ผลของโปรแกรมสร้างเสริมพลังอำนาจต่อพฤติกรรมดูแลสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวาน ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด Effect of Empowerment Program to Health Care Behaviors in Diabetic Patients with Uncontrolled Fasting Blood Sugar
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อการวิจัยแบบ Pre Experimental Design ครั้งนี้เป็นการศึกษากลุ่มเดียววัดสองครั้ง (One group pretest -posttest design) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสร้างเสริมพลังอำนาจต่อพฤติกรรมดูแลสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระยะเวลาในการศึกษาตั้งแต่เดือนกันยายน 2550-มีนาคม 2551กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือด 200 mg% จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยโปรแกรมสร้างเสริมพลังอำนาจสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมดูแลสุขภาพด้านอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยาตามแผนการรักษา และการจัดการกับความเครียด แบบบันทึกการติดตามเยี่ยมบ้านและแบบบันทึกการทำกิจกรรมกลุ่มซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างก่อนและหลังการทดลองโดยใช้สถิติ Wilcoxon signs rank test กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ .05ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมสร้างเสริมพลังอำนาจ กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างมี ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมพฤติกรรมดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังคำสำคัญ: โปรแกรมสร้างเสริมพลังอำนาจ พฤติกรรมดูแลสุขภาพ ผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดAbstractThis Pre-experimental design study was initiated in order to determine the effect ofempowerment program to improve health care behaviors in diabetic patients with uncontrolled fastingblood sugar. It was set up from September 2007 to March 2008. One group pre-and post-test designwas used. The sample included 13 diabetic patients who had fasting blood sugar equal or greater than200 mg%. The instruments were the empowerment program to improved health care behaviors indiabetic patients with uncontrolled fasting blood sugar, health care behavior evaluation form, home visit record and group activities record. These were examined by 3 experts. Quantitative data were analyzed using descriptive statistics. Wilcoxon signs rank test was used to examine the difference between pre-test and post-test scores. The results showed that after attending the empowerment program, self-health care behavior of the samples was improved (p < 0.05) and their fasting blood sugar level was lower than baseline (p < 0.05). The findings from this study could be used to promote self-health care behaviors in diabetic patients with uncontrolled fasting blood sugar, especially patients with had high fasting blood sugar in long term.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว