การศึกษาเปรียบเทียบผลของการสูดดมกลิ่นน้ำมันมะกรูดกับน้ำมันโรสแมรี่ต่อระบบประสาทอัตโนมัติและความสามารถในเกมจำลองการขับรถ

Main Article Content

วินัย สยอวรรณ
อำพล บุญเพียร

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการสูดดมกลิ่นน้ำมันมะกรูดและน้ำมันโรสแมรี่ต่อระบบประสาทอัตโนมัติและความสามารถในเกมจำลองการขับรถ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก จำนวน 60 คน แล้วสุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน คือ กลุ่มมะกรูดกลุ่มโรสแมรี่ และกลุ่มอัลมอนด์ ซึ่งจะได้รับการสูดดมน้ำมันประจำกลุ่มเป็นเวลา 20 นาทีเครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกการวัดระบบประสาทอัตโนมัติ และแบบบันทึกคะแนนการเล่นเกมขับรถ  เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังการทดลองด้วยสถิติ Pair -sample  t-test และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ One-way ANOVA


ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มโรสแมรี่ และกลุ่มมะกรูด มีผลทำให้การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ ได้แก่ ความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ และคะแนนในเกมจำลองการขับรถเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) สำหรับกลุ่มอัลมอนด์ไม่มีผลทั้งการทำงานของระบบประสาทอัติโนมัติและคะแนนในเกมจำลองการขับรถ เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของระบบประสาทอัตโนมัติและคะแนนการขับรถทั้ง 3 กลุ่มพบว่ากลุ่มมะกรูดกับกลุ่มโรสแมรี่มีความแตกต่างกับกลุ่มอัลมอนด์และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มกลุ่มมะกรูด กับโรสแมรี่ พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p < .05)


น้ำมันมะกรูดและน้ำมันโรสแมรีมีผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติและการตอบสนองแบบเฉียบพลัน ดังนั้นเพื่อช่วยลดมูลค่าการนำเข้าเครื่องหอมจากต่างประเทศการใช้น้ำมันมะกรูดจึงเป็นทางเลือกในการใช้น้ำมันหอมระเหยเพื่อกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ และการตอบสนองเฉียบพลันแทนน้ำมันโรสแมรี่ได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ