ผลของการใช้รูปแบบเชิงกระบวนการในการจัดการความเครียดต่อพัฒนาการของความเข้มแข็งในการมองโลกและการปรับตัวในการทำงานของนักศึกษาพยาบาล

Main Article Content

เบญญาภา พิภัชปวัน
วราภรณ์ แย้มทิม
ประสงค์ ตันพิชัย

บทคัดย่อ

การเปลี่ยนผ่านบทบาทจากนักศึกษาสู่บทบาทพยาบาลใหม่ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีความยุ่งยาก และเป็นเหตุให้เกิดความเครียด การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบเชิงกระบวนการในการจัดการความเครียดที่มีต่อความเข้มแข็งในการมองโลก และการปรับตัวในการทำงาน


การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัย แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One group pretest-posttest design) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่  4  ซึ่งอาสาสมัครเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้มี 2 ประเภท  คือ 1) รูปแบบเชิงกระบวนการในการจัดการความเครียด  2) แบบสอบถามความเข้มแข็งในการมองโลกและการปรับตัวในการทำงาน  วิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบใช้ Wilcoxon matched pair signed-rank test และ คะแนนพัฒนาการ (Growth score) ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า ก่อนทดลองนักศึกษามีคะแนนความเข้มแข็งในการมองโลกและการปรับตัวในงานอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x} = 3.79, SD = 0.38  และ gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x} = 3.65, SD = 0.38)  หลังทดลองนักศึกษามีคะแนนความเข้มแข็งในการมองโลกและการปรับตัวในงานสูงขึ้น (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x} = 4.34, SD = 0.30  และ gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x} = 4.26, SD = 0.22) ผลการเปรียบเทียบพบว่าคะแนนหลังการทดลองสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการให้นักศึกษาพยาบาลได้สะท้อนความคิดหลังเข้าร่วมการวิจัย พบว่า นักศึกษาเห็นว่าการจัดการความเครียดเป็นสิ่งจำเป็นในการปฏิบัติงาน การเข้าร่วมกิจกรรมตามรูปแบบเชิงกระบวนการในการจัดการความเครียดส่งผลให้เพิ่มความสามารถในการปรับตัวในการทำงาน และการสร้างทัศนคติในทางบวกจะช่วยให้เกิดพลังในการทำงานและไม่ย่อท้อต่อปัญหาและอุปสรรคที่พบ


การใช้รูปแบบเชิงกระบวนการจัดการความเครียดสามารถเพิ่มความเข้มแข็งในการมองโลกและการปรับตัวในการทำงานได้  ควรมีการใช้รูปแบบนี้เพื่อสนับสนุนความเข้มแข็งในการมองโลกและการปรับตัวในการทำงานให้แก่นักศึกษาในสถาบันการศึกษาอื่นต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ