ผลของการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคเชื้อราชนิดตื้นที่ผิวหนังในร้านยา

Main Article Content

วิระพล ภิมาลย์
ยศยา กุลมาศ

บทคัดย่อ

บทนำ : โรคเชื้อราชนิดตื้นที่ผิวหนังพบได้บ่อยในร้านยา เภสัชกรชุมชนควรให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรค การใช้ยาต้านเชื้อรา ค้นหาและแก้ปัญหาจากการใช้ยา เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของการรักษา วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการให้การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคเชื้อราชนิดตื้นที่ผิวหนัง ณ ร้านยา 4 แห่งในจังหวัดมหาสารคาม วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษากึ่งทดลอง ในระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ.2552 –เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2553 เปรียบเทียบคะแนนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาและโรค ผลการรักษา การกลับเป็นซ้ำและความร่วมมือในการรักษา ระหว่างกลุ่มทดลอง (ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม) และกลุ่มควบคุม (ได้รับการบริการจากร้านยาตามปกติ) ผลการศึกษา : มีผู้ร่วมการศึกษาทั้งหมด 57 คนแบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 30 คนและกลุ่มควบคุมจำนวน 27 คน ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มมีลักษณะทั่วไปเช่น เพศ อายุ ระดับการศึกษา ชนิดของรอยโรค เป็นต้น ไม่แตกต่างกัน หลังจากการได้รับการรับการบริบาลทางเภสัชกรรมพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคเชื้อราที่ผิวหนัง ยาและการปฏิบัติตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ กลุ่มทดลองมีจำนวนผู้ที่หายจากโรคสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยกลุ่มทดลองให้ความร่วมมือในการใช้ยาสูงกว่าและมีอัตราการกลับเป็นซ้ำน้อยกว่ากลุ่มควบควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สรุปผล : การให้การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคเชื้อราชนิดตื้นที่ผิวหนังที่ร้านยา สามารถช่วยเพิ่มความรู้ความเข้าใจเกี่ยวโรค และผู้ป่วยที่ได้รับบริการมีความร่วมมือในการใช้ยาดีกว่าและมีอัตราการกลับเป็นซ้ำที่ต่ำกว่า 

Article Details

บท
เภสัชกรรมปฏิบัติ (Pharmaceutical Practice)

References

Atherton-Naji A, Hamilton R, Riddle W, Naji S. Improving adherence to antidepressant drug treatment in primary care: a feasibility study for a randomized controlled trial of education intervention. Primary Care Psychiatry 2001; 7: 61–7.

Barnett MJ, Frank J, Wehring H, et al. Analysis of Pharmacist-Provided Medication Therapy Management (MTM) Services in Community Pharmacies Over 7 Years. J Manag Care Pharm 2009;15: 18-31

Brown TE, Chin TW. Superficial Fungal Infection. In DiPiro JT, Talbert RL, Yee GC, Matzke GR, Well BG, Posey LM, editors. Pharmacotherapy: a pathophysiologic approach. 7th ed. Appleton&Lange: Stamford; 2008. 1957.

Chang CH. Xu YY, Kurth T, Orav JE, Chan AK. The safety of oral antifungal treatment for superficial dermatophytosis and onychomycosis : A meta-analysis. Am J Med 2007: 9 : 791-8 .

Chirawatkul A. Statistics for Health Science Research. Bangkok : Wittayaphat press; 2010.

Eussen SR, Elst ME, Klungel OH, et al. A pharmaceutical care program to improve adherence to statin therapy:A randomized controlled trial . Ann Pharmacother 2010: 1905-13.

Gaudet LM, Kives S, Hahn PM., Reid RL. What women believe about oral contraceptives and the effect of counseling. Contraception 2004; 69: 31–6.

Hammarstrom B, Wessling A, Nilsson JL. Pharmaceutical care for patients with skin disease : a campaign year at Swedish pharmacies. J Clin Pharm Ther 1995; 20: 327-34.

Hanlon JT, Lindblad CL, Gray SL, Can clinical pharmacy service have a positive impact on drug-related problems and health outcome in community-based older adults. Am J Geriatr Pharmacother 2004; 2: 3-13.

Havlickova B. Epidemiological trends in skin mycoses worldwide. Mycose 2008; 51: 2-15 .

Haynes RB. Interventions for enhancing medication adherence. Cochrane Database Syst Rev 2008;11: 106.

Heather MP, Garg AX and Haynes RB. Interventions to enhance patient adherence to medication prescriptions. JAMA 2002;22:286-8.

Hepler CD, Strand LM. Opportunities and responsibilities in pharmaceutical care. Am J Hos Pharm 1990; 47 : 533-43.

Huddson M. Antifungal resistance and over the counter availability in the UK : a current perspective. J Antimicrob Chemoter 2001;48: 354-60.

Huddson M. The effect of community intervention trial on parental knowledge and Awareness of antibiotic resistance and appropriate antibiotic use in children. Pediatrics 2001;1: 1-7.

Hywel WH. Epidermiology of skin disease in Europe. EJD 2008;51: 2-15.

Robert AS. Superficial fungal infecions. Lancet 2004:364:1173-81.

Ungpakorn R. Mycoses in Thailand : Current Concerns. Jpn J Med Mycol 2005;45: 81-6.

Uttarin P, Kanjanasilp J, Sa-ngasri P. Effects of Pharmaceutical Care in Patients with Dyspepsia in a Community Pharmacy. IJPS 2010;6: 15-25.

Weinberger M, Murray MD, Marrero DG, Brewer N, Lykens M, Harris LE, et al. Effectiveness of pharmacist care for patients with reactive airways disease: a randomized controlled trial. JAMA 2002; 288: 1594–602.