ภาพลักษณ์พยาบาลเชิงวิชาชีพตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาล ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข Professional Nurse Image as Perceived by Nursing Students, Boromarajonani College of Nursing in Praboromarajchanok Institute, Ministry of Public Health

Main Article Content

ณัทกวี ศิริรัตน์
วิมล อ่อนเส็ง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบพรรณนาเชิงเปรียบเทียบ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาพลักษณ์และเปรียบเทียบภาพลักษณ์พยาบาลเชิงวิชาชีพที่เกิดขึ้นจริงในมุมมองของนักศึกษาพยาบาล ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1-4 โดยของวิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก 29 แห่ง จำนวน 380 คน โดยใช้สูตรของยามาเน่ (Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามภาพลักษณ์พยาบาลเชิงวิชาชีพที่เกิดขึ้นจริงและในอุดมคติ ตามแนวคิดภาพลักษณ์พยาบาลเชิงวิชาชีพของสตราเซน (Strasen, 1992) สร้างขึ้นโดยเรมวล นันท์ศุภวัฒน์ และอรอนงค์ วิชัยคำ (2549) มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบาค ภาพลักษณ์พยาบาลเชิงวิชาชีพตามคุณลักษณะที่เกิดขึ้นจริงเท่ากับ .93 และภาพลักษณ์พยาบาลเชิงวิชาชีพตามคุณลักษณะในอุดมคติเท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (one way analysis ofvariance)ผลการศึกษา พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยภาพลักษณ์พยาบาลเชิงวิชาชีพที่เกิดขึ้นจริงตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาลรวมทุกชั้นปี อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( = 4.12, S.D = 0.49) และเมื่อพิจารณาแต่ละชั้นปี พบว่า อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( = 4.16, S.D. = 0.53 ; = 4.09, S.D. = 0.51 ; = 4.01, S.D. = 0.38 ; = 4.29,S.D. = 0.50 ตั้งแต่ชั้นปี 1 - 4 ตามลำดับ) ภาพลักษณ์พยาบาลเชิงวิชาชีพในอุดมคติ ตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาลรวมทุกชั้นปี อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด ( = 4.74, S.D. = 0.35) เมื่อพิจารณาแต่ละชั้นปี อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด ( = 4.71, S.D. = 0.32 ; = 4.71, S.D. = 0.39 ; = 4.72, S.D. = 0.63 และ = 4.78, S.D. = 0.28 ตามลำดับ) เปรียบเทียบภาพลักษณ์พยาบาลเชิงวิชาชีพตามคุณลักษณะที่เกิดขึ้นจริงกับภาพลักษณ์พยาบาลเชิงวิชาชีพตามคุณลักษณะในอุดมคติตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาลแต่ละชั้นปีและรวมทุกชั้นมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001ข้อเสนอแนะการศึกษาครั้งนี้ สามารถเป็นข้อมูลพื้นฐานให้ผู้บริหารสถานศึกษา องค์กรวิชาชีพและผู้เกี่ยวข้องได้ตระหนัก รวมถึงร่วมมือกันหาแนวทางการส่งเสริมภาพลักษณ์ของนักศึกษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจริงให้เหมาะสมสอดคล้องกับภาพลักษณ์ในอุดมคติที่ต้องการให้เกิดคำสำคัญ: ภาพลักษณ์พยาบาลเชิงวิชาชีพ , นักศึกษาพยาบาล

ABSTRACTThis research was the descriptive study.The purposes of this research were to study andcompare actual and ideal image of professionalnurses as perceived by each year of nursingstudents and to compare the actual and idealimages of professional nursing among nursingstudents of all levels at nursing college ofPraboromarajchanok institute for workforceDevelopment Health. The study population was380 nursing students who enrolled on the four-Year baccalaureate nursing program. The researchinstruments were the Personal Data Questionnaireand the Actual and Ideal Professional Nurse ImageQuestionnaire which was developed byNantsupawat and Wichaikhum (2006) based onStrasen’s concept of professional image (Strasen,1992). The reliability of the actual and ideal imageswere .93 and .87 respectively.The statistics used for data analysis werefrequency, percentage, mean, standard deviation.Paired t-test and one way analysis of variance.The results revealed that the mean scoreof actual image of professional nursing asperceived by all nursing students was at a goodlevel ( = 4.12, S.D = 0.49). The mean scores ofthe actual image of professional nursing asperceived by all students were at good level ( =4.16, S.D. = 0.53 ; = 4.09, S.D. = 0.51 ; = 4.01,S.D. = 0.38 ; = 4.29, S.D. = 0.50). The meanscores of the ideal image of professional nursingas perceived by all students were at a very goodlevel ( = 4.74, S.D. = 0.35) and each year wasalso at a very good level ( = 4.71, S.D. = 0.32 ;= 4.71, S.D. = 0.39 ; = 4.72, S.D. = 0.63 and =4.78, S.D. = 0.28). There was difference between

the mean scores of the actual and idealprofessional nurse images as perceived by all ofthe year nursing students. There were differencebetween the mean scores of actual and idealprofessional nurse images as perceived by eachyear and all of the year nursing students.The results of this study could be utilizedas data bases for administrators of the educationalinstitutes, professional organizations, andstakeholders to take into consideration themaintaining and improving of the images ofprofessional nursing in order for them to be agood model for nursing students.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ