การยกระดับของความงอก และการเจริญเติบโตของต้นกล้าถั่วเหลืองฝักสดกลิ่นหอม พันธุ์เชียงใหม่ 84-2 หลังการเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับ Bacillus subtilis

ผู้แต่ง

  • นรารัตน์ ทาวงค์ สาขาวิชาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • จักรพงษ์ กางโสภา สาขาวิชาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ https://orcid.org/0000-0003-3609-0338

คำสำคัญ:

การยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์ การเคลือบเมล็ดพันธุ์ Bacillus subtilis ถั่วเหลืองฝักสด

บทคัดย่อ

งานทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเคลือบเมล็ดร่วมกับ B. subtilis ต่อความงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าถั่วเหลืองฝักสดกลิ่นหอมพันธุ์ เชียงใหม่ 84-2 ดำเนินการทดลอง ณ ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์สาขาวิชาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) ตรวจสอบในสภาพห้องปฏิบัติการและในสภาพทราย โดยมีผลการทดลองดังนี้ เมื่อตรวจสอบในสภาพห้องปฏิบัติการ พบว่า เมล็ดที่เคลือบด้วยสารเคลือบเพียงอย่างเดียวและการเคลือบเมล็ดด้วย B. subtilis อัตรา 2 %v/v มีความงอกสูงที่สุด คือ 85 % ส่วนในสภาพทรายการเคลือบเมล็ดด้วย B. subtilis อัตรา 2 %v/v มีความงอกและความเร็วในการงอกสูงที่สุด อีกทั้งการเคลือบเมล็ดด้วย B. subtilis อัตรา 2 %v/v ยังคงมีความยาวต้น ความยาวรากมากกว่าและแตกต่างในทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับเมล็ดที่ไม่เคลือบ ส่วนในสภาพทรายพบว่าการเคลือบทุกกรรมวิธีมีความยาวต้นกล้ามากกว่าเมล็ดที่ไม่ถูกเคลือบ และการเคลือบเมล็ดทุกกรรมวิธีไม่ส่งผลให้น้ำหนักสดต้น น้ำหนักแห้งต้นแตกต่างกันกับเมล็ดที่ไม่ได้เคลือบ ดังนั้นการเคลือบเมล็ดด้วย B. subtilis อัตรา 2 %v/v เป็นอัตราแนะนำที่เหมาะสมสำหรับนำไปใช้เคลือบร่วมกับเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองฝักสดกลิ่นหอมพันธุ์ เชียงใหม่ 84-2

References

จักรพงษ์ กางโสภา., Russell. K.H., และบุญมี ศิริ. (2561). ผลของการทำ seed treatment ร่วมกับแบคทีเรียส่งเสริมการ เจริญเติบโตของพืชต่อความงอกและการเติบโตของผักกาดหอม. วารสารเกษตร. 34(3): 385-397.

จักรพงษ์ กางโสภา. (2563). การเคลือบเมล็ดพันธุ์, ว. ผลิตกรรมการเกษตร. 1(2): 63-76.

จักรพงษ์ กางโสภา., พสธร สมโภชน์., สมใจ ยศศรี และเพชรรัตน์ จี้เพชร. (2564). การเปลี่ยนแปลงความงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าถั่วเหลืองหลังการเคลือบเมล็ดด้วยหัวเชื้อจุลินทรีย์ Bacillus thuringiensis และ Beauveria bassiana. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. 6(1) .

จักรพงษ์ กางโสภา., เพชรรัตน์ จี้เพชร และ สุรีมาศ จันต๊ะอินทร์. (2565). ความงอก ความแข็งแรง และการเจริญเติบโตของต้นกล้าถั่วเหลืองหลังการเคลือบและพอกเมล็ดพันธุ์ร่วมกับ Bacillus subtilis. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. 14(1): 266-281.

บุญมี ศิริ. (2558). การยกระดับและการปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์. โรงพิมพ์คลังนานา. ขอนแก่น.

พิมพ์นภา ขุนพิลึก. (2555). ถั่วเหลืองฝักสดกลิ่นหอมพันธุ์ เชียงใหม่ 84-2. กรุงเทพฯ. กรมวิชาการเกษตร

อนุเทพ ภาสุระ. (2558). การใช้ชีวภัณฑ์จุลินทรีย์ Bacillus subtilis ในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวที่ปลูกในสภาวะดินเค็มจากน้ำทะเล. มหาวิทยาลัยบูรพา.

Arshad., M.,Saleem., M. and Hussain., S. (2007). Perspectives of bacterial ACC deaminase in phytoremediation. Trends in Biotechnology. 25(8): 356-362.

Association of Official Seed Analysts (AOSA). (1983). Seed Vigor Testing Handbook. Contribution No.32.

Ellis, R. H., and E. H. Roberts. (1980). The influence of temperature and moisture on seed viability period in barley. (Hordeum distichum L.). Ann. Bot. 45. 31-37.

Fehr, W.R., and Caviness, C.E. (1977). Stages of soybean development. Cooperative Extension Service, Agriculture and Home Economics Experiment Station, Iowa State University, Ames, Iowa.

Glick, B.R. (2012). Plant growth-promoting bacteria: mechanisms and applications. Scientifica. 1-15.

Glick, B.R. Cheng, Z., Czarny, J. and Duan, J. (2007). Promotion of plant growth by ACC deaminase -producing soil bacteria. European Journal of Plant Pathology. 119(3): 329-339.

ISTA. (2019). International Rules for Seed Testing, Edition 2019. International Seed Testing Association, Bassersdorf

Kesan, J.P. (2007). Agricultural Biotechnology and Intellectual Property: Seeds of Change. CAB International. Wallingford. UK.

Kloepper, J.W., Ryu, C.M. and Zhang, S. (2004). Induced systemic resistance and promotion of plant growth by Bacillus spp. The American Phytopathological Society. 94(11): 1259- 1266.

Kundu, B.S. and Gaur, A.C. (1980). Establishment of nitrogen-fixing and phosphate-solubilizing bacteria in rhizosphere and their effect on yield and nutrient uptake of wheat crop. Plant and Soil. 57(1980): 223-230.

Lakshminarayana, K., Narula, N., Hooda, I.S. and Faroda, A.S. (1992). Nitrogen economy in wheat (Triticum aestivum) through use of Azotobacter chroococcum. Indian Journal of Agricultural Sciences. 62(1): 75-76.

Martínez, L.L., Peniche, R.M., Iturriaga, M.H. and Arvizu-Medrano, S.M. (2013). Characterization of rhizobacteria isolated from tomato and their effect on tomato and bell pepper growth. Revista Fitotecnia Mexicana. 36(1): 63- 69.

Oteino, N., Lally, R.D., Kiwanuka, S., Lloyd, A., Ryan, D., Germaine, K.J. and Dowling, D.N. (2015). Plant growth promotion induced by phosphate solubilizing endophytic Pseudomonas isolates. Frontier in Microbiology. (6): 745.

Qian, L., Jin, H., Yang, Q., Zhu, L., Yu, X., Fu, X., Zhao, M. and Yuan, F. (2022). A Sequence Variation in GmBADH2 Enhances Soybean Aroma and Is a Functional Marker for Improving Soybean Flavor. Int. J. Mol. Sci. (23): 4116.

Yang, O., Li, C., Li, H., Li, Y. and Yu, N. (2009). Degradation of synthetic reactive azo dyes and treatment of textile wastewater by a fungi consortium reactor. Biochemical Engineering Journal. 43(3): 225-230.

การยกระดับของความงอก และการเจริญเติบโตของต้นกล้าถั่วเหลืองฝักสดกลิ่นหอม พันธุ์เชียงใหม่ 84-2 หลังการเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับ (Bacillus subtilis  Enhancing of Germination and Seedling Growth of Aroma Vegetable Soybean Cultivar Chiang Mai 84-2 after Seed Coating with Bacillus subtilis)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2023