การบริหารเชิงกลยุทธ์ของหอผู้ป่วย โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
Main Article Content
บทคัดย่อ
หอผู้ป่วยเป็นหน่วยปฏิบัติ ที่ต้องมีการบริหารกลยุทธ์สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กรการพยาบาล งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวแปรการบริหารเชิงกลยุทธ์ของหอผู้ป่วย โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นวิจัยแบบบรรยาย โดยการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล คือ หัวหน้าหอผู้ป่วยที่มีประสบการณ์ตรงในการบริหารเชิงกลยุทธ์ของหอผู้ป่วย โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 4 ราย และวิเคราะห์เนื้อหา นำข้อค้นพบไปพัฒนาแบบสอบถามการวิจัยในระยะวิจัยเชิงปริมาณ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ได้ค่า CVI 0.84 และค่าความเชื่อมั่น .87 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นหัวหน้าหอผู้ป่วยตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 351 ราย และนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
ผลการวิจัย พบว่า การบริหารเชิงกลยุทธ์ของหอผู้ป่วย โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มี 6 องค์ประกอบ 32 ตัวแปร ดังนี้ 1) การเตรียมบุคลากรในการบริหารเชิงกลยุทธ์ของหอผู้ป่วยมี 3 ตัวแปร 2) การกำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายของหอผู้ป่วย มี 5 ตัวแปร 3) การกำหนดแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการประจำปีของหอผู้ป่วย มี 6 ตัวแปร 4) การสร้างแรงจูงใจของบุคลากร มี 4 ตัวแปร 5) การนำแผนปฏิบัติการประจำปีไปปฏิบัติและการประเมินผลแผนปฏิบัติการประจำปีของหอผู้ป่วย มี 10 ตัวแปร และ 6) การประเมินผลแผนกลยุทธ์ของหอผู้ป่วย มี 4 ตัวแปร ผลการวิจัยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารหอผู้ป่วย และฝึกอบรมให้ความรู้พยาบาลวิชาชีพเรื่องการบริหารเชิงกลยุทธ์ของหอผู้ป่วย
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
2.Planning Division, Department of Health Service Support, Ministry of Health. Documentation for the regional health service development [Internet]. 2012 [cited 2015 Sep 28]; Available from: http://hss.moph. go.th/fileupload_doc_slider/2016-12-22--569.pdf (in Thai).
3.Strategic management committee. Strategic and action plan of nursing organization and patient unit. Phraphutthabat, Saraburi: Nursing organization; 2014. Annual report 2014. Nursing organization, Phraphutthabat hospital. (in Thai).
4.Vorahan W. Strategic management in nursing. Journal of Nurses’ Association of Thailand, North-Eastern Division. 2013;31(4):6-15. (in Thai).
5.Podhisita C. Science and art of qualitative research. 5thed. Bangkok: Amarin Printing & Publishing; 2011. (in Thai).
6.Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educ Psychol Meas. 1970;30(3): 607-10.
7.Gupta KK, Attri JP, Singh A, Kaur H, Kaur G. Basic concepts for sample size calculation: Critical step for any clinical trials. Saudi J Anaesth. 2016;10(3):328–31.
8.Comrey AL, Lee HB. A first course in factor analysis. 2nded. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Inc.; 1992.
9.Burns N, Grove SK. Practice of nursing research: Conduct, critique and utilization. 4thed. Philadelphia: W.B. Saunders; 2001.
10.Byrne. B. M. Structural Equation Modelling with AMOS: Basic Concepts, Applications, and Programming. Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Inc.; 2001.
11. Hair JF, Black WC, Babin BJ, Anderson RE. Multivariate Data Analysis. 7th ed. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall; 2010.
12.Kaplan RS, Norton DP. The strategy-focused organization: How balanced scorecard companies thrive in the new business environment. Boston, MA: Havard Business School Press; 2000.
13. Daft RL. Management. 10thed. Mason, Ohio: South-Western College Publishing; 2011.