การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย ติดเชื้อเอดส์ในคลินิกรับยาต้านไวรัสเอดส์ โรงพยาบาลพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

ศิริพรรณ ชมภูพู่

บทคัดย่อ

เอดส์ เป็นโรคที่ยังไม่มียารักษาให้หายขาดได้  อย่างไรก็ตามความรู้เรื่องโรคเอดส์มีความก้าวหน้ามากขึ้น วิธีการหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาปัญหาเอดส์ คือการใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ และการใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ร่วมกันหลายตัวถือเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยเอดส์ ผู้ป่วยทุกคนจะรับประทานยาได้สม่ำเสมอต่อเนื่อง พฤติกรรมการดูแลตนเองเป็นสิ่งที่จำเป็น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1)เพื่อค้นหาปัจจัย และองค์ประกอบ ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์  2)พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์ และ 3) เพื่อค้นหาข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ตามรูปแบบของพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์ในคลินิกรับยาต้านไวรัสเอดส์  รูปแบบการวิจัยแบบผสมในลักษณะการศึกษาต่อเนื่องเป็นระยะ โดยประกอบไปด้วยระยะการวิจัย 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ และ ระยะที่ 2 การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพประชากรผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนการรักษาที่คลินิกรับยาต้านไวรัสเอดส์ จำนวน  238 คน การวิจัยครั้งนี้ ศึกษากลุ่มประชากรวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสมการเชิงโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า สัดส่วนของเพศชาย และหญิงใกล้เคียงกัน คือ ร้อยละ 56.7: 43.3 อายุระหว่าง 46 -60 ปี ระดับการศึกษา ประถมศึกษา ร้อยละ 51.7 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 9,133.29 บาท สถานภาพพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 42.9 ประสบการณ์เป็นผู้ป่วยมากกว่าครึ่งหนึ่ง ร้อยละ 58.8 ป่วยมาแล้วกว่า 10 ปี ขึ้นไป ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ติดเชื้อเอดส์ ได้แก่ ความรู้เรื่องการดูแลตนเอง, ความสามารถในการเข้าใจสารสนเทศถึงปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพ, ความสามารถในการประเมินข้อมูลสารสนเทศของปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพ, ความสามารถในการประยุกต์ใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจต่อการกระทำต่อปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพ,ประสบการณ์ป่วย, อายุ, ความสามารถในการดูแลตนเอง, และความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลและความรู้ด้านสารสนเทศทางด้านสุขภาพ, เท่ากับ 0.369, 0.342, 0.311, 0.296, 0.263, 0.230, 0.228, และ 0.222 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P-value< 0.01รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุสามารถตามโมเดลอธิบายความผันแปรได้ร้อยละ 24 โดยรูปแบบสอดคล้องกับข้อมูลตามสมมุติฐานอย่างมีสาระรูปสนิท (Fit) ที่สถิติ c2 75.098  P = 0.443  DF = 74 CMIN/DF = 1.015  RMR= 0.128 GFI = 0.963  AGFI = 0.932 RMSEA = 0.008 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำผลการวิจัยครั้งนี้ไปประกอบการวางแผนสนับสนุนการดำเนินงานการป้องกันตามรูปแบบของพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์ในคลินิกรับยาต้านไวรัสเอดส์ ให้เหมาะสมกับพื้นที่


 

Article Details

How to Cite
1.
ชมภูพู่ ศ. การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย ติดเชื้อเอดส์ในคลินิกรับยาต้านไวรัสเอดส์ โรงพยาบาลพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์. JDPC3 [อินเทอร์เน็ต]. 25 ธันวาคม 2023 [อ้างถึง 9 เมษายน 2025];17(3):272-84. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JDPC3/article/view/267240
บท
OriginalArticle

References

World Health Organization, Thailand HIV Country Profile 2022, [Internet]. 202 [cited 2023 October 10]. Available from: https://cfs.hivci.org/index.html

Department of AIDS, Tuberculosis and Sexually Transmitted Diseases, Bangkok Public Health Office. Estimation of the Spread of HIV in Bangkok. 2019. (in Thai)

Prapan Phanuphak (ed.). Guidelines for the Diagnosis and Management of HIV-Infected Persons and AIDS Patients at the National Level 2010. Bangkok: Community Cooperative of Thailand. 2007. (in Thai)

Tantisiriwat, W. What’s new in infectious diseases in other leading Journals? New England Journal of Medicine, 2008; 358, 568-579.

Arey, B., & Beal, M. The role of exercise in the prevention and treatment of wasting in acquired immune deficiency syndrome. Journal of the Association of Nurse in AIDS Care, 2002; 13(1), 29-49.

Simoni, J. M., Pearson, C. R., Pantalone, D. W., Marks, G.,& Crepaz, N. Efficacy of intervention in improving highly active antiretroviral therapy adherence and HIV-1 RNA viral load: A meta-analytic review of randomized controlled trials. Journal of Acquired Immune Deficiency Syndromes, 2006; 43(Sup 1), S23-S35

Kanfer, F.H. and Goldstein, A., Self Management Methods. In Helping People Changes : A Textbook of Methods, pp. 305-360. New York Pergamon, 1991.

Sirichai Kanjanavasi. Theory of Evaluation. 8th Edition. Chulalongkorn University Press. Bangkok. 2011. (in Thai)

Cronbach LJ. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 1951: (3); 297– 34

Bartholomew, L. K.., Czyzewski, D. I. , Parcel, G. S., & Swank, P. R. Self-management of cystic fibrosis: Short- term outcomes of the cystic fibrosis family education program, 1997; 24(5), 652-666.

Kanfer, F. H., & Gaelick-Buys, L. Self-management methods. In F. H. Kanfer & A. P. Goldstein (Eds.), Helping people change: A textbook of methods (pp. 305–360). Pergamon Press. 1991.

Somkheo Sangkhanuphap. Development of Nursing Care System for HIV/AIDS Patients. Nonthaburi: Medical Publishing, Ministry of Public Health. 2006. (in Thai)

Simoni, J. M., Pearson, C. R., Pantalone, D. W., Marks, G.,& Crepaz, N. Efficacy of intervention in improving highly active antiretroviral therapy adherence and HIV-1 RNA viral load: A meta-analytic review of randomized controlled trials. Journal of Acquired Immune Deficiency Syndromes, 2006; 43(Sup 1), S23-S35.

Lam Van Nguyen, et. Al., Knowledge of Antiretroviral Treatment and Associated Factors in HIV-Infected Patients, Healthcare 2021, 9, 483. https://doi.org/10.3390/healthcare9040483

Nutbeam, D. Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into health 21st century. Health Promotion International. 2000; 15(8) printed in Great Britain.

Ishikawa H, Nomura K, Sato M, Yano E: Developing a measure of communicative and critical health literacy: a pilot study of Japanese office workers. Health Promot Int 2008, 23(3):269-274.

Zhao et al. A structural equation model of factors associated with HIV risk behaviors and mental health among men who have sex with men in Malawi. BMC Infectious Diseases (2020) 20:591 https://doi.org/10.1186/s12879-020-05310-1

Baral SD, et al. A cross-sectional assessment of the burden of HIV and associated dividual- and structural-level characteristics among men who have sex with men in Swaziland. J Int AIDS Soc. 2013 Dec 2;16 Suppl 3(4Suppl 3):18768. doi: 10.7448/IAS.16.4.18768. PMID: 24321117; PMCID: PMC3852353.

Zeng, et al. A structural equation model of perceived and internalized stigma, depression, and suicidal status among people living with HIV/AIDS. BMC Public Health. 2018. 18. 138. https://doi.org/10.1186/s12889-018-5053-1.