การประเมินความพึงพอใจต่อสื่อการตรวจสอบสุขภาวะระดับองค์กร The Satisfaction Evaluating of Happy Workplace Index (HWI) Media
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้สื่อการตรวจสอบสุขภาวะองค์กร และประเมินความพึงพอใจต่อการใช้สื่อให้เกิดการยอมรับ ตามแนวคิดการตรวจสอบสุขภาวะองค์กร กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 5 ท่านและผู้ทำงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น CEO, HR หรือหัวหน้างาน จำนวน 27 องค์กร องค์กรละ 2 คน รวม 54 คน พบว่า(1) สื่อมัลติมิเดีย VTR (ค่าเฉลี่ยผู้ทรงคุณวุฒิ = 4.36, ค่าเฉลี่ย HR = 3.79) เห็นลำดับขั้นตอนของการนำเสนอ มีความหลากหลายและนำไปสู่ตัวอย่างที่ดีในการปฏิบัติ เผยแพร่ได้ไวและกระตุ้นได้ดี มีข้อความสื่อที่ชัดเจน เนื้อหาครบถ้วน(2) คู่มือตรวจสอบสุขภาวะระดับองค์กร ทั้งฉบับภาษาไทย (ค่าเฉลี่ยผู้ทรงคุณวุฒิ = 4.35, ค่าเฉลี่ย HR = 3.81) และฉบับภาษาอังกฤษ (ค่าเฉลี่ยผู้ทรงคุณวุฒิ = 4.17) ใช้งานง่าย สะดวกเห็นเป็นรูปธรรม เข้าถึงได้ง่าย สะดวก ใช้งานง่าย ไม่จำกัดสถานที่ แต่ไม่สามารถแปลผลได้ทันที ต้องให้ข้อมูลหรืออธิบายจำนวนผู้ใช้งานภาษาอังกฤษยังมีน้อย ควรมีการทดลองใช้เพื่อประเมินปัญหาที่อาจพบได้ ซึ่งควร online เช่นเดียวกับภาคภาษาไทย (3) โปรแกรมการตรวจสอบสุขภาวะองค์กร(ค่าเฉลี่ยผู้ทรงคุณวุฒิ = 4.51, ค่าเฉลี่ย HR = 3.75) เผยแพร่ได้ไวและกระตุ้นได้ดี มีการทดลองใช้หลายครั้ง เห็นคะแนนของความสุของค์กรที่ชัดเจนแต่ยังต้องการคำอธิบายสำหรับผู้เริ่มต้นใช้ เข้าถึงยากในอุตสาหกรรมที่ไม่ได้ใช้อินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะ SME โดยสรุปนับว่าเป็นสื่อที่มีความน่าสนใจด้านของการนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาองค์กร เป็นการพัฒนาสื่อที่มีความน่าเชื่อถือ สื่อมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ สื่อสามารถดึงดูดความสนใจ แต่ด้านที่ต้องการการพัฒนาต่อไป คือ การพัฒนาสื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในองค์กร รวมถึงการนำสื่อไปเผยแพร่ให้ทั่วถึง กว้างขวาง เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของผู้ใช้สื่อ
Abstract
This research aimed to study the evaluation the Happy Workplace Index (HWI) media accordingto Company Happiness Check Approach. The questionnaire checklist 1-5 and interviews techniqueswith 7 specialists were applied to the evaluation procedure. Descriptive as Mean and content analysiswere performed by concept in 4 issues of Evaluation standards (Stufflebeam, 1981); Utility standards (U),Feasibility standards (F), Propriety standards (P), Accuracy standards (A) and the other issues such as the color,graphic, interesting and impression (O). The researchresults reports were as followed. Media 1 VTR –U = 4.47, F = 4.33, P = 4.13, A = 4.07, O = 4.80 andAll = 4.36. Media 2 Company Happiness CheckManual (Thai version) – U = 4.47, F = 4.27, P = 4.53,A = 4.60, O = 3.87 and All = 4.35. Media 3 CompanyHappiness Check Manual (English version) –U = 4.27, F = 4.07, P = 4.33, A = 4.53, O = 3.67 andAll = 4.17. Media 4 Company Happiness CheckProgram – U = 4.53, F = 4.53, P = 4.60, A = 4.47,O = 4.40 and All = 4.51. From the mean abovecould interpret in 5 levels followed; 1-1.80 = lowest,1.81-2.60 = low, 2.61-3.40 = medium, 3.41-4.20 = high,4.21-5.00 = highest. Almost of evaluation result gotthe highest level excepted the propriety standardsand accuracy standards of media 1, other issuesof media 2, and feasibility standards, other issuesand all of media 3 got high level. In the viewpointof strength, media 1 had diversity of good practicedin organization, media 2 easy accessing andcomfortable, media 3 easy accessing a worldwide,and media 4 easy accessing and clearing. On theother hand, the weakness of media 1 should havemany examples of the organization used to usethe HWI program, media 2 had to waste time forinterpretation, media 3 had only some organizationwould like to use English version, and media 4 difficultfor some organization don’t use internet such as SME.Research results can be applied to develop HappyWorkplace Index media in future research using othertypes of methodology such as the mixed-methodevaluation by using questionnaire and in-depth interviewwith the human resource staff in organization
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว