การวิเคราะห์หาปริมาณกรดคลอโรจีนิกและคาเฟอีนในเมล็ดกาแฟอาราบิกาจากหมู่บ้านหนองน้ำดำและภายใต้การดำเนินของโครงการหลวงในภาคเหนือ

ผู้แต่ง

  • บุษราคัม สิงห์ชัย สาขาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 76000
  • เวธกา เช้าเจริญ สาขาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 76000
  • เกศสิณี ศรีดากุล สาขาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 76000
  • ชนิกานต์ บัวล้อม สาขาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 76000

คำสำคัญ:

กรดคลอโรจีนิก คาเฟอีน กาแฟอาราบิกา การวิเคราะห์

บทคัดย่อ

กาแฟหนองน้ำดำเป็นกาแฟสายพันธุ์อาราบิกาที่เพิ่งเก็บเกี่ยวครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2565 นั้นยังไม่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาปริมาณกรดคลอโรจีนิกและคาเฟอีนในเมล็ดดิบและคั่วของกาแฟหนองน้ำดำและกาแฟสายพันธุ์เดียวกันที่ปลูกภายใต้การดำเนินของมูลนิธิโครงการหลวงในภาคเหนือ ตัวอย่างกาแฟนำมาสกัดด้วยมอกาพอทแล้วตรวจวัดค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาว คลื่น 330 และ 272 nm ด้วยเทคนิคยูวีวิซ สเปคโทรโฟโทมีทรี โดยใช้ 70% เอทานอลในน้ำกลั่นเป็นตัวทำละลาย คำนวณหาปริมาณสารสำคัญจากการเปรียบเทียบกราฟมาตรฐาน และปริมาณกรดคลอโรจีนิกในสารสกัดกาแฟทุกชนิดในเมล็ดดิบ 2.46-3.82% ซึ่งมีปริมาณสูงกว่าในเมล็ดคั่วที่มีปริมาณ 0.78-1.78% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และสูงกว่าปริมาณคาเฟอีนประมาณ 4-5 เท่า  ส่วนปริมาณคาเฟอีนในสารสกัดเมล็ดกาแฟคั่วทุกชนิดมีปริมาณ 1.76-4.15% สูงกว่าในเมล็ดดิบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมล็ดกาแฟคั่วทุกชนิดรวมทั้งกาแฟหนองน้ำดำมีปริมาณคาเฟอีนเป็นไปมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (กาแฟคั่ว) ดังนั้นการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าควรส่งเสริมกาแฟหนองน้ำดำให้เป็นสินค้าทางการเกษตรและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกาแฟหนองน้ำดำต่อไป

References

กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2557). การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกาแฟ. เอกสารวิชาการที่ 3/2557. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

ชุษณา เมฆโหรา. (2558). กาแฟเพื่อสุขภาพ. อาหาร. 45(4), 15-21.

ธรรมนูญ เต็มไชย. (2561). การศึกษาปริมาณน้ำท่าในระบบนิเวศ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน. วารสารนภาเพชร. 2(1). 46-65.

นิรมล ปัญญ์บุษยกุล, และสุทธิวัลย์ สีทา. (2554). ผลของการทำแห้งต่อองค์ประกอบและฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของเนื้อผลกาแฟ. รายงานวิจัย.

ประชา เตชนันท์. (2560). คุณภาพเมล็ดกาแฟอาราบิก้าและคุณสมบัติบางประการภายใต้รูปแบบการปลูกแบบต่างๆของชาวเขาชาติพันธุ์อาข่า บ้านใหม่พัฒนา ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย.ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่

สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. (2558). ประกาศสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม ฉบับที่ 2032 (พ.ศ. 2558). ลงวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2558.

ราชกิจจานุเบกษาฉบบประกาศทั่วไป. (2544). กาแฟ. สืบค้นจาก http://fic.nfi.or.th/law/upload/file1/TH_103 . pdf.

Adnan A., Naumann M., Mörlein D., & Pawelzik E. (2021). Reliable Discrimination of Green Coffee Beans Species: A Comparison of UV-Vis-Based Determination of Caffeine and Chlorogenic Acid with Non-Targeted Near-Infrared Spectroscopy. Foods, 9, 788 doi:10.3390/foods9060788.

Belay A., & Gholap A. V. (2009). Characterization and determination of chlorogenic acids (CGA) in coffee beans by UV-Vis spectroscopy. African Journal of Pure and Applied Chemistry, 3(11), 234-240.

Belay, A., Ture, K., Redi, M., & Asfaw, A. (2008). Measurement of caffeine in coffee beans with UV/vis spectrometer. Food Chemistry, 108, 310–315.

Mitek, M., Mtodecki, T., & Dzugan, M. (2021). Caffeine content and antioxidant activity of various brews of specialty grade coffee. Acta Sci. Pol. Technol. Aliment., 20(2), 179-188.

Navarra G., Moschetti M., Guarrasi V., Mangione M.R., Militello V., & Leone M. (2017). Simultaneous. Determination of caffeine and chlorogenic Acids in Green Coffee by UV/Vis Spectroscopy. Hindawi Journal of Chemistry, 1-8.

การวิเคราะห์หาปริมาณกรดคลอโรจีนิกและคาเฟอีนในเมล็ดกาแฟอาราบิกาจากหมู่บ้านหนองน้ำดำและภายใต้การดำเนินของโครงการหลวงในภาคเหนือ (Analysis of Amounts of Chlorogenic Acid and Caffeine in Arabica Coffee Beans from Nong Nam Dam Village and Operated under the Royal Project Foundation in the North )

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2023