู้วิจัยได้ทำหน้าที่บทบาทพยาบาลชุมชนด้านการสื่อสาร การสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน การประสานความร่วมมือกับสมาชิกเพื่อสร้างหุ้นส่วนในการทำงาน
ผลการวิจัย ดำนินงานทั้ง 3 ระยะได้รับการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน การเมืองท้องถิ่น ภาครัฐและภาคประชาชนที ่ร่วมแรงร่วมใจดำเนินงาน มีแผนการดำเนินงานของชุมชน แผนงานของท้องถิ ่นในการสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว มีการ
สอดส่องดูแลพฤติกรรมของเยาวชนในชุมชน การสนับสนุนการสอนเรื่องเพศศึกษาในนักเรียน ผลการดำเนินงานทำให้จำนวน
ตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่นลดลงจากปี พ.ศ.2552 มีจำนวน 11 ราย ในปี พ.ศ.2554 ลดลงเหลือจำนวน 6 ราย คิดเป็น
ร้อยละ 68
ผลการวิจัยครั ้งนี ้สรุปได้ว่า การจัดการปัญหาของชุมชนชนควรได้รับการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน พยาบาลชุมชนเป็น
ผู้ที ่มีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานร่วมกับชุมชนด้วยการสร้างสัมพันธภาพ ประสานความร่วมมือ สร้างหุ้นส่วนในการทำงาน
การเสริมพลังอำนาจ และมีทักษะการสื่อสารที่ดี
คำสำคัญ: การมีส่วนร่วมของชุมชน/การจัดการ/การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ