ประสิทธิผลการรักษาด้วยวิธีผสมผสานการนวดไทยร่วมกับการใช้ยาแผนปัจจุบัน ในผู้ป่วยปวดศีรษะไมเกรนชนิดมีและไม่มีอาการเตือน

Main Article Content

มกร ลิ้มอุดมพร
ผกากรอง ขวัญข้าว
บุญทำ กิจนิยม
ปวัชสรา คัมภีระธัม
นภัสชญา เกษรา
ชลาลัย โชคดีศรีจันทร์
สุฐิตา โอภาษี

บทคัดย่อ

ไมเกรนเป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะที่พบได้บ่อย  การรักษามักใช้ยาเป็นหลักซึ่งอาจเกิดอาการแทรกซ้อนได้ ในทางการแพทย์แผนไทยมีโรคที่มีอาการใกล้เคียงกับโรคไมเกรน ซึ่งรักษาด้วยการนวด จึงได้ทำการวิจัยเพื่อศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยในการรักษาด้วยวิธีผสมผสานการนวดไทยร่วมกับการใช้ยาในผู้ป่วยปวดศีรษะไมเกรนชนิดมีและไม่มีอาการเตือน เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ในผู้ป่วยที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร 91 ราย ในปี พ.ศ. 2555 -2560 และสุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ได้รับยาเพียงอย่างเดียว (42 คน) และกลุ่มที่ 2 ได้รับยาร่วมกับการนวด (นวดวันเว้นวัน) เป็นเวลา 7 วัน (49 คน)  เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่ากลุ่มที่ 2 มีอาการลดลงกว่ากลุ่มที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ในประเด็นดังนี้ 1) ระดับความเจ็บปวดลดลงในวันที่ 7  2) ความถี่ในการปวดต่อวันลดลงในวันที่ 2 และตั้งแต่วันที่ 4 เป็นต้นไป    3) จำนวนยาที่ใช้ลดลงตั้งแต่วันที่ 2 เป็นต้นไป และมีระดับความพึงพอใจที่มากกว่ากลุ่มที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ส่วนการเปรียบเทียบอาการปวดก่อนและหลังในกลุ่มที่ 2 พบว่า มีระดับความปวดลดลงตั้งแต่วันที่ 3 เป็นต้นไป ความถี่ในการปวด และจำนวนการใช้ยาลดลงตั้งแต่วันที่ 4 เป็นต้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) สรุปได้ว่าการรักษาผสมผสานมีผลลดความถี่ในการปวด และการใช้ยา จึงควรส่งเสริมให้เกิดการรักษาแบบผสมผสาน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1.Wang SJ, Chung CS, Chankrachang S, Ravishankar K, Merican JS, Salazar G, et al. Migraine disability awareness campaign in Asia: migraine assessment for prophylaxis. Headache. 2008;48(9):1356-65.

2.Phanthumchinda K, Kamolratanakul P. Prevalence of primary headache in central region of Thailand: a cross-sectional survey. Bulletin Neurological Society of Thailand. 2000;16 Suppl 1:12-3. (in Thai).

3.Ashanuphap S. General diagnosis textbook. 4thed. Bangkok: Holistic Publishing; 2008. (in Thai).

4.Saewikul R. Migraine [Internet]. 2010 [cited 2012 Jan 10]; Available from: http://www.si.mahidol.ac.th/ sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=105. (in Thai).

5.Schuurmans A, van Weel C. Pharmacologic treatment of migraine. Comparison of guidelines. Can Fam Physician. 2005;51:838-43.

6.Kruapanich C, Chatchawan U, Eungpinichpong W, Kongbunkiat K. The immediate effects of traditional Thai massage for reducing pain on patients related with episodic tension-type headache. Journal of Medical Technology and Physical Therapy. 2011;23(1):57-70. (in Thai).

7.Committee on Development of Traditional Thai Medicine Practices in Public Health Facilities. Traditional Thai medicine practice in public health facilities. 2nded. Bangkok: The Institute of Thai Traditional Medicine, Department of Thai Traditional and Alternative Medicine, Ministry of Public Health; 2007. (in Thai).

8.Kaewsriya T. Effects of Thai traditional massage on migraine and pain frequency [Internet]. ปีค.ศ. [cited 2012 Jan 10]; Available from: http://www-old. dtam. moph.go.th/images/document/research-thai-treshing/ Thai/research-thai-threshing-0019. pdf. (in Thai).

9.Poonnotok R, Aeamla-or N, Jariyapayuklert K, Voramethkul N. Effect of massage on migraine headache and comfort of patients with migraine. Journal of Faculty of Nursing Burapha University. 2007;15(4):76-89.