การศึกษาความเป็นไปได้ของฟิล์มแป้งข้าวเหนียวดัดแปรด้วยด่างในแอลกอฮอล์ เพื่อใช้สำหรับการเคลือบฟิล์ม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติของแป้งข้าวเหนียวดัดแปรด้วยด่างในแอลกอฮอล์ (AGS) และ ศึกษาคุณสมบัติของฟิล์มและยาเม็ดเคลือบฟิล์ม AGS โดยใช้ยาโพรพราโนลอลไฮโดรคลอไรด์เป็นยาต้นแบบ เปรียบ เทียบคุณสมบัติในการเป็นสารก่อฟิล์มของ AGS กับไฮดรอกชีโพรพิลเมทธิลเชลลูโลส E15LV (HPMC) ผลการ ทดลองพบว่า AGS ไม่พบลักษณะเม็ดแป้งและการดูดกลืนพลังงานความร้อน แสดงถึงความเป็นอสัญฐานของ AGS ซึ่ง สอดคล้องกับคุณสมบัติการเลี้ยวเบนรังสีเอ็กซ์ สำหรับความสามารถพองตัวและการละลายของ AGS ในฟอสเฟต บัฟเฟอร์พีเอช 6.8 (PB 6.8) และกรดไฮโดรคลอริก 0.1 โมลาร์ (0.1 M HCI) มีค่ามากกว่าในน้ำกลั่น (PW) การ ละลายของฟิล์ม AGS ใน PB 6.8 และใน 0.1 M HCI มีค่าใกล้เคียงกัน แต่มีค่ามากกว่าใน PW ฟิล์ม AGS มีการดูด ชับไอน้ำและการซึมผ่านไอนํ้าใกล้เคียงกับฟิล์ม HPMC สำหรับยาเม็ดเคลือบฟิล์ม AGS มีการดูดซับความขึ้น เวลาใน การแตกตัว เวลาในการปลดปล่อยยาได้ร้อยละ 50 ใกล้เคียงกับยาเม็ดเคลือบฟิล์ม HPMC แต่อย่างไรก็ตามยาเม็ด เคลือบฟิล์ม AGS มีลักษณะผิวของฟิล์มหยาบกว่ายาเม็ดเคลือบฟิล์ม HPMC จึงสรุปได้ว่า AGS สามารถใช้เป็นสารก่อฟิล์มได้และมีความเป็นไปได้อย่างยิ่งสำหรับใช้เป็นฟิล์มเคลือบเม็ดยา
Article Details
กรณีที่ใช้บางส่วนจากผลงานของผู้อื่น ผู้นิพนธ์ต้อง ยืนยันว่าได้รับการอนุญาต (permission) ให้ใช้ผลงานบางส่วนจากผู้นิพนธ์ต้นฉบับ (Original author) เรียบร้อยแล้ว และต้องแนบเอกสารหลักฐาน ว่าได้รับการอนุญาต (permission) ประกอบมาด้วย
References
Bourtoom T. Plasticizer effect on The Properties of Biodegradable Blend Film from Rice Starch-Chitosan. Songklanakarin Journal of Science and Technology 2008; 30 Suppl 1:149-165.
Chen J, Jane J. Preparation of Granular Cold-Water-Soluble Starches Prepared by Alcoholic-Alkaline Treatments. Carbohydrates, Cereal Chem 1994 (a); 71(6): 618-622.
Chen J, Jane J. Properties of Granular Cold-Water-Soluble Starches Prepared by Alcoholic-Alkaline Treatments. Carbohydrates, Cereal Chem 1994 (b); 71(6): 623-626
Iturriaga L, Lopez B, Anon M. Thermal and Physicochemical Charecterization of Saven Argentine Rice Flour and Starches. Food Research International 2004; (37): 439-447.
Kadan R, Champagne E, Ziegler G, et al. Amylose and protein contents of rice cultivars as related to texture of rice-based fries. Journal of Food Science 1997; 62(4): 701-703.
Laovachirasuwan P, Peerapattana J, Srijesdaruk V, et al. The physicochemical properties of a spray dried glutinous rice starch biopolymer. Colloids and Surfaces B: Biointerfaces 2010; (78):30-35.
Mali S, Grossmann M, Garcia M, et al. Effects of controlled stroage on thermal, mechanical and barrier properties of plasticized films from different starch sources. Journal of Food Engineering 2006; (75): 453-460.
Nagai T. Applications of HPMC and Aqueous Film Coating of Pharmaceutical Dosage Forms. Aqueous Polymeric Coatings for Pharmaceutical Dosage Forms. Texas: Dekker;1989. 81-152.
Mony C. and Lefort des Ylouses D. Comparative study of film formers for coating purposes. II. Study of films. Journal de pharmacie de Belgique1978 Mar-Apr; 33(2): 86-98.
Peerapattana J, Phuvarit P, Srijesdaruk V, et al. Pregelatinized glutinous rice starch as a sustained release agent for tablet preparations. Carbohydrate Polymers 2010; (80):453-459.
Pongjanyakul T, Puttipipatkhachorn S. Alginate-magnesium aluminium silicate films: Effect of Plasticizers on Film Properties, Drug Permeation and Drug Release from Coated Tablets. International Journal of Pharmaceutics 2007; (333): 34-44.
Remunan-Lopez C, Bodmeier R. Mechanical, Water uptake and Permeability Properties of Crosslinked Chitosan Glutamate and Alginate Films. Journal of Controlled Release 1997;(44): 215-225.
Seitz JA, Mehta SP, Yeager JL. Tablet coating. In: Lachman L, Lieberman HA, Kanig JL, editors. The Theory and Practice in Industrial Pharmacy, 3rd ed. Lea & Febriger. Philadelphia; 1986: 346-373.
The United States Pharmacopeia and The National Formulary USP 31 NF 26. United States Pharmacopeial Convention: Rockville, MD;2008.