การทดสอบประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย เรื่อง “การพยาบาลโรคหัวใจในเด็ก” สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 The Effectiveness of Web-based Instruction “Heart Disease in Children” among Third Year Nursing Students
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายเรื่องการพยาบาลโรคหัวใจในเด็ก สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 โดยการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักศึกษากลุ่มที่เรียนด้วยการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายและกลุ่มที่เรียนแบบปกติ ผู้วิจัยได้พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายโดยผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 6 ท่าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้าเพชรบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553จำนวน 68 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่จัดการเรียนการสอนแบบปกติจำนวน 34 คน และกลุ่มทดลองที่มีการเรียนผ่านบทเรียนที่พัฒนาขึ้นจำนวน 34 คน การวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของบทเรียนตามหลัก 80/80การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียน และใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่าบทเรียนที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.32/82.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนที่สร้างขึ้นสูงกว่ากับนักศึกษาที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (Mean = 4.33, S.D. = .63)ผลการทดลองสรุปได้ว่าการเรียนการสอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายเป็นวิธีการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพจึงควรสนับสนุนให้มีการเรียนการสอนด้วยวิธีนี้อย่างแพร่หลาย
Abstract The study was designed as a quasi-experimental research aiming to study the effectiveness ofusing a web-based instruction (WBI) on the topic of “Nursing care of heart disease in children” among3rd year nursing students, by comparing academic achievement between two groups of nursing students.The WBI of selected topic was developed and reviewed by 6 experts. The subjects were 68 nursingstudents and divided into two groups. While a group of student were participate in WBI, the other groupwere educated as regular. Data were analyzed using the analysis of WBI’s effectiveness, independent ttestcomparison, and descriptive statistics. The findings revealed that the developed WBI had anefficiency of 86.32/82.67 which was higher than a standard level. There was a significant difference ofpost-test score between students with WBI and those with a regular teaching method (p < 0.05), and a
high level of satisfaction toward WBI (Mean = 4.33,S.D. = .63) was reported. It is concluded that WBIwas an effective teaching method so its utilizationshould be promoted.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว