การวิเคราะห์สถานการณ์การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมในจังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยผสมผสานแบบขั้นตอนเชิงอธิบายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุและสภาพการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมในจังหวัดอุบลราชธานีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุจำนวน 400 คน และผู้ดูแลหลักของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทยการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการบันทึกภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่าความชุกของภาวะเสี่ยงต่อสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในจังหวัดอุบลราชธานี มีอัตราร้อยละ 13.75 ส่วนสถานการณ์และสภาพการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมในการวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 4 ประเด็นหลักดังนี้ ประเด็นแรกคือ การรับรู้เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุโดยผู้ดูแลมี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านกิจวัตรประจำวัน ด้านจิตใจและด้านสังคม ประเด็นที่สอง คือ การดูแลและการจัดการกับอาการของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมโดยผู้ดูแล มี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านกิจวัตรประจำวัน ด้านจิตใจและด้านสังคม ประเด็นที่สาม คือ การเข้ามาเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม มี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านผู้ทำหน้าที่หลัก ด้านแหล่งสนับสนุนทางสังคมและด้านผลกระทบจากการเข้ามาเป็นผู้ดูแล ประเด็นสุดท้าย คือ แนวทางการแก้ไขสถานการณ์การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม มี 2 ด้าน ได้แก่ ค่าใช้จ่าย และความรู้
การประเมินความชุกและสถานการณ์และสภาพการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการดูแล และส่งเสริมให้ผู้ดูแลมีการดูแลที่เหมาะสม
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว