การแยกอิแนนทิโอเมอร์ของฟีนิลไกลชีนโดยโครมาโทกราฟีแบบแลกเปลี่ยนลิแกนด์

Main Article Content

วีรภัทร วิโนทพรรษ์
กชกริช กลํ่านคร
สืบวงศ์ สงวนพงษ์
ศุภกานต์ พรรัตนรักษา
ธนา ธนายุตสิริ
ปราณีต โอปณะโสภิต
ธนะเศรษฐ์ ง้าวหิรัญพัฒน์
ธีรศ์กดิ์ โรจนราธา

บทคัดย่อ

บทนำ: เนื่องจากฟีนิลไกลซีนในโครงแบบ “ดี” เป็นสารที่มีความสำคัญทางเภสัชกรรมโดยใช้ในการ สังเคราะห์แอมพิซิลลินและเซฟาเลกซิน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องประเมินความบริสุทธิ์ทางอิแนนทีโอเมอร์ก่อน นำไปใช้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการแยกไครัลสำหรับฟีนิลไกลซีนแทนการใช้คอลัมน์โครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูงชนิดไครัลที่มีราคาแพง โดยการใช้วัฏภาคเคลื่อนที่ที่ประกอบด้วยคอปเปอร์และแอล-โพรลีน ร่วมกับวัฏภาคคงที่ ได้แก่ คอลัมน์ชนิด C18 วิธีดำเนินการวิจัย: ทำการศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับ การแยก ดี- และแอล-ฟีนิลไกลซีน ได้แก่ ค่าพีเอชของวัฏภาคเคลื่อนที่ ความเข้มข้นของคอปเปอร์และแอล-โพรลีน และร้อยละของเมทานอลในวัฎภาคเคลื่อนที่ และประเมินประสิทธิภาพของการแยกจากค่าการแยก ระหว่าง พีกของไอโซเมอร์ดีและแอล ตลอดจนลักษณะของโครมาโทแกรม รวมทั้งลร้างกราฟมาตรฐานเพื่อหาช่วงและ ความเป็นเส้นตรง ผลการวิจัย: เมื่อใช้สารผสมซึ่งประกอบด้วยคอปเปอร์และแอล-โพรลีนความเข้มข้น 2.5 และ 5 มิลลิโมลาร์ ในเมทานอลร้อยละ 10 ที่มีค่าพีเอชเท่ากับ 6 เป็นวัฎภาคเคลื่อนที่ พบว่า ดี- และแอล-ฟีนิลไกลซีน แยกจากกันได้ดีโดยปรากฏพีกที่เวลาประมาณ 5 และ 11 นาที ตามลำดับ ภายใต้สภาวะที่เหมาะสมนี้ความ เข้มข้นกับพื้นที่ใต้พีกมีความสัมพันธ์เชิงเส้นกันดี โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.9997 และ 0.9998 สำหรับ ดี-ฟีนิลไกลซีนและแอล-ฟีนิลไกลซีน ตามลำดับ สรุปผลการวิจัย: วัฎภาคเคลื่อนที่ที่ประกอบด้วย คอปเปอร์ แอล-โพรลีน เมทานอล และมีค่าพีเอชที่เหมาะสม ร่วมกับคอลัมน์ชนิด C18 สามารถใช่ในการ แยกอิแนนทีโอเมอร้ของฟีนิลไกลซีน ดังนั้นจึงสามารถนำสภาวะนี้ไปพัฒนาและตรวจสอบความถูกต้องของวิธี วิเคราะห์หาปริมาณ ดี- และแอล-ฟีนิลไกลซีนที่ทำได้ง่ายและมีราคาถูกในลำดับต่อไป


 


 

Article Details

บท
เภสัชศาสตร์ (Pharmaceutical Sciences)

References

Davankov VA, Kurganov AA. The role of achiral sorbent matrix in chiral recognition of amino acid enantiomers in ligand-exchange chromatography. Chromatographia. 1983, 17(12): 686-690.

Hu SQ, Lu WJ, Ma YH, Hu Q, Dong LJ, Chen XG. Chiral separation of β-blockers by MEEKC using neutral microemulsion: analysis of separation mechanism and further elucidation of resolution equation. Electrophoresis. 2013, 34(2): 260s268.

Husain S, Sekar R, Ran RN. Enantiomeric separation and determination of antiparkinsonian drugs by reversed-phase ligand-exchange high-performance liquid chromatography. J Chromatogr A. 1994, 687(2): 351-355.

Lam S, Malikin G. Strategy combining chiral chromatography with β-cyclodextrin and stereospecific enzyme reaction detection with hydroxysteroid dehydrogenases for resolving steroid epimers. Chirality. 1992, 4(16): 395-399.

Machelli R, Corradini R, Galaverna G, Dossena A, Dallavalle F and Sforza S. Chiral separatioin techniques. Wiley, New York, 2007, p 301.

Mericko D, Lehotay J, Cizmarik J and Slov C. HPLC separation of enantiomers using chiral stationary phase. Farm. 2007, 56(3): 107-113.

Pirkle WH, Pochapsky TC. Consideration of chiral recognition relevant to the liquid chromatography separation of enantiomers. Chem Rev. 1989, 89(2): 347-362.

Sajewicz M, Gontarska M and Kowalska T. HPLC-DAD evidence of the oscillatory chiral conversion of phenylglycine. J Chromatogr Sci. 2014, 52(4): 329-333.

Sotgia S, Zinellu A, Pisanu E, Pinna GA, Deiana L, Carru C. Enantiomeric reversed-phase high-performance liquid chromatography resolution of D-/L-penicillamine after spirocyclization with ninhydrin and by using copper(II)-L-proline complex as a chiral selector in the mobile phase. J Chromatogr A. 2008, 1205: 90-93.

Victery W, Tyroler HA, Volpe R and Grant LD. Summary of discussion sessions: symposium on lead-blood pressure relationships. Environ Health Perspect. 1988, 78: 139-155.

Wang LJ, Hu SQ, Guo QL, Yang GL, Chen XG. Di-n-amyl L-tartrate-boric acid complex chiral selector in situ synthesis and its application in chiral non-aqueous capillary electrophoresis. J Chromatogr A. 2011, 1218: 1300s1309.

Wang LJ, Yang J, Yang GL, Chen XG. In situ synthesis of twelve dialkyltartrate-boric acid complexes and two polyols-boric acid complexes and their applications as chiral ion-pair selectors in nonaqueous capillary electrophoresis. J Chromatogr A. 2012, 1248: 182s187.

Wu Y, Zhai Y, Zhang Y, Zhang H, Jing H, Chen A. Chiral separation and determination of amino acids in real samples by LE-MEKC using Cu(II)-L-proline as chiral selector. J Chromatogr B. 2014, 965: 254-259.

Yamazaki S, Saito Katsunori, Tanimura T. Enantiomeric separation of underivatized aliphatic β-amino alcohols by ligand-exchange chromatography using N-n-dodecyl-(1R,2S)-norephedrine as a coating reagent for reversed-phase column. J Sep Sci. 1994, 21(10): 561-564.

Zukowski J, Pawlowska M, Pietraszkiewicz M. Enantioseparation of α-phenylglycine by HPLC on an ODS column coated with chiral crown ether. Chromatographia. 1991, 32(1): 82-84.