คุณภาพของผลิตภัณฑ์ชาจากกลีบดอกดาวเรืองพันธุ์อเมริกัน (Tagetes erecta L.) ผสมพืช สมุนไพรแต่งกลิ่นรส

ผู้แต่ง

  • บุษราคัม แซ่ตั้ง
  • ปภัสสร สุขรี่
  • ศุภรัตน์ ด่านอุดมรักษ์
  • จารุวรรณ ดรเถื่อน สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร 47160
  • วิวัฒน์ ศรีวิชา สาขาการแพทย์แผนไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร 47160
  • หทัยรัตน์ หอมไกรลาศ สาขาบริหารธุรกิจ คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร 47160
  • อรนุช สีหามาลา สาขาเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000
  • พรประภา ชุนถนอม สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร 47160

คำสำคัญ:

ดอกดาวเรือง ดอกกุหลาบ ดอกมะลิ ขิง ใบเตย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดและปริมาณของพืชสมุนไพรแต่งรสและกลิ่นที่มีผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชาจากกลีบดอกดาวเรือง โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์และวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์ชา ได้แก่ ความชื้น aw ปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมด ยีสต์และรา และวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์น้ำชา ได้แก่ ค่าสี L*, a* และ b*, pH ปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำ รวมทั้งทดสอบคุณภาพทางด้านประสาทสัมผัส เพื่อคัดเลือกสูตรชาที่เหมาะสม พบว่าผลิตภัณฑ์ชาจากกลีบดอกดาวเรืองผสมขิงและพืชสมุนไพรแต่งกลิ่น 3 ชนิด ได้แก่ ใบเตย ดอกมะลิ และดอกกุหลาบ โดยมีความชื้นระหว่าง 9.29-9.87% มีค่า aw ระหว่าง 0.52-0.56 เชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดมีปริมาณ 396-1,117 CFU/g ยีสต์และรามีปริมาณ 3.3-7.0 CFU/g เมื่อชงชาพบว่ามีค่าสี L* หรือความสว่างในช่วง 58.29-60.53 ค่าสี -a* หรือสีเขียวในช่วง -5.92 ถึง -6.50 ค่าสี b* หรือสีเหลืองในช่วง 26.84-30.17 มีค่า pH ในช่วง 5.05-5.13 ส่วนปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำ  มีค่าเท่ากับ 0 และเมื่อนำน้ำชาทดสอบคุณภาพทางด้านประสาทสัมผัสพบว่า สีของน้ำชาจากกลีบดอกดาวเรืองผสมขิงและใบเตย และน้ำชาจากกลีบดอกดาวเรืองผสมขิงและดอกกุหลาบได้คะแนนมากที่สุดและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับน้ำชาจากกลีบดอกดาวเรืองผสมขิงและดอกมะลิ (P<0.05) ส่วนกลิ่นและรสชาติของทุกสูตรไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) การยอมรับรวมของน้ำชาจากกลีบดอกดาวเรืองผสมขิงและใบเตยมีคะแนนมากที่สุด (P<0.05) สูตรชาที่เหมาะสมประกอบด้วย กลีบดอกดาวเรือง ขิง และใบเตยในปริมาณ 96.77, 1.94 และ 1.29% ตามลำดับ

References

กรุณา คชเรนทร์ และพันธศักดิ์ ศุกระฤกษ์. (2553). การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของชาดอกไม้. 1266-1274. สืบค้นจาก https://grad.dpu.ac.th/upload/content/files.

กองควบคุมอาหาร. (2549). แนวทางการพิจารณาอาหารประเภท “ชาสมุนไพร”. สำนักงานอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข.

กุลยา จันทร์อรุณ. (2540). รายงานวิจัย เรื่อง กรรมวิธีการผลิตผักและผลไม้อบแห้ง. ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันราชภัฎพิบูลสงคราม, พิษณุโลก.

กัลยา ยศคาลือ และอิสริยาภรณ์ ชัยกุหลาบ. (2563). การมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างอัตลักษณ์สำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านท่าดีหมี อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. รายงานการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 10. ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,วันที่ 27 พฤศจิกายน 2563.

นุชเนตร ตาเย๊ะ. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาจากผักน้ำเบตง. รายงานวิจัย. คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ภาสุรี ฤทธิเลิศ. (2564). คุณภาพทางเคมีกายภาพและการยอมรับทางประสาทสัมผัสของชาดอกแก่นตะวัน. Thai Journal of Science and Technology. 10 (2), 196-207.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 426 (พ.ศ.2564) เรื่อง ชาจากพืช. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป. เล่มที่ 108 ตอนพิเศษที่ 102ง.

วรินธร พูลศรี ภูรินทร์ อัครกุลธร และกรรณพต แก้วสอน. (2560). การศึกษาวิธีการอบแห้งในการทำชาจากดอกกุหลาบ. Research Journal Rajamangala University of Technology Thanyaburi. 16(1-2), 1-9.

สุวรรณา ผลใหม่ ชฎาพร เกลี้ยงจันทร์ และสุไหลหมาน หมาดโหยด. (2560). การพัฒนากระบวนการผลิตชาชงดอกดาหลาต่อฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารประกอบฟีนอลิก. รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 9 และการประชุมวิชาการระดับนานาชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 8. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, นครปฐม, 148-155.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2548). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เรื่อง สมุนไพรรวมแห้ง (มผช.996/2548).

AOAC. (2000). Official Method of Analysis. 17th edition Association of Official Analytical Chemistry.

Basker, D. (1988). Critical values of differences among ranked sums for multiple comparisons. Food Technology. 42, 79-84.

Chew, B.P., Wong, M.W. and Wong, T.S. (1996). Effects of lutein from marigold extract on immunity and growth of mammary tumours in mice. Anticancer Res. 16, 3689-3694.

Ebrahimi, E., Shirali, S. and Talaei, R. (2016). The protective effect of marigold hydroalcoholic extract in STZ-induced diabetic rats: evaluation of cardiac and pancreatic biomarkers in the serum. J. Bot. Article. ID 9803928, 6 pp.

Fullmer, L.A. and Shao, A. (2001). The role of lutein in eye health and nutrition. Am. Asso. Cereal Chem. 46, 408-413.

Han, Ah-R., Nam, B., Kim, Bo-R., Lee, Ki-C., Song, Beom-S., Kim, S.H., Kim Jin-B. and Jin, C.H., (2019). Phytochemical composition and antioxidant activities of two different color chrysanthemum flower teas. Molecules. 24 (329), 1-14.

Kaplan, L. (1960). Marigold. In: Commercial flower. Naya Prakashan, Calcutta, 714 pp.

Kumar V. P. and Shruthi, B.S. (2014). Tea: An Oral Elixir. Scholars Academic Journal of Pharmacy (SAJP). 3 (1), 9-18.

Mahantesh, S.P., Gangawane, A.K. and Patil, C.S. (2012). Free radicals, antioxidants, diseases and phytomedicines in human health: future perspects. World Res. J. Med. Aroma Plant. 1, 6-10.

Manikandan, R., Anand, A.V., Kumar, S. and Pushpa, P. (2016). Phytochemical and in vitro antidiabetic activity of Psidium guajava leaves. Pharmacogn. J. 8, 392-394.

Martin, K.R., Eailla, M.L. and Smith, J.C. (1996). β-Carotene and lutein protect HepG2 human liver cells against oxidant-induced damage. J. Nutr. 126, 2098-2106.

Schalch, W., Cohn, W., Barker, F. M., Kopcke, W., Mellerio, J., Bird., A.C., Robson, A.G., Fitzkef, F.F. and Kuijk, F.J.G.M.V. (2007).

Xanthophyll accumulation in the human retina during supplementation with lutein or zeaxanthin-the LUXEA (Lutein Xanthophyll Eye Accumulation) study. Archives of Biochemistry and Biophysics. 458, 128-135.

Zhang, L.X., Coney, R.V. and Betram, J.S. (1991). Carotenoids enhance gap functional communication and inhibit lipid peroxidation in C3H/10T/2 cells: relationship to their cancer chemo preventive action. Carcinogenesia. 12, 2109-2110

คุณภาพของผลิตภัณฑ์ชาจากกลีบดอกดาวเรืองพันธุ์อเมริกัน (Tagetes erecta L.) ผสมพืช สมุนไพรแต่งกลิ่นรส (Product quality of tea from American marigold (Tagetes erecta L.) flower petals mixed with flavor herbs)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2023