การรักษาโรคหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อนด้วยการนวดตามภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ได้ศึกษารูปแบบการรักษาโรคหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อนด้วยการนวดตามภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน และศึกษาผลที่เกิดกับผู้ป่วยหลังรับการรักษา โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จากการสังเกต การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกหมอพื้นบ้าน 1 รายและผู้ป่วย 10 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการจำแนกและจัดระบบข้อมูล วิเคราะห์สรุปอุปนัยและวิเคราะห์ข้อมูลเอกสาร ผลการศึกษาพบว่าการนวดรักษาของหมอพื้นบ้าน 1 ราย เรียกว่า “การจับเส้น” มีขั้นตอนในการรักษาประกอบด้วย 1) การบูชาครู 2) การซักประวัติ 3) การตรวจแนวกระดูกสันหลัง 4) การดึง ยืดหลัง 5) การนวดจับเส้นซึ่งมีวิธีแตกต่างไปตามอาการของผู้ป่วย 6) การตรวจหลังการรักษา 7) ให้คำแนะนำห้ามผู้ป่วย ยก ลาก ถอน ดึง ดัน ภายใน 15 วันหลังรับการรักษา หากยังมีอาการจะนัดหมายเพื่อรักษาต่อเนื่องในอีก 4 วัน ระยะเวลาที่รักษาตั้งแต่ 1 วัน ถึง 3 เดือน ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย และผลการศึกษาผู้ป่วยหลังการรักษาพบว่า อาการปวด สามารถลดลง หรือหายได้ทันทีหลังการรักษา แต่สามารถกลับมาเป็นอีกครั้งได้หากยังใช้อิริยาบถไม่เหมาะสมอาการอ่อนแรงจะดีขึ้นเป็นลำดับ และ อาการชาผู้ป่วยจะรู้สึกดีขึ้นแต่ยังไม่หายขาด สรุปการรักษาดังกล่าวมีวิธีการที่น่าสนใจ เป็นเหตุเป็นผล และอาจนำไปใช้เพื่อพัฒนาแนวทางการนวดรักษาของแพทย์แผนไทยและศึกษาประสิทธิผลด้วยระเบียบวิจัยทางคลินิกให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนในอนาคต
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว