การประเมินความแม่นและความเที่ยงของสมการที่พัฒนาขึ้นในการทำนายระดับลิเทียมในกระแสเลือดของผู้ป่วยจิตเวชในโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ: ลิเทียมเป็นยาคงสภาพอารมณ์ที่นิยมใช้ในผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการความผิดปกติทางอารมณ์ โดยเฉพาะใช้ในการรักษาโรคอารมณ์สองขั้ว อย่างไรก็ตาม ลิเทียมเป็นยาที่มีดัชนีการรักษาแคบและมีอันตรายสูงต่อไต ดังนั้น การกำหนดขนาดยาที่เหมาะสมจึงมีความสำคัญ และในทางคลินิกปฏิบัติจำเป็นต้องตรวจระดับลิเทียมในกระแสเลือดเสมอ เพื่อติดตามว่าผู้ป่วยได้รับยาในขนาดที่ทำให้ระดับลิเทียมสูงพอต่อประสิทธิภาพของการรักษา แต่ไม่สูงเกินไปจนก่อให้เกิดอันตราย มีผู้คิดหาวิธีกำหนดขนาดยาที่เหมาะสมหลายวิธี วิธีหนึ่งคือ การสร้างสมการโดยอาศัยข้อมูลเบื้องต้นจากคุณลักษณะของผู้ป่วย แล้วนำไปคำนวณหาขนาดของยาหรือคำนวณหาระดับลิเทียมในกระแสเลือด ในการศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความแม่นและความเที่ยงของสมการ จำนวน 4 สมการ ในการทำนายระดับลิเทียมในกระแสเลือดของผู้ป่วยจิตเวชในโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลโดยคัดเลือกจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่มีประวัติการใช้ลิเทียมระหว่างเดือน มกราคม พ.ศ. 2554 ถึงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2555 คำนวณหาค่าทำนายระดับลิเทียมในกระแสเลือดผู้ป่วยโดยใช้สมการ จำนวน 4 สมการ ได้แก่ (1) สมการของ Terao et al. (2) สมการของ Abou-Auda et al. (3) สมการของ Chiu et al. และ (4) สมการของ Huang et al. เปรียบเทียบค่าทำนาย กับค่าจริงระดับลิเทียมที่วัดได้จากผู้ป่วย ประเมินความแม่น (accuracy) ด้วยการคำนวณค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนจากการทำนาย ค่าร้อยละของความคลาดเคลื่อน ประเมินความเที่ยง (precision) ด้วยการคำนวณค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสอง (root mean square error) นอกจากนี้ยังคำนวณค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ระหว่างค่าทำนาย กับค่าจริงระดับลิเทียมที่วัดได้จากผู้ป่วย รวมถึงการทดสอบความไวและความจำเพาะของสมการด้วย ผลการศึกษา: จากผู้ป่วยในที่ใช้ลิเทียมทั้งหมด 620 คน พบว่า 90 คนผ่านเกณฑ์คัดเลือกเข้า ผลการประเมินความแม่น พบว่า ค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนจากการทำนายที่ต่ำสุดมาจากสมการของ Terao et al. (ค่ามัธยฐาน [ค่าพิสัยระหว่างควอร์ไทล์], -0.010 [-0.120 to 0.150] มิลลิโมล/ลิตร; คิดเป็นร้อยละความคลาดเคลื่อน, -1.66% [-21.37% to 27.71%]) เมื่อเปรียบเทียบกับสมการของ Abou-Auda et al. (-0.685 [-1.0200 to -0.288] มิลลิโมล/ลิตร; -128.23% [-209.54% to -43.24%]) สมการของ Chiu et al. (0.110 [-0.040 to 0.275] มิลลิโมล/ลิตร; 21.52% [-6.01% to 68.04%]) สมการของ Huang et al. (-0.175 [-0.300 to -0.045] มิลลิโมล/ลิตร; -33.63% [-47.87% to -13.90%]) ผลการประเมินความเที่ยง พบว่า ค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองน้อยที่สุดมาจากสมการของ Terao et al. (ค่ามัธยฐาน [ค่าพิสัยระหว่างควอร์ไทล์], 0.141 [0.000 to 0.250]) เมื่อเปรียบเทียบกับสมการของ Abou-Auda et al. (0.696 [0.312 to 1.100]) สมการของ Chiu et al. (0.173 [0.075 to 0.350]) และสมการของ Huang et al. (0.173 [0.100 to 0.300]) ส่วนค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ (Spearman’s rho correlation coefficient) ระหว่างระดับลิเทียมที่คำนวณได้จากสมการต่าง ๆ กับระดับลิเทียมในกระแสเลือดที่วัดได้จริง พบว่า สมการของ Terao et al. ให้ค่าสัมประสิทธิ์ดังกล่าวสูงที่สุด (= 0.666; p-value<0.001) เปรียบเทียบกับสมการของ Abou-Auda et al. (= 0.641; p-value<0.001) สมการของ Chiu et al. (= 0.526; p-value<0.001) สมการของ Huang et al. (=0.438; p-value<0.001) การทดสอบความไวและความจำเพาะของสมการต่าง ๆ สำหรับการจำแนกผู้ป่วย โดยดูจากระดับลิเทียมในกระแสเลือดอยู่ในช่วงที่มีประสิทธิภาพในการรักษา (ค่าระหว่าง 0.6 ถึง 1.2 มิลลิโมล/ลิตร) พบว่าความไวของสมการของ Terao et al., Abou-Auda et al., Chiu et al. และ Huang et al. เท่ากับ 72%, 8%, 78% และ 14% ตามลำดับ ส่วนความจำเพาะของสมการของ Terao et al., Abou-Auda et al., Chiu et al. และ Huang et al. เท่ากับ 77%, 90%, 59% และ 89% ตามลำดับ สรุปผล: จากการประเมินทั้ง 4 สมการ สมการของ Terao et al. เป็นสมการที่มีความแม่นและมีความเที่ยงดีที่สุด ในการทำนายระดับลิเทียมในกระแสเลือดของผู้ป่วยจิตเวช ของโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์
Article Details
กรณีที่ใช้บางส่วนจากผลงานของผู้อื่น ผู้นิพนธ์ต้อง ยืนยันว่าได้รับการอนุญาต (permission) ให้ใช้ผลงานบางส่วนจากผู้นิพนธ์ต้นฉบับ (Original author) เรียบร้อยแล้ว และต้องแนบเอกสารหลักฐาน ว่าได้รับการอนุญาต (permission) ประกอบมาด้วย
References
Abou-Auda HS, Al-Yamani MJ, Abou-Shaaban RR, Khoshhal SI. A new accurate method for predicting lithium clearance and daily dosage requirements in adult psychiatric patients. Bipolar Disord. 2008;10:369-376.
Ahearn EP, Chen P, Hertzberg M, et al., Suicide attempts in veterans with bipolar disorder during treatment with lithium, divalproex, and atypical antipsychotics. J Affect Disord. 2013;145:77-82.
American Psychiatric Association. Practice guideline for the treatment of patients with bipolar disorder (revision). Am J Psychiatry. 2002;159:1-50.
Berk M, Dodd S, Berk L. The management of bipolar disorder in primary care: a review of existing and emerging therapies. Psychiatry Clin Neurosci. 2005;59:229-239.
Bocchetta A, Ardau R, Carta P, et al., Duration of lithium treatment is a risk factor for reduced glomerular function: a cross-sectional study. BMC Med. 2013;11:33. doi:10.1186/1741-7015-11-33
Bowden CL. Efficacy of lithium in mania and maintenance therapy of bipolar disorder. J Clin Psychiatry. 2000;61 Suppl 9:35-40.
Cade JF. Lithium salts in the treatment of psychotic excitement. 1949. Bull World Health Organ. 2000;78:518-520.
Chiu CC, Shen WW, Chen KP, Lu ML. Application of the Cockcroft-Gault method to estimate lithium dosage requirement. Psychiatry Clin Neurosci. 2007;61:269-274.
Collins JC, McFarland BH. Divalproex, lithium and suicide among Medicaid patients with bipolar disorder. J Affect Disord. 2008;107:23-28.
Connolly KR, Thase ME. The clinical management of bipolar disorder: a review of evidence-based guidelines. Prim Care Companion CNS Disord. 2011;13. doi: 10.4088/PCC.10r01097
Goodwin FK, Fireman B, Simon GE, Hunkeler EM, Lee J, Revicki D. Suicide risk in bipolar disorder during treatment with lithium and divalproex. JAMA. 2003;290:1467-1473.
Goodwin GM. Evidence-based guidelines for treating bipolar disorder: recommendations from the British Association for Psychopharmacology. J Psychopharmacol. 2003;17:149-173.
Grandjean EM, Aubry JM. Lithium: updated human knowledge using an evidence-based approach. Part II: Clinical pharmacology and therapeutic monitoring. CNS Drugs. 2009a;23:331-349.
Grandjean EM, Aubry JM. Lithium: updated human knowledge using an evidence-based approach: Part I: Clinical efficacy in bipolar disorder. CNS Drugs. 2009b;23:225-240.
Grunze H, Vieta E, Goodwin GM, et al., The World Federation of Societies of Biological Psychiatry (WFSBP) guidelines for the biological treatment of bipolar disorders: update 2012 on the long-term treatment of bipolar disorder. World J Biol Psychiatry. 2013;14:154-219.
Higuchi S, Fukuoka R, Aoyama T, Horioka M. Predicting serum lithium concentration using Bayesian method: a comparison with other methods. J Pharmacobiodyn. 1988;11:158-174.
Huang HC, Chang YL, Lan TH, Chiu HJ, Liu WM, Lee TJ. Prediction of optimal lithium doses for Taiwanese psychiatric patients. J Clin Pharm Ther. 2008;33:115-121.
Maj M. The effect of lithium in bipolar disorder: a review of recent research evidence. Bipolar Disord. 2003;5:180-188.
Malhi GS, Tanious M, Das P, Berk M. The science and practice of lithium therapy. Aust N Z J Psychiatry. 2012;46:192-211.
Pepin SM, Baker DE, Nance KS. Lithium dosage calculation from age, sex, height, weight, amd serum creatinine. Proceedings of the 15th Annual ASHP Midyear Clinical Meeting; Dec. 1980; San Francisco.
Radhakrishnan R, Kanigere M, Menon J, Calvin S, Srinivasan K. Comparison of three a-priori models in the prediction of serum lithium concentration. Indian J Pharmacol. 2012;44:234-237.
Raja M. Lithium and kidney, 60 years later. Curr Drug Saf. 2011;6:291-303.
Royal Australian and New Zealand College of Psychiatrists Clinical Practice Guidelines Team for Bipolar Disorder. Australian and New Zealand clinical practice guidelines for the treatment of bipolar disorder. Aust N Z J Psychiatry. 2004;38:280-305.
Severus WE, Kleindienst N, Seemuller F, Frangou S, Moller HJ, Greil W. What is the optimal serum lithium level in the long-term treatment of bipolar disorder--a review? Bipolar Disord. 2008;10:231-237.
Sheiner LB, Beal SL. Some suggestions for measuring predictive performance. J Pharmacokinet Biopharm. 1981;9:503-512.
Sienaert P, Geeraerts I, Wyckaert S. How to initiate lithium therapy: a systematic review of dose estimation and level prediction methods. J Affect Disord. 2013;146:15-33.
Sproule BA, Bazoon M, Shulman KI, Turksen IB, Naranjo CA. Fuzzy logic pharmacokinetic modeling: application to lithium concentration prediction. Clin Pharmacol Ther. 1997;62:29-40.
Srisurapanont M, Pratoomsri W, Maneeton N. Evaluation of three simple methods for predicting therapeutic lithium doses. Psychiatry Res. 2000;94:83-88.
Terao T, Okuno K, Okuno T, et al., A simpler and more accurate equation to predict daily lithium dose. J Clin Psychopharmacol. 1999;19:336-340.
Wasserman D, Rihmer Z, Rujescu D, et al., The European Psychiatric Association (EPA) guidance on suicide treatment and prevention. Eur Psychiatry. 2012;27:129-141.
Zetin M, Garber D, De Antonio M, et al., Prediction of lithium dose: a mathematical alternative to the test-dose method. J Clin Psychiatry. 1986;47:175-178.