บทบาทเภสัชกรในการคัดกรองและให้คำแนะนำปรึกษาผู้ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะ ซึมเศร้า ณ สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยแบบกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุก ปัจจัยเสี่ยงของภาวะซึมเศร้า และประเมินผลการให้คำแนะนำปรึกษาผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าโดยการคัดกรองผู้ที่มารับบริการที่ร้านยาคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ด้วยแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และมีคะแนนภาวะซึมเศร้ามากกว่าหรือเท่ากับ 6 ตามเกณฑ์ของกรมสุขภาพจิต แบ่งผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าเป็นกลุ่มทดลองให้คำแนะนำปรึกษาโดยนิสิตเภสัชศาสตร์ และ กลุ่มควบคุมได้รับบริการตามปกติ แล้วติดตามคะแนนภาวะซึมเศร้าก่อนและหลังให้คำแนะนำปรึกษาเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ระหว่างเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ 2550 จากการคัดกรองผู้รับบริการ จำนวน 305 คน พบผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า 61 คน (ร้อยละ 20.0) ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าคือเพศหญิง การมีปัญหาเรื่องการเรียน การมีปากเสียงกับ บุคคลในครอบครัว เพื่อนและคนรัก และรายได้ต่อเดือนของครอบครัวน้อยกว่า 9,000 บาท เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนคัดกรองภาวะซึมเศร้ารวมก่อนและหลังเข้าร่วมการศึกษาในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่ามี คะแนนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งสองกลุ่ม (p<0.001 และ p=0.001 ตามลำดับ) ค่าเฉลี่ยของคะแนน คัดกรองภาวะซึมเศร้าก่อนเข้าร่วมการศึกษาระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกัน (p>0.05) แต่ ค่าเฉลี่ยคะแนนคัดกรองภาวะซึมเศร้าหลังเข้าร่วมการศึกษาระหว่างกลุ่มทดลองลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อ เทียบกับกลุ่มควบคุม (3.0 ± 1.1, 6.4 ± 3.2; p<0.001) ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าการให้คำแนะนำปรึกษาของนิสิต เภสัชศาสตร์มีผลลดอาการของภาวะซึมเศร้า
Article Details
กรณีที่ใช้บางส่วนจากผลงานของผู้อื่น ผู้นิพนธ์ต้อง ยืนยันว่าได้รับการอนุญาต (permission) ให้ใช้ผลงานบางส่วนจากผู้นิพนธ์ต้นฉบับ (Original author) เรียบร้อยแล้ว และต้องแนบเอกสารหลักฐาน ว่าได้รับการอนุญาต (permission) ประกอบมาด้วย
References
John MJ. 2005. Drug therapy: The medical management of depression. NENM, 353(17):1819-34.
Rickles NM, Svarstad BL, Statz-Paynter JL, TaylorLV, Kobak KA.2005. Pharmacist telemonitoring of antidepressant use: effects on pharmacist-patient collaboration. J Am Pharm Assoc,45(3): 344-53.
Brook OH, Hout HPJ, Nieuwenhuysea H, De Haan M.2003. Effects of coaching by community pharmacists on psychological symptoms of antidepressant users; a randomised controlled trial. European Neuropsychopharmacology,13(5) :347-354.