การรับรู้และพฤติกรรมในการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทานของแรงงานต่างด้าว

Main Article Content

วิทยา ทองแกมแก้ว
ชิดชนก เรือนก้อน

บทคัดย่อ

บทนำ: ประเทศไทยเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียนที่มีการเคลื่อนย้ายของแรงงานเพื่อทำงานเป็นจำนวนมาก พบว่ามีแรงงานต่างด้าวที่มีบุตรในขณะที่ไม่พร้อม ทั้งนี้ยังไม่พบการศึกษาการรับรู้และพฤติกรรมการใช้ยาคุมกำเนิดของแรงงานกลุ่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ พฤติกรรมการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรับประทานและศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้ยาคุมกำเนิดสม่ำเสมอในแรงงานต่างด้าว วิธีการดำเนินการวิจัย: สัมภาษณ์สตรีแรงงานชาวต่างด้าวอายุ 18-55 ปี ที่สุ่มแบบสะดวกจากตลาดนัดและโรงพยาบาลบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยล่ามเจ้าของภาษาด้วยแบบสอบถาม ในช่วงระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 - 20 ธันวาคม 2559 วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติ univariable และ multivariable logistic regression ผลการวิจัย: จากจำนวนตัวอย่าง 122 ราย อายุเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 7.97 ± 30.54 ปี ทั้งหมดมีการศึกษาสูงสุดระดับประถมศึกษา ช่วงระยะเวลาที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด อยู่ที่ 1.01-5 ปี คิดเป็นร้อยละ54.4 และมีการใช้ยาคุมกำเนิดอย่างสมํ่าเสมอ คิดเป็นร้อยละ 77.1 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ยาคุมกำเนิดอย่างสมํ่าเสมอเมื่อวิเคราะห์ด้วย univariable logistic regression ได้แก่ผู้ที่รู้ประโยชน์ของ OR 5.73 (95%CI: 1.39-23.62) รู้ว่าต้องหยุดยาคุมกำเนิดเมื่อตั้งครรภ์ OR 7.42 (95%CI: 2.23-24.70) ความรู้เรื่องข้อห้ามในการใช้ยาคุมกำเนิด พบว่า ผู้ที่ทราบว่าหากเป็นโรคระบบหลอดเลือดและโรคมะเร็งในมดลูก OR 4.48 (95%CI: 0.97-20.60) ทราบว่าบุหรี่ไม่ควรใช้ร่วมกับยาคุมกำเนิด OR 9.00 (95%CI: 2.74-29.53) แต่เมื่อทำการวิเคราะห์ด้วยสถิติ multivariable logistic regression พบเพียงการรู้ว่า ไม่ควรใช้ยาคุมกำเนิดขณะตั้งครรภ์สัมพันธ์กับการใช้ยาคุมกำเนิดอย่างสมํ่าเสมอ Adj. OR 8.07 (95%CI: 1.42-45.80) สรุปผลการวิจัย: การศึกษานี้พบความสัมพันธ์ของการรับรู้ว่าการหยุดยาคุมกำเนิดเมื่อตั้งครรภ์ มีความสัมพันธ์กับการใช้ยาคุมกำเนิดอย่างสมํ่าเสมออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและการรับรู้ประโยชน์ ข้อห้าม ต่างๆ มีแนวโน้มของความสัมพันธ์ไปในทางบวกดังนั้นเภสัชกรหรือบุคลากรทางการแพทย์ควรเน้นยาให้ความรู้กับแรงงานสตรีต่างด้าวในประเด็นเหล่านี้ให้มากขึ้นเพื่อกระตุ้นให้มีการใช้ยาคุมกำเนิดที่สมํ่าเสมอ

Article Details

บท
เภสัชกรรมปฏิบัติ (Pharmaceutical Practice)

References

Hatcher RA, Zieman M, Pochat A. Guide to managing contraception. Georgia. Bridging The gap Foundation; 2004

Inprasert S.Methods of family planning and birth control population. Publisher sorghum: Bangkok. 2535 Page 38-215

Jumrutrut A et al. Contraception survey in 2539. Institute for Population and Social Research. Pathom: Mahidol University; 2540

Lymkanjanawat A. Employment Foreign entrepreneursin the provinceSurat Thani. Journal of Management Science. Two years; No. 1: 95-111

National Statistical Office. The health survey Fertility of the year 2552. Bangkok: The Office for National Statistics, 2552

Pratummass N. Factors that affect the choice of method Contraception in women giving birth to life. Children who do not want to have children 2 and up, and up. Hospital Province Phrom Khiri Nakhon SiThammarat [Master Thesis Master of

Public Health]. Bangkok: Mahidol University, 2540 Putyanon S. Bankkok Economic migrants. Chulalongkorn University; 2549

Russongsiri S. Labor shortage. Human Resources Institute. Bangkok: Thammasat University; 2554Ruttanajit S. The necessary conditions and problems Bringing foreign workers to replacelabor Thailand. [Thesis Master]. Chonburi University;2551

Rapeepun Chalongsuk, Chutima Lymmutwaperut, kittima Chaweekunyaguun. Behavior and knowledge of the use of oral contraceptives, women using oral contraceptive pills. In the city Nakhon Pathom. Journal of Health and Development, 2548. 3 years; No. 2: 11-19

Surat Thani Province. Information and Communication Seniors tend to Surat Thani. Surat Thani. Provincial Office: Surat Thani; 2554.

Suwantho A et al. The relationship between the employment of foreign workers. Decision to use foreign workers of enterprises [thesis Master]. Songkla University; 2557

Taniphaitsagoon S. planning and contraception. Bankkok: Desiree Dawn Limited Company; 2554: 25-201