การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีการสกัดตัวอย่างแบบโซลิดเฟสเอ็กแทรกชันและ ตรวจวัดระดับความเข้มข้นของแอซิโทรมัยซินในพลาสมาด้วยโครมาโตกราฟิ ของเหลวสมรรถภาพสูงและตรวจวัดแบบอิเลคโทรเคมิคอล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีการวัดปริมาณแอซิโทรมัยซินในพลาสมา โดยการสกัดตัวอย่างแบบโซลิด-เฟสเอ็กแทรกชัน และตรวจวัดด้วยโครมาโตกราฟีของเหลวสมรรถภาพสูง และเครื่องตรวจวัดแบบอิเลคโทรเคมิคอลคลาริโทรมัยซินเป็นสารมาตรฐานภายใน แอซิโทรมัยซินถูกสกัดจากพลาสมา 1 มิลลิลิตร ผ่านคอลัมน์ยี่ห้อโอเอซิสเอช แอลบี (ไฮโดรฟิลิก-ไลโปฟิลิก บาลานซ์) ระเหยตัวอย่างให้แห้ง ละลายตัวอย่างด้วยสารละลายของฟอสเฟสบัพเฟอร์-เม ทานอล-อะซิโตนิไตล์ (60:20:20) ปริมาตร 100 ไมโครลิตร และฉีดสารละลายของแอซิโทรมัยซิน 40 ไมโครลิตร เข้าสู่เครื่องโครมาโตกราฟีของเหลว สมรรถภาพสูง ความเข้มข้นของแอซิโทรมัยซินที่วัดได้ต่ำสุด คือ 10 นาโนกรัมต่อ มิลลิลิตร โดยปราศจาก พีครบกวนที่ตำแหน่งยาและสารมาตรฐานภายในกราฟสารมาตรฐานช่วง 10 ถึง 400 นาโน กรัมต่อมิลลิลิตร มีค่าความเป็นเส้นตรง (r2) เท่ากับ 0.9998 ความถูกต้องและแม่นยำอยู่ในเกณฑ์การยอมรับของ "guideline for Industry: Bioanalytical Method Validation ปี 2001 ขององค์การอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา (US FDA) ค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์การคืนกลับยาที่ระดับความเข้มข้น 30 100 และ 200 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร เท่ากับ 85.3±5.5%, 80.1±6.8% และ 82.9±2.5% ตามลำดับ มีความคงตัวอย่างน้อย 6 ชั่วโมง และ 6 เดือน เมื่อเก็บพลาสมา ไว้ที่อุณหภูมิห้องและ -80°C ตามลำดับ และมีความคงตัว 24 ชั่วโมง หลังจากละลายตัวอย่างก่อนวัด เมื่อสกัดตัวอย่าง ผ่าน โอเอซิส เอชแอลบี จำนวน 2 รอบ มีค่าเบี่ยงเบนน้อยกว่า 5% ดังนั้น วิธีนี้ สามารถวัดปริมาณแอซิโทรมัยซินใน พลาสมาได้อย่างมีความถูกต้องและแม่นยำเพื่อเป็นประโยชน์ในด้านการศึกษาเภสัชจลนศาสตร์ ชีวประสิทธิผลและ ชีวสมมูลของ ยาแอซิโทรมัยซิน
Article Details
กรณีที่ใช้บางส่วนจากผลงานของผู้อื่น ผู้นิพนธ์ต้อง ยืนยันว่าได้รับการอนุญาต (permission) ให้ใช้ผลงานบางส่วนจากผู้นิพนธ์ต้นฉบับ (Original author) เรียบร้อยแล้ว และต้องแนบเอกสารหลักฐาน ว่าได้รับการอนุญาต (permission) ประกอบมาด้วย
References
Bahrami G, Mirzae S, Kiani A. 2005. High performance liquid chromatographic determination of azithromycin in serum using fluorescence detection and its application in human pharmacokinetic studies. J Chromatogr B 820: 277-281.
Bahrami G, Mohammadi B. 2006. A new on-line, intube pre-column derivatization technique for high performance liquid chromatographic determination of azithromycin in human swum. J Chromatogr B 830(2); 355-358.
Breitschwerdt EB, Papich MG, Hegarty BC, et al. 1999. Efficacy of doxycycline, azithromycin, or trovafloxacin for treatment of experimental Rocky Mountain spotted fever in dogs. Antimicrob Agents Chemother 43(4): 813-821.
Carceles CM, Font A, Espuny A, et al. 2005. Pharmacokinetics of azithromycin after intravenous and intramuscular
administration to goats. J Vet Pharmacol Ther 28(1); 51-55.
Chen BM, Liang YZ, Chen X, et al. 2006. Quantitative determination of azithromycin in human plasma by liquid chromatographymass spectrometry and its application in a bioequivalence study. J Pharm Biomed Anal 42(4);480-487.
Chen L, Qin F, Ma ¥1 et al. Quantitative determination of azithromycin in human plasma by ultra-performance liquid
chromatography-electrospray ionization mass spectrometry and its application in a pharmacokinetic study. J Chromatogr B Analyt Techno! Biomed Life Sci 2007; 855(2): 255-261. Epub 2007 May 26.
Hardy DJ, Hensey DM, Beyer JM, et al. 1988. Comparative in vitro activities of new 14-, 15-, and 16-membered macrolides. Antimicrob Agents Chemother 32(11); 1710-1719.
Hidy BJ, Lewis J, Ke J. Quantitation of Azithromycin in Human Plasma via HPLC with MS/'MS Detection. http://www.aapspharmsci.org/abstracts/AM_2002fAAPS2002-000324.pdf. Accessed June 16, 2008.
Hoepelmana IM, Schneide MME. 1995. Azithromycin: the first of the tissue-selective azalides. Inf J Antimicrob Agents 5: 145-167.
Kees F, Spangler S, Wellenhofer M. 1998. Determination of macrolides in biological matrices by high performance liquid chromatography with electrochemical detection. J Chromatogr A 812; 287-293.
Liu F, Xu Y, Huang J, et al. 2007. Sensitive liquid chromatography/mass spectrometry assay for the quantification of azithromycin in human plasma. Biomed Chromatogr 21(12); 1272-1278.
Riedel K-D, Wildfeuer A. Laufen H. et al. 1992. Equivalence of a HPLC assay and a bioassay of azithromycin in human serum samples. J Chromatogr 576; 358-362.
U.S. Department of Health and Human Services Food and Drug Administration (US FDA); Guidance for Industry; Bioanalytical Method Validation. 2001. http://www.fda.gov/cder/guidance/4252fnl.pdf. Accessed May 2, 2006.
Xue-Min z, Jie L, Juan G. et al. 2007. Determination of azithromycin in human plasma by LC-MS-MS and its pharmacokinetics. Pharmazie 62(4): 255-257.