ผลของโปรแกรมสุขศึกษาการเสริมสร้างพลังอำนาจมารดา ต่อการรับรู้พลังอำนาจ การรับรู้ความสามารถ พฤติกรรมมารดา และภาวะสุขภาพของทารกแรกเกิด

Main Article Content

กมลธิดา เหล่าบุตรสา
สัมมนา มูลสาร
แสวง วัชระธนกิจ
สุเพียร โภคทิพย์

บทคัดย่อ

บทนำ: ปัญหาทารกน้ำหนักตัวน้อยมาก ส่งผลต่อสุขภาพทารกในระยะยาว การดูแลจากมารดาที่เหมาะสม เป็นส่วนสำคัญในการช่วยลดปัญหาสุขภาพของทารกได้ งานวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสุขศึกษาการเสริมสร้างพลังอำนาจมารดาต่อการรับรู้พลังอำนาจ การรับรู้ความสามารถ พฤติกรรมมารดาและ ภาวะ สุขภาพของทารกแรกเกิด วิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาและทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่า หรือ เท่ากับ 1,500 กรัม คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ จำนวน 30 ราย แล้วใช้วิธีการสุ่มตามช่วงสัปดาห์ ที่ทารกรับการรักษาเขากลุ่มทดลองจำนวน15 ราย ซึ่งได้รับโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อเสริมสรางพลังอำนาจ และกลุ่มควบคุมจำนวน 15ราย ซึ่งได้รับการสอนสุขศึกษาตามปกติจากพยาบาล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามด้วย การสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติถดถอยพหุ ผลการวิจัย: ผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติถดถอยพหุโดยควบคุมตัวแปร การศึกษา อาชีพหลัก และค่าคะแนนก่อนการทดลอง พบว่า หลังการทดลอง ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้พลังอำนาจ (p<.001) การรับรู้ความสามารถ (p<.001) และพฤติกรรมมารดา (p<.001) ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่าภาวะสุขภาพทารกระยะ 2 สัปดาห์และ 3 เดือนหลังจำหน่าย ค่าคะแนนภาวะสุขภาพการเจ็บป่วย และการเจริญเติบโตทางร่างกายของทารกทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน เว้นแต่ภาวะสุขภาพด้านการเจ็บป่วยในระยะ 3 เดือน พบว่า ค่าคะแนนภาวะสุขภาพด้านการเจ็บป่วยของทารกกลุ่มทดลอง ดีกว่ากว่ากลุ่มควบคุม สรุปผลการวิจัย:โปรแกรมการให้สุขศึกษานี้น่าจะมีประโยชน์ต่อมารดาในการดูแลทารกทั่วไปและทารกน้ำหนักตัวน้อยมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
เภสัชกรรมปฏิบัติ (Pharmaceutical Practice)

References

AkakulT.Behavioral and Social science research methodology. UbonRatchathani: Ubon Ratchathani Rajabhat University. 2000.

Blackburn S. Problems of preterm infants after discharge. JOGNN. 1995; 24(1): 43-49.

Boontham S. Development and evaluation of a discharge plan standard for low birth weight infants in the neonatal intensive care unit, Songkhla Hospital. [Thesis]. Songkla: Prince of Songkla University; 2011.

Bualuang P. Effects of mothersi empowerment on maternal stress and role in caring for critical premature babies. [Independent Study]. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2009.

Gansiri S. Developa clinical nursing practice guideline for empowerment model for mother of prematurel infant. [Independent Study]. Bangkok: Thammasat University; 2007.

Gibson, G.H. The process of empower in mother of chronically ill children, Journal of Advanced Nursing. 1995; 21(6): 1201-1210.

Japakasetr A, Sirikulchayanonta C, Suthutvoravut U, et al. Implementation of a Nutrition Program Reduced Post-Discharge Growth Restriction in Thai Very Low Birth Weight Preterm Infants, Journal of nutrients. 2016; 8(12): 1-14.

Keawsuprasert R. Effects of the maternal empowerment promotion program on maternal ability to care for very low birth weight newborn in a newborn intensive care unit. [Thesis]. Chonburi: BuraphaUniversity; 2012.

Khamchoo K. The effects of a discharge planning program on maternal knowledge, maternal dependent care agency for caring of preterm infants, and infants, health status. [Thesis]. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2003.

Koafai S. Effects of maternal preparation on preterm infant care self-efficacy and care behavior. [Thesis]. Chiang Mai: Chiang Mai University; 1998.

Melnyk BM, Feinstein NF, Alpert-Gillis L, et al. Reducing premature infantsi length of stay and improving parent mental health outcomes with the Creating Opportunities for Parent Empowerment (C0PD) neonatal intensive care unit program: A Randomized, controlled trial:

Offcial. Journal of American Academy of Pediatrics. 2006; 118(5): 1414-1427.

Ministry of Public Health. Live birth rates according to birth weight. Public Health Statistics 2014 [cited 2015 Jan 20]; Available from: http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/health_statistics2557.

Nelson, D. and Heitman, R. Factors influencing weight change in preterm infants, Pediatric Nursing. 1986; 12(6): 425-428.

Ngemklei P. The effectiveness of health education program based on empowerment concept for self-care and care of Infant of adolescent mothers, Bangkok Metropolitan Administration Medical College and Vajira Hospital. [Thesis]. Bangkok: Kasetsart University; 2007.

Premjit K. Effects of perceived self l efficacy promotion program regarding newborn care and kangaroo care on child care behaviors of mothers and weight gain of premature infants. [Thesis]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2004.

Statistical Information Department, Sunpasitthiprasong Hospital. Live Birth Statistics, 2012-2015. Ubon Ratchathani: Sunpasitthiprasong Hospital, 2016

Viwatwongkasem C. Sample size determination for researches. Thai J Hlth Resch. 1994; 8(2): 121-146.

Yangsukho K. Mothersi needs regarding care of preterm infants at home. [Thesis]. Chiang Mai: Chiang MaiUniversity; 2006.