พัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารของพระสงฆ์: มุมมองของพระสงฆ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม เป็นปัญหาหนึ่งที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพของพระสงฆ์ การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของพระสงฆ์ และพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารของพระสงฆ์ ตามมุมมองของพระสงฆ์ พระสงฆ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก 16 รูป จำพรรษาอยู่ในวัด เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 วัด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามส่วนบุคคล และการสนทนากลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่าพระสงฆ์ผู้ให้ข้อมูลมีอายุเฉลี่ย 40.15 ปี (SD = 3.71) มีดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์ปกติ และมีโรคประจำตัวร้อยละ 37.50 ในจำนวนนี้พบโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และเบาหวาน ร้อยละ 50.00, ร้อยละ 50.00 และร้อยละ 33.33 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมบริโภคอาหารของพระสงฆ์ ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารสุขภาพ จริยวัตรสงฆ์ และชนิดอาหารที่ประชาชนถวาย ส่วนรูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารของพระสงฆ์ ตามมุมมองของพระสงฆ์ที่พัฒนาขึ้น เรียกว่า “รูปแบบ M-O-N-K” ประกอบด้วย การพิจารณาฉันภัตตาหารสุขภาพของพระสงฆ์โดยไม่ขัดหลักพระธรรมวินัย การส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนใส่บาตรหรือถวายอาหารสุขภาพ การประเมินและส่งเสริมภาวะสมดุลทางโภชนาการของพระสงฆ์ และการให้ความรู้และการจัดทำสื่อต่างๆ เกี่ยวกับโภชนาการสำหรับพระสงฆ์
ทีมสุขภาพควรนำรูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารของพระสงฆ์ ที่พัฒนาขึ้นตามมุมมองของพระสงฆ์นี้ไปเป็นข้อมูลในการปรับปรุงการจัดบริการสุขภาพ ซึ่งต้องอาศัยการวางแผนร่วมกันกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้พระสงฆ์มีพฤติกรรมบริโภคอาหารที่เหมาะสมต่อไป
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว