ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง จังหวัดสมุทรปราการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้แนวทางการป้องกันโรคที่ดีคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจ และหลอดเลือดในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดตามเกณฑ์การคัดกรองของกระทรวงสาธารณสุข เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม จำนวน 220 คนเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square, Pearson’s product moment correlation coefficient และ Stepwise multiple regression analysis
ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดอยู่ในระดับปานกลางและระดับดีเท่ากัน ร้อยละ 49.09 (Mean = 45.00, SD = 5.65) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง ( p <.05) ได้แก่ เพศ (x2 = 9.804, p = .002 ) การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค (r = .226) การรับรู้ความคาดหวังประสิทธิภาพของพฤติกรรมป้องกันโรค (r = 0.313) และการรับรู้ความสามารถของตนเอง (r = .523) ส่วนปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูงได้นั้น คือ เพศ (β = 0.175, t =3.618, p <.001) และการรับรู้ความสามารถของตนเอง (β = 0.658, t = 13.587, p< .001) โดยทั้งสองตัวแปรสามารถพยากรณ์พฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้ร้อยละ 51.20 ( p<.05)
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
2.Bureau of Non Communicable Disease, Department of Disease Control, Ministry of Health. Number and rate of non-communicable disease patients in 2015 [Internet].
2016 [cited 2016 Jul10]; Available from: http://www.thaincd.com/2016/mission/documents.php?tid=32&gid=1-020. (in Thai).
3. Samutprakarn Provincial Health Office. Top five of mortality rate in non-communicable disease patients [Internet]. 2016 [cited 2016 Jul 10]; Available from: http://www.samutprakan.go.th/m_n3_6.php. (in Thai).
4. Bureau of Non Communicable Disease. Guidelines for assessment of cardiovascular. Bangkok: WVO Officer of Printing Mill; 2016. (in Thai).
5. Pichayapinyo P, Lagampan S, Sujirarat D, Kaewpan W. Factors associated with health behavior in diabetic patients with risk of cardiovascular disease [Internet]. 2016 [cited 2016 Jul 11]; Available from:http://kb.hsri. or.th/dspace/handle/11228/4386?show=full. (in Thai).
6.Buatee S, Siriwatanamethanon J, Sindhu S. Cardiovascular prevention behaviors among middle-aged women living in Banladsrabua Yangtalad District, Kalasin Province, Thailand. Journal of Nursing Science. 2012;30(2):58-69. (in Thai).
7. El-Mokadem NM. Health promoting lifestyle behavior among women at high risk cardiovascular disease. Med J Cairo Univ. 2013;81(1):83-8.
8. Maddux JE, Rogers RW. Protection motivation and self-efficacy: A revised theory of fear appeals and attitude change. J Exp Soc Psychol.1983;19(5):469-79.
9.Kijpredarborisuthi B. Social sciences research methodology. Bangkok: Chamchuri Product; 2008.(in Thai).
10.Sawasdiphab K. Factors affectingcardiovascular disease preventive behavior of the dyslipidemia people in Ubon Ratchathani Province. Journal of Graduate School, Pitchayatat, Ubon Ratchathani Rajabhat University. 2011;6(1):7-15. (in Thai).
11.Sutthipatthanangkoon C, Thato R. Factors predicting preventive behaviors for coronary disease among autonomous university staff in Bangkok. Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursing. 2017;28(2):111-25.(in Thai).
12.Uaphongsathon K. Health promotion behaviors for coronary heart disease prevention among people in Kaengkro District Chaiyaphum Province [Thesis]. Khon Kaen: Khon KaenUniversity; 2007. (in Thai).
13.Nicsnipa P. Factors affecting to the preventive coronary heart disease behaviors of the personnel in department of health service support Ministry of Public Health [Thesis]. Bangkok: Kasetsart University; 2006.(in Thai).
14.Laopilai P, Kanato M. Accessibility to medical care of disabled persons in upper Northeast of Thailand.Journal of Community Health Development Quarterly Khon Kaen University. 2016;4(1):95-112. (in Thai).
15.Sabzmakan L, Morowatisharifabad MA, Mohammadi E, Mazloomy-Mahmoodabad SS, Rabiei K, Naseri MH, et al. Behavioral determinants of cardiovascular diseases risk factors: A qualitative directed content analysis. ARYA Atheroscler. 2014;10(2):71-81.
16.Plotnikoff RC, Higginbotham N. Protection motivation theory and exercise behavior change for the prevention of heart disease in a high-risk, Australian representative community sample of adults. Psychology Health and Medicine. 2002;7(1):86-98.
17.Thimoonnee M, Preechawong S. Factors related to preventive behaviors for cardiovascular disease in premenopausal cleaning personnel. Kuakarun Journal of Nursing. 2016;23(1):118-32. (in Thai).
18.Chiou AF, Wang HL, Chan P, Ding YA, Hsu KL, Kao HL. Factors associated with behavior modification for cardiovascular risk factors in patients with coronary artery disease in northern Taiwan. J Nurs Res. 2009;17(3):221-30.